ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องอนาถบิณฑกคหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก
[๒๔๑] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี เป็นน้องเขยของราชคหเศรษฐี ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีไปเมืองราชคฤห์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ฯ [๒๔๒] สมัยนั้น ราชคหเศรษฐีได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น จึงได้สั่งทาสและกรรมกรทั้งหลายว่า พนาย ถ้า เช่นนั้น พวกท่านจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกันจัดหา อาหารที่มีรสอร่อย ฯ [๒๔๓] ขณะนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีได้คิดว่า เมื่อเรามาคราวก่อน ท่านคหบดีผู้นี้จัดทำธุระทุกอย่างเสร็จแล้ว สนทนาปราศรัยกับเราผู้เดียว บัดนี้เขา มีท่าทีเปลี่ยนไป สั่งทาสและกรรมกรทั้งหลายว่า พนาย ถ้ากระนั้นพวกท่าน จงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกันจัดหาอาหารที่มีรสอร่อยๆ บางทีคหบดีผู้นี้จักมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล หรือประกอบมหายัญ หรือจัก ทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช พร้อมทั้งกองพลมาเลี้ยงในวัน รุ่งขึ้นกระมัง ฯ [๒๔๔] ครั้นราชคหเศรษฐีสั่งทาสและกรรมกรแล้ว เข้าไปหาอนาถบิณ- *ฑิกคหบดี ได้นั่งสนทนากัน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อนาถบิณฑิกคหบดีได้ ถามว่า ท่านคหบดี คราวก่อนเมื่อฉันมาแล้ว ท่านได้จัดทำธุระทุกอย่างเสร็จแล้ว ก็สนทนากับฉันผู้เดียว บัดนี้ท่านนั้นมัวสาละวนสั่งทาสและกรรมกรว่า ถ้ากระนั้น พวกท่านจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกันจัดหาอาหารที่มีรส อร่อยๆ บางทีท่านคหบดี จักมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล หรือประกอบ มหายัญ หรือจักทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช พร้อมทั้งกองพล มาเลี้ยงในวันพรุ่งนี้กระมัง ฯ ราชคหเศรษฐีตอบว่า ท่านคหบดี ฉันจะได้มีงานอาวาหมงคล หรือ วิวาหมงคล ก็หาไม่ แม้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช พร้อมทั้งกองพล ฉันก็มิได้เชิญเสด็จมาเลี้ยงในวันพรุ่งนี้ ที่ถูกฉันจะประกอบมหายัญ คือ ฉันได้ นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อเลี้ยงในวันพรุ่งนี้ อ. ท่านคหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ ร. ท่านคหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้จ้ะ อ. ท่านคหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ ร. ท่านคหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้จ้ะ อ. ท่านคหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ ร. ท่านคหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้จ้ะ อ. ท่านคหบดี แม้เสียงว่า พุทธะ นี้ก็ยากที่จะหาได้ในโลก ท่านคหบดี ฉันสามารถจะเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในเวลานี้ได้ไหม ร. ท่านคหบดี เวลานี้ยังไม่ควรที่จะเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันต- *สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พรุ่งนี้ท่านจึงจะได้เข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ฯ [๒๔๕] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีนอนนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็น อารมณ์ว่า พรุ่งนี้ เราจะได้เข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ข่าวว่า เธอลุกขึ้นในกลางคืนถึงสามครั้งเข้าใจว่า สว่างแล้ว จึงได้ เดินไปโดยทางอันจะไปประตูป่าสีตวัน พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ ขณะเมื่อเดิน ออกจากพระนคร แสงสว่างได้หายไป ความมืดปรากฏแทน ความกลัว ความ หวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าได้บังเกิดแล้ว เธอได้คิดกลับจากที่นั้นอีก ฯ [๒๔๖] ขณะนั้น สีวกยักษ์ไม่ปรากฏร่าง ให้ได้ยินแต่เสียงโดยคาถา ว่าดังนี้ ช้าง ๑ แสน ม้า ๑ แสน รถม้าอัสดร ๑ แสน สาวน้อยประดับ ต่างหูเพชร ๑ แสนก็ยังไม่เท่า เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างเท้าไป ก้าวหนึ่ง เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่านคหบดี เชิญก้าวไปข้าง หน้าเถิด ท่านคหบดี ท่านก้าวไปข้างหน้าดีกว่า อย่าถอยกลับเลย ฯ [๒๔๗] ทันใดนั้น ความมืดหายไป แสงสว่างได้ปรากฏแก่อนาถ- *บิณฑิกคหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า อันใดได้มี แล้ว อันนั้นได้สงบแล้ว แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สาม แสงสว่างหายไป ความมืดได้ปรากฏแก่อนาถบิณฑิก- *คหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าได้บังเกิด เธอคิดจะ กลับจากที่นั้นอีก แม้ครั้งที่สาม สีวกยักษ์ไม่ปรากฏร่าง ให้ได้ยินแต่เสียง โดยคาถา ว่าดังนี้:- ช้าง ๑ แสน ม้า ๑ แสน รถม้าอัสดร ๑ แสน สาวน้อย- *ประดับต่างหูเพชร ๑ แสน ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการ ย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่านคหบดี เชิญ ก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่านคหบดี ท่านก้าวไปข้างหน้าดีกว่าอย่า ถอยกลับเลย แม้ครั้งที่สาม ความมืดหายไป แสงสว่างได้ปรากฏแก่อนาถบิณฑิกคหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าอันใดได้มีแล้ว อันนั้นได้ สงบแล้ว จึงอนาถบิณฑิกคหบดีเดินเข้าไปยังสีตวันแล้ว ฯ [๒๔๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นจงกรมในที่แจ้ง ณ เวลา ปัจจุสสมัยแห่งราตรี ได้ทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกคหบดีนั้นเดินมาแต่ไกล เทียว ครั้นแล้วเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคหบดีว่า มาเถิดสุทัตตะ ทันใดนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี เบิกบานใจ ดีใจว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกชื่อเรา แล้วเข้าไปเฝ้าซบเศียรลง แทบพระบาทพระผู้มีพระภาค ทูลถามว่า พระองค์ประทับสำราญ หรือ พระ- *พุทธเจ้าข้า ฯ [๒๔๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบโดยคาถา ว่าดังนี้:- พราหมณ์ผู้ดับทุกข์ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขแท้ทุกเวลา ผู้ใดไม่ ติดในกาม มีใจเย็น ไม่มีอุปธิ ตัดความเกี่ยวข้องทุกอย่างได้ แล้ว บรรเทาความกระวนกระวายในใจ ถึงความสงบแห่งจิต เป็นผู้สงบระงับแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ฯ [๒๕๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพิกถาแก่อนาถบิณฑิก- *คหบดี คือ บรรยายถึงทาน ศีล สวรรค์ อาทีนพ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกามทั้งหลาย แล้วทรงประกาศอานิสงส์ในการออกจากกาม ขณะที่พระองค์ ทรงทราบว่า อนาถบิณฑิกคหบดีมีจิตควรแก่การงาน มีจิตอ่อน มีจิตปราศจาก นิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตเลื่อมใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๑๙๕๐-๒๐๓๔ หน้าที่ ๘๑-๘๔. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=1950&Z=2034&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=7&siri=32              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=241              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [241-250] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=7&item=241&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=7362              The Pali Tipitaka in Roman :- [241-250] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=7&item=241&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=7362              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/brahmali#pli-tv-kd16:4.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#Kd.16.3.11

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :