ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
ให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง
[๒๙๖] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมวิหารทั้งหลังจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๒๙๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรม ๒ ครั้งแก่วิหาร ๑ หลัง จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ นวกรรม ๒ ครั้ง แก่วิหาร ๑ หลัง รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๒๙๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเอานวกรรมแล้วให้ภิกษุรูปอื่นอยู่ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือเอา นวกรรมแล้วไม่พึงให้ภิกษุรูปอื่นอยู่ รูปใดให้อยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๒๙๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเอานวกรรมแล้ว เกียดกันเสนาสนะ ของสงฆ์ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ถือเอานวกรรมแล้ว ไม่พึงเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์ รูปใดเกียดกัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือที่นอนอย่างดีแห่งหนึ่ง ฯ [๓๐๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรม แก่วิหารที่ตั้งอยู่นอกสีมา จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง ให้นวกรรม แก่วิหารที่ตั้งอยู่นอกสีมา รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๓๐๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเอานวกรรมแล้ว เกียดกันตลอด กาลทั้งปวง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือเอานวกรรมแล้ว ไม่พึงเกียดกันตลอดกาลทั้งปวง รูปใดเกียดกัน ต้อง อาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เกียดกันเฉพาะ ๓ เดือนฤดูฝน ไม่ให้ เกียดกันตลอดฤดูกาล ฯ
ภิกษุถือเอานวกรรมแล้วหลีกไปเป็นต้น
[๓๐๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเอานวกรรมแล้ว หลีกไปบ้าง สึก เสียบ้าง ถึงมรณภาพบ้าง ปฏิญาณเป็นสามเณรบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริตบ้าง ปฏิญาณเป็น ผู้มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ ถูกยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่กระทำคืนอาบัติบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่สละคืนทิฐิอันลามกบ้าง ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ลักเพศบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์บ้าง ปฏิญาณเป็นสัตว์ ดิรัจฉานบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดาบ้าง ปฏิญาณเป็น ผู้ฆ่าพระอรหันต์บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณีบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ทำลาย สงฆ์บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ทำโลหิตุปบาทบ้าง ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนกบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ [๓๐๓] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้ว หลีกไป สงฆ์พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้ของสงฆ์เสียหาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้วสึก ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ ต้องอันติมวัตถุ ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญาณเป็น ผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณ เป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่กระทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่สละคืนทิฐิ อันลามก ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญาณเป็นผู้ลักเพศ ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีต เดียรถีย์ ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญาณเป็น ผู้ทำลายสงฆ์ ปฏิญาณเป็นผู้ทำโลหิตุปบาท ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์ พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้ของสงฆ์เสียหาย ฯ [๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรม แล้วหลีกไปในเมื่อยังทำไม่เสร็จ สงฆ์พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้ ของสงฆ์เสียหาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้วสึก ในเมื่อทำยังไม่เสร็จ ... ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึงมอบ ให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้ของสงฆ์เสียหาย ฯ [๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรม แล้ว หลีกไปในเมื่อทำเสร็จแล้ว นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง ฯ [๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรม แล้ว พอทำเสร็จแล้ว ก็สึก ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็น ผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ ฯ [๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรม แล้ว พอทำเสร็จ ก็ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญาณ เป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่กระทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่ สละคืนทิฐิอันลามก นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง ฯ [๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรม แล้ว พอทำเสร็จ ก็ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญาณเป็นผู้ลักเพศ ปฏิญาณเป็น ผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา ปฏิญาณ เป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ปฏิญาณเป็นผู้ทำโลหิตุปบาท ปฏิญาณเป็นอุภโต พยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของแล ฯ
ใช้เสนาสนะผิดสถานที่
[๓๐๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้สอยเสนาสนะอันเป็นเครื่องใช้ สำหรับวิหารของอุบาสกคนหนึ่ง ในวิหารหลังอื่น ครั้งนั้น อุบาสกนั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงได้เอาเครื่องใช้ในวิหารแห่ง หนึ่ง ไปใช้ในวิหารอีกแห่งหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้ในวิหารแห่งหนึ่ง ภิกษุไม่พึง เอาไปใช้ในวิหารอีกแห่งหนึ่ง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
พุทธานุญาตให้ขอยืมเสนาสนะ
[๓๑๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะรักษาโรงอุโบสถบ้าง ที่นั่ง ประชุมบ้าง จึงนั่งบนพื้นดิน ทั้งร่างกาย ทั้งจีวร ย่อมเปรอะเปื้อนด้วยฝุ่น ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้นำไปใช้ฐานเป็นของขอยืม ฯ
พุทธานุญาตให้เก็บเสนาสนะไปรักษา
[๓๑๑] สมัยนั้น มหาวิหารของสงฆ์ชำรุด ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่ นำเสนาสนะออกไป จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปเพื่อเก็บรักษาไว้ได้ ฯ
พุทธานุญาตให้แลกเปลี่ยน
[๓๑๒] สมัยนั้น ผ้ากัมพลมีราคามาก เป็นบริขารสำหรับเสนาสนะ เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรมได้ ฯ [๓๑๓] สมัยนั้น ผ้ามีราคามาก เป็นบริขารสำหรับเสนาสนะเกิดขึ้น แก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรมได้ ฯ
พุทธานุญาตผ้าเช็ดเท้า
[๓๑๔] สมัยนั้น หนังหมีบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้า เช็ดเท้า ฯ [๓๑๕] สมัยต่อมา เครื่องเช็ดเท้ารูปวงล้อบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า ฯ [๓๑๖] สมัยต่อมา ผ้าท่อนน้อยบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็น ผ้าเช็ดเท้า ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๒๖๙๙-๒๘๐๒ หน้าที่ ๑๑๒-๑๑๖. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=2699&Z=2802&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=7&siri=42              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=296              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [296-316] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=7&item=296&items=21              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=8079              The Pali Tipitaka in Roman :- [296-316] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=7&item=296&items=21              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=8079              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/brahmali#pli-tv-kd16:17.2.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#Kd.16.17.2

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :