ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
นัปปฏิปัสสัมภนวรรคที่ ๒
องค์ของภิกษุที่ไม่ควรระงับกรรม
[๑๑๖๕] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์ไม่พึงระงับ กรรม? พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ ยังให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ยินดีการสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ยังสอนภิกษุณี ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ถูกสงฆ์ลงโทษเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น ๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ต้องอาบัติที่เลวกว่านั้น ๔. ติกรรม ๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. พูดติพระพุทธเจ้า ๒. พูดติพระธรรม ๓. พูดติพระสงฆ์ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๕. มีอาชีววิบัติ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นพาล ๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. ทำการย่ำยีในข้อวัตร ๕. ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม.
คุณสมบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม
[๑๑๖๖] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ พ. ดูกรอุบาลี อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้งธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ ธรรม ๕ อะไรบ้าง ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์ ๑. พึงมีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์ ๒. พึงเป็นผู้รู้จักอาสนะ รู้จักการนั่ง ๓. ไม่เบียดภิกษุผู้เถระ ไม่กีดกันอาสนะภิกษุผู้อ่อนกว่า พึงนั่งอาสนะอันควร ๔. ไม่พึงพูดเรื่องต่างๆ ไม่พึงพูดติรัจฉานกถา ๕. พึงกล่าวธรรมด้วยตนเอง หรือเชิญผู้อื่นกล่าว ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ ดูกรอุบาลี ถ้าสงฆ์ทำกรรมที่ควรพร้อมเพรียงกันทำ ถ้าในกรรมนั้นภิกษุไม่ชอบใจ จะ พึงทำความเห็นแย้งก็ได้ แล้วควบคุมสามัคคีไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเธอคิดว่า เราอย่า มีความเป็นต่างๆ จากสงฆ์เลย. ดูกรอุบาลี อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์ พึงตั้งธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์เถิด.
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์
[๑๑๖๗] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชน หมู่มาก? พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. เป็นผู้มีความคิดมืดมน ๒. พูดซัดผู้อื่น ๓. ไม่ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน ๔. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๕. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนาของชนหมู่ มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่เป็นผู้มีความคิดมืดมน ๒. ไม่พูดซัดผู้อื่น ๓. ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน ๔. โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๕. ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนาของชน หมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก.
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. เป็นผู้อวดอ้าง ๒. เป็นผู้รุกราน ๓. ยึดถืออธรรม ๔. ค้านธรรม ๕. กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มาก ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของ ชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่ปรารถนาของชนหมู่ มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่เป็นผู้อวดอ้าง ๒. ไม่เป็นผู้รุกราน ๓. ยึดถือธรรม ๔. ค้านอธรรม ๕. ไม่กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มาก ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่ปรารถนา ของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก.
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. พูดข่มขู่ ๒. พูดไม่ให้โอกาสผู้อื่น ๓. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร ๔. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร ๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่ปรารถนาของชนหมู่ มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่พูดข่มขู่ ๒. พูดให้โอกาสผู้อื่น ๓. โจทตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร ๔. ปรับตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร ๕. ชี้แจงตามความเห็น ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่ปรารถนาของ ชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก.
อานิสงส์ในการเรียนวินัย
[๑๑๖๘] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์เท่าไรหนอแล? พ. ดูกรอุบาลี ในการเรียนวินัยมีอานิสงส์ ๕ นี้. อานิสงส์ ๕ อะไรบ้าง คือ:- ๑. กองศีลเป็นอันตนคุ้มครองรักษาไว้ด้วยดี ๒. เป็นที่พึ่งพิงของผู้ถูกความสงสัยครอบงำ ๓. เป็นผู้แกล้วกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ ๔. ข่มขี่ข้าศึกได้ด้วยดีโดยสหธรรม ๕. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ดูกรอุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ ๕ นี้แล.
นัปปฏิปัสสัมภนวรรคที่ ๒ จบ
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำวรรค
[๑๑๖๙] ต้องอาบัติ ๑ เพราะอาบัติใด ๑ พูดติเตียน ๑ อลัชชี ๑ สงคราม ๑ มี ความคิดมืดมน ๑ อวดอ้าง ๑ ข่มขู่ ๑ เรียนวินัย ๑.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๐๖๖๓-๑๐๗๙๑ หน้าที่ ๔๐๙-๔๑๔. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=8&A=10663&Z=10791&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=8&siri=107              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1165              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1165-1169] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=1165&items=5              The Pali Tipitaka in Roman :- [1165-1169] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=8&item=1165&items=5              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/brahmali#pli-tv-pvr17:22.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/horner-brahmali#BD.6.295

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :