ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
ปัญจวัตถุยาจนกา๒-
ว่าด้วยพระเทวทัตกราบทูลขอวัตถุ ๕ ประการ
[๓๔๓] สมัยนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเสื่อมลาภสักการะ จึงพากันออก ปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉัน คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย ศากยบุตรจึงเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า ภัตตาหารที่ดี ใครจะไม่พอใจ ภัตตาหารอร่อยใครจะไม่ชอบเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา @เชิงอรรถ : @ ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๕๒/๔๓๑, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๘๗๘/๔๘๔ @ วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๐๙/๔๔๑-๔๔๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๙๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัต พร้อมกับบริษัทจึงเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า” จึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่า เธอพร้อมกับ บริษัทเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันจริงหรือ” พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติโภชนะที่คน ๓ คน พึงบริโภคในตระกูลทั้งหลายแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ๓. เพื่ออนุเคราะห์ตระกูล ด้วยหวังว่า ‘ภิกษุที่ปรารถนาชั่วอย่าอาศัยพรรคพวกทำสงฆ์ให้แตกกัน’ (ภิกษุ) ฉันคณโภชนะ พึงปรับอาบัติตามธรรม”๑- ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวี บุตร พระสมุททัตตะ ถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า “มาเถิด ท่านทั้งหลาย พวกเราจะทำลายสงฆ์ ทำลายจักร๒- ของพระสมณโคดม” เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้ พระโกกาลิกะได้กล่าวกับพระเทวทัตดังนี้ว่า “ท่าน พระสมณโคดมมีฤทธานุภาพมาก พวกเราจะทำลายสงฆ์ ทำลายจักรของ พระสมณโคดม ได้อย่างไร” @เชิงอรรถ : @ พึงปรับอาบัติตามธรรม คือ พึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะ ตามความแห่งสิกขาบทที่ ๒ @แห่งโภชนวรรคที่ ๔ (ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๐๙-๒๑๗/๓๗๐-๓๗๖) @ ทำลายสงฆ์ คือทำสงฆ์ให้แตกจากกัน @ทำลายจักร คือทำลายหลักคำสอน (วิ.อ. ๒/๔๑๐/๑๐๘, วชิร.ฏีกา ๓๔๓/๖๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๙๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

พระเทวทัตกล่าวว่า “มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจะเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม แล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ก็เป็นไป เพื่อความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทาน วโรกาสดังนี้ ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ รูปนั้นมีโทษ ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลา และเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ” พระสมณโคดมจะไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ พวกเราจะใช้วัตถุ ๕ ประการนี้ชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือ” ท่านเหล่านั้นปรึกษากันว่า “พวกเราสามารถ ที่จะใช้วัตถุ ๕ ประการเหล่านั้นทำลายสงฆ์ ทำลายจักรของพระสมณโคดมได้ เพราะ ยังมีพวกมนุษย์ที่เลื่อมใสในการปฏิบัติปอนๆ” ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น แล้วได้ถวายอภิวาทแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี พระภาคตรัสสรรเสริญความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยประการต่างๆ วัตถุ ๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๙๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ประการเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยประการต่างๆ ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานวโรกาส ดังนี้ ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลา และเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ” พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลยเทวทัต ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ป่าเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ในละแวกบ้านเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงเที่ยวบิณฑ- บาตเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีกิจนิมนต์เถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงถือผ้า บังสุกุลเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีผ้าคหบดีเถิด เทวทัต เราอนุญาตถือ เสนาสนะตามโคนไม้ ๘ เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน ๓. ไม่ได้นึกสงสัย” ครั้งนั้น พระเทวทัตร่าเริงดีใจว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการ เหล่านี้” พร้อมกับบริษัทลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณ แล้วจากไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๐๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

พระเทวทัตโฆษณาวัตถุ ๕ ประการ
สมัยนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ใช้วัตถุ ๕ ประการ ชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือด้วยกล่าวว่า “พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ทูลขอวัตถุ ๕ อย่างนี้ว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญความมักน้อย ความ สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยประการต่างๆ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยประการต่างๆ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานวโรกาส ดังนี้ ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ รูปนั้นมีโทษ ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลา และเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ” แต่พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการเหล่านั้น พวกเราจงสมาทาน ประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการเหล่านี้เถิด” บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ ประพฤติกำจัดกิเลส ประพฤติเคร่งครัด ส่วน พระสมณโคดมมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๐๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ส่วนพวกมีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีความรู้ดี ก็ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลาย จักรของพระผู้มีพระภาคเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มัก น้อยฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายาม เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า” ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่า เธอ เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรจริงหรือ” พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “อย่าเลยเทวทัต เธออย่าพอใจการทำลายสงฆ์ เพราะการทำลายสงฆ์ มีโทษหนัก รูปใดทำลายสงฆ์ที่พร้อมเพรียงกัน ผู้นั้นจะประสบ โทษนานตลอดกัป ถูกไฟไหม้ในนรกนานตลอดกัป ส่วนรูปใดทำสงฆ์ผู้แตกกันแล้ว ให้พร้อมเพรียงกัน ย่อมประสบบุญอันประเสริฐ ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป อย่า เลยเทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ เพราะการทำลายสงฆ์ มีโทษหนัก” ต่อมาเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบท่านพระอานนท์กำลังเที่ยวบิณฑบาตจึงเข้า ไปหา ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะทำอุโบสถ จะทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์” ครั้นพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตฉันเสร็จแล้ว กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉัน ภัตตาหารแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานวโรกาส ในเวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบข้าพระองค์กำลังเที่ยวบิณฑบาตจึงเข้ามา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๐๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

หาข้าพระองค์ ครั้นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะทำ อุโบสถ จะทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์’ วันนี้พระ เทวทัตจะทำลายสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า” ครั้นพระผู้มีพระภาคเมื่อทรงทราบเรื่องนั้น จึงทรงเปล่งพระอุทานในเวลานั้นว่า “กรรมดี คนดีทำได้ง่าย กรรมดี คนชั่วทำได้ยาก กรรมชั่ว คนชั่วทำได้ง่าย กรรมชั่ว พระอริยะทั้งหลายทำได้ยาก๑-
ทุติยภาณวาร จบ
๓. ตติยภาณวาร
สังฆเภทกถา
ว่าด้วยการทำลายสงฆ์
พระเทวทัตชักชวนพระวัชชีบุตร ๕๐๐ รูป
เข้าเป็นพรรคพวก
[๓๔๔] ครั้นถึงวันอุโบสถ พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ประกาศให้ภิกษุจับสลาก ด้วยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ ว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญความมักน้อย ฯลฯ การ ปรารภ ความเพียรโดยประการต่างๆ พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ ก็เป็นไป @เชิงอรรถ : @ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๔๘/๒๗๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๐๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๙๗-๒๐๓. http://84000.org/tipitaka/book/m_siri.php?B=7&siri=52              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=7&A=3770&Z=3863                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=383              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=383&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=383&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/brahmali#pli-tv-kd17:3.13.5.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/horner-brahmali#Kd.17.3.13



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :