ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
             [๖๗๐] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน?
             สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.
             [๖๗๑] บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน?
             ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝน
ในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน หรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา ย่อมเห็น
สัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา ย่อมเห็นสังขารเป็น-
*ตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขาร ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือ
เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏ
คือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์
คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิ
เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.
             [๖๗๒] วิจิกิจฉา เป็นไฉน?
             ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน
อดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปปาทธรรมที่ว่า เพราะธรรม
นี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความ
คิดเห็นไปต่างๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทาง
แพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป
ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ อันใด
นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.
             [๖๗๓] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน?
             ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรตของสมณพราหมณ์
ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ
ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความ
ยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ
การถือโดยวิปลาส อันมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.
             [๖๗๔] สัญโญชน์ ๓ นี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น, เวทนา-
*ขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.
             ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน?
             โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะ
นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรม
วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ
             ธรรมอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ เป็นไฉน?
             กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม-
*อันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ.
             [๖๗๕] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุ อันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน?
             สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
             บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.
             วิจิกิจฉา เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
             สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.
             สัญโญชน์ ๓ นี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมี
สัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค-
*ประหาณ.
             สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ, โลภะ โทสะ โมหะ ที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียว
กันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ
โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็น
สมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.
             ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน?
             โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรค
เบื้องบน ๓ ประหาณ, กิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุ
อันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ.
             ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ
เป็นไฉน?
             เว้นธรรมนั้น กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร
รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์,
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๕๘๓๒-๕๘๙๗ หน้าที่ ๒๓๓-๒๓๕. https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=34&A=5832&Z=5897&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/book/m_siri.php?B=34&siri=54              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=663              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [670-675] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=670&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=10016              The Pali Tipitaka in Roman :- [670-675] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=34&item=670&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=10016              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.1/en/caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :