ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าไม้
ครั้นต่อมา ถึงเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี พระฉัพพัคคีย์ลุกขึ้นสวมเขียงเท้าที่ทำด้วยไม้ แล้วเดินอยู่กลางแจ้ง มีเสียงขฏะขฏะ ดังอึกทึก กล่าวดิรัจฉานกถา มีเรื่องต่างๆ คือ พูดเรื่อง พระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องขุนพล เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับ ไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ เหยียบแมลงตายเสียบ้าง ยังภิกษุทั้งหลายให้เคลื่อนจากสมาธิบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย .... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ เมื่อเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี ได้ ลุกขึ้นสวมเขียงเท้าที่ทำด้วยไม้แล้วเดินอยู่กลางแจ้ง มีเสียงขฏะขฏะ ดังอึกทึก กล่าวดิรัจฉานกถา มีเรื่องต่างๆ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร .... เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ เหยียบแมลงตายเสียบ้าง ยังภิกษุทั้งหลายให้เคลื่อนจากสมาธิบ้าง แล้วจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕.

พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ เมื่อปัจจุสมัยแห่งราตรี ได้ลุกขึ้นสวมเขียงเท้าที่ทำด้วยไม้ แล้วเดินอยู่กลางแจ้ง มีเสียงขฏะขฏะ ดังอึกทึก กล่าวดิรัจฉานกถา มีเรื่องต่างๆ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร .... เรื่องความเจริญ และความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ เหยียบแมลงตายเสียบ้าง ยังภิกษุทั้งหลายให้เคลื่อนจากสมาธิ บ้าง จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าที่ทำด้วยไม้ อันภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าใบตาล
[๑๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระนครราชคฤห์ ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่จาริกทางพระนครพาราณสี เสด็จพระพุทธดำเนินสู่จาริกโดยลำดับ ถึงพระนครพาราณสี ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนคร พาราณสีนั้น. ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์คิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามเขียงเท้าไม้ จึงให้ตัด ต้นตาลเล็กๆ แล้วเอาใบตาลมาทำเขียงเท้าสวม ต้นตาลเล็กๆ นั้นถูกตัดแล้วย่อมเหี่ยวแห้ง. ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ให้ตัด ต้นตาลเล็กๆ แล้วเอาใบตาลมาทำเขียงเท้าสวมเล่า ต้นตาลเล็กๆ ถูกตัดแล้วย่อมเหี่ยวแห้ง พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาว บ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ สั่งให้ตัดต้นตาลเล็กๆ แล้วเอาใบตาลมาทำเขียงเท้าสวม ต้นตาลเล็กๆ นั้นถูกตัดแล้ว ย่อม เหี่ยวแห้ง จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึง ได้ให้ตัดต้นตาลเล็กๆ แล้วเอาใบตาลทำเขียงเท้าสวมเล่า ต้นตาลเล็กๆ นั้นถูกตัดแล้ว ย่อม

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๖.

เหี่ยวแห้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชาวบ้านมีความสำคัญในต้นไม้ว่ามีชีวะ การกระทำของ เหล่าโมฆบุรุษนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้วทรงทำ ธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าสานด้วยใบตาล อันภิกษุไม่พึง สวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าไม้ไผ่
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์คิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามเขียงเท้าสานด้วยใบตาล จึง ได้ให้ตัดไม้ไผ่เล็กๆ แล้วเอาใบไผ่มาทำเขียงเท้าสวม ไม้ไผ่เล็กๆ นั้น ถูกตัดแล้ว ย่อมเหี่ยว แห้ง. ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ ให้ตัดไม้ไผ่เล็กๆ แล้วเอาใบไผ่มาทำเขียงเท้าสวมเล่า ไม้ไผ่เล็กๆ นั้นถูกตัดแล้วย่อมเหี่ยวแห้ง พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรย่อมเบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ. ภิกษุทั้งหลายได้ยิน ชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า .... ครั้นแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าสานด้วยใบไผ่ อันภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าต่างชนิด
[๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครพาราณสีตามพระพุทธาภิรมย์ แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินจาริกทางพระนครภัททิยะ เสด็จพระพุทธดำเนินจาริกโดยลำดับถึงพระนคร ภัททิยะ ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ในป่าชาติยาวันเขตพระนครภัททิยะนั้น. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวพระนครภัททิยะ ตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้า หลากหลายอยู่ คือ ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสาน ด้วยแฝก ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ พวกเธอละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย. บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย .... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนเล่าพวกภิกษุชาวพระนครภัททิยะ จึงได้ตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๗.

ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ภิกษุเหล่านั้น ได้ละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุชาว พระนครภัททิยะตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ทำเอง บ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสาน ด้วยใบเป้ง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ย่อมละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนเล่าโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่ง เขียงเท้าสานด้วยหญ้า ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก ได้ทำเอง บ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ โมฆบุรุษเหล่านั้นได้ละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิจิต อธิปัญญาเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของเหล่าโมฆบุรุษนั่นไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าสานด้วยหญ้าเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย เขียงเท้าสาน ด้วยหญ้าปล้อง เขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง เขียงเท้าสานด้วยแฝก เขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ เขียงเท้าประดับด้วยทองคำ เขียงเท้าประดับด้วยเงิน เขียงเท้าประดับด้วยแก้วมณี เขียงเท้า ประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ เขียงเท้าประดับด้วยแก้วผลึก เขียงเท้าประดับด้วยทองสัมฤทธิ์ เขียงเท้า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๘.

ประดับด้วยกระจก เขียงเท้าทำด้วยดีบุก เขียงเท้าทำด้วยสังกะสี เขียงเท้าทำด้วยทองแดง รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เขียงเท้าบางชนิดที่สำหรับสวมเดิน อันภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงเท้าที่ตรึงอยู่กับที่ ไม่ใช่สำหรับใช้สวมเดิน ๓ ชนิด คือ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายอุจจาระ ๑ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายปัสสาวะ ๑ เขียงเท้าที่ สำหรับเหยียบในที่ชำระ ๑.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๓๓๕-๔๒๗ หน้าที่ ๑๔-๑๘. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=335&Z=427&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=5&siri=2              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=5              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [10-12] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=10&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3718              The Pali Tipitaka in Roman :- [10-12] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=5&item=10&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3718              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd5/en/brahmali#pli-tv-kd5:1.28.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd5/en/horner-brahmali#BD.4.245

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :