ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
นันทาเถริยาปทานที่ ๕
ว่าด้วยบุพจริยาของพระนันทาเถรี
[๑๖๕] ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลก พระนามว่าปทุมุตระ ผู้ทรงรู้จบธรรมทั้งปวงเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าผู้ฉลาดในวิธีเทศนา ตรัสสอนเหล่าสัตว์ให้ รู้แจ้ง ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามไป ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นได้ เป็นอันมาก ทรงพระกรุณาอนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์แก่สัตว์ ทั้งปวงทรงตั้งพวกเดียรถีย์ที่มาถึงแล้วทั้งหมดไว้ในเบญจศีล พระ- ศาสนาของพระองค์ไม่อากูล ว่างเปล่าจากพวกเดียรถีย์ งดงามไป ด้วยพระอรหันต์ทั้งหลายที่มีความชำนาญ เป็นผู้คงที่พระองค์เป็น พระมหามุนีมีพระกายสูง ๕๘ ศอก มีพระรัศมีงามปานทองคำที่มีค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการมีพระชนมายุแสนปี พระ- องค์ดำรงอยู่โดยกาลเท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นได้เป็นอันมาก ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐีมีความรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่างๆ ใน เมืองหงสวดี เป็นผู้เพรียบพร้อมไปด้วยความสุขมาก ดิฉัน เข้าไป เฝ้าพระมหาวีรเจ้าพระองค์นั้น ได้ฟังพระธรรมเทศนา อันประกาศ ปรมัตถธรรมอย่างจับใจยิ่ง ซึ่งเป็นอมตธรรม ครั้งนั้น ดิฉันมีความ เลื่อมใส ได้นิมนต์พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพร้อมด้วยพระ- สงฆ์ ได้ถวายมหาทานแด่พระองค์ด้วยมือของตน ได้ซบเศียรลง ใกล้พระมหาวีรเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ปรารถนาตำแหน่งที่เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายที่มีฌาน ครั้งนั้นพระสุคตเจ้าผู้ฝึกนรชนที่ยังไม่ได้ ฝึก เป็นสรณะของโลกสามผู้เป็นใหญ่ ทรงนรชนไว้ให้ดี ทรง- พยากรณ์ว่า ท่านจักได้ตำแหน่งที่ปรารถนาดีแล้วนั้น ในกัปที่ หนึ่งแสนแต่กัปนี้พระศาสดาพระนามว่าโคดม มีสมภพในวงศ์ พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านผู้เจริญจักได้เป็น ธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักเป็นสาวิกาของพระองค์ มีนามชื่อว่านันทา ครั้งนั้น ดิฉันได้ฟัง พระพุทธพจน์นั้นแล้วมีใจยินดีมีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระ- พิชิตมารผู้เป็นนายกชั้นพิเศษ ด้วยปัจจัยทั้งหลายตลอดชีวิต ด้วย กุศลกรรมที่ได้ทำไว้ดีนั้นและด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละ ร่างกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุติจากสวรรค์ชั้น นั้นแล้ว ดิฉันไปสู่สวรรค์ชั้นยามา จุติจากนั้นแล้วไปสวรรค์ชั้น ดุสิต จุติจากนั้นแล้วไปสวรรค์ชั้นนิมมานรดี จุติจากนั้นแล้วไป สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ด้วยอำนาจบุญกรรมนั้น ดิฉันเกิดใน ภพใดๆ ก็ได้ครองตำแหน่งราชมเหสีในภพนั้นๆ จุติจากสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตดีแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์ ได้ครองตำแหน่งอัครมเหสี ของพระเจ้าจักรพรรดิ และพระเจ้าเอกราช เสวยสมบัติในเทวดา และมนุษย์เป็นผู้มีความสุขในที่ทุกสถานท่องเที่ยวไปในกัปเป็นอเนก ในภพหลังที่มาถึงบัดนี้ ดิฉันเป็นพระธิดาแห่งพระเจ้าสุทโธทนะใน กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นผู้มีรูปสมบัติอันประชาชนสรรเสริญ ราชสกุล นั้น เห็นดิฉันมีรูปงามดังดวงอาทิตย์ จึงพากันชื่นชม เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงมีนามว่านันทา เป็นผู้มีรูปลักษณะสวยงาม ในพระนคร กบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นธานีที่รื่นรมย์นั้น นอกจากพระนางยโสธรา ปรากฏว่าดิฉันงามกว่ายุวนารีทั้งปวง พระภาดาพระองค์ใหญ่เป็น พระพุทธเจ้าผู้เลิศในไตรโลก พระภาดาองค์รองก็เป็นพระอรหันต์ ดิฉันยังเป็นคฤหัสถ์อยู่ผู้เดียว พระมารดาทรงตักเตือนว่า ดูกรพระ- ราชสุดาลูกรักเกิดในศากยสกุล เป็นพระอนุชาแห่งพระพุทธเจ้า เมื่อเว้นจากนันทกุมารแล้วจักได้ประโยชน์อะไรในวังเล่า รูปถึงมี ความเจริญ ก็มีความแก่เป็นอวสาน บัณฑิตรู้กันว่าไม่สะอาด เมื่อยังเจริญมิได้มีโรค แต่ก็มีโรคในตอนปลาย ชีวิตมีมรณะเป็น ที่สุดรูปของเธอนี้ แม้ว่าจะงามจูงใจให้นิยม ดุจดวงจันทร์ที่ใคร่กัน เมื่อตกแต่งด้วยเครื่องประดับมากอย่าง ก็ยิ่งมีความงามเปล่งปลั่ง เป็นที่กำหนด เป็นที่ยินดีแห่งนัยน์ตาทั้งหลายคล้ายกะว่าทรัพย์ของ ของโลกที่บูชากัน เป็นรูปที่ให้เกิดความสรรเสริญเพราะบุญมากที่ บำเพ็ญไว้ เป็นที่ชื่นชมแห่งวงศ์โอกกากราชไม่ช้านานเท่าไร ชรา ก็จักมาย่ำยี ลูกรักจงละพระราชฐานและรูปที่บัณฑิตตำหนิ ประพฤติ พรหมจรรย์เถิด ดิฉันผู้ยังหลงใหลด้วยความเจริญแห่งรูป ได้ฟัง พระดำรัสของพระมารดาแล้ว ก็ออกบวชแต่ร่างกาย แต่มิได้ออก บวชด้วยความเต็มใจ ดิฉันระลึกถึงตัวเองอยู่ด้วยความเพ่งฌานเป็น อันมาก พระมารดาตรัสตักเตือนเพื่อให้ประพฤติธรรม แต่ดิฉันมิได้ ขวนขวายในธรรมจริยานั้น ครั้งนั้น พระพิชิตมารผู้ทรงพระมหากรุณา ทอดพระเนตรเห็นดิฉันผู้มีผิวหน้าดังดอกบัว ทรงนิรมิตหญิงคนหนึ่ง งามน่าชม น่าชอบใจยิ่งนัก มีรูปงามกว่าดิฉัน ในคลองจักษุของ ดิฉัน ด้วยอานุภาพของพระองค์ เพื่อให้ดิฉันเบื่อหน่ายในรูป ดิฉัน เป็นคนสวย เห็นหญิงมีร่างกายสวยยิ่งกว่า คิดเพ้อไปว่าเราเห็น หญิงมนุษย์ดังนี้มีผลดี เป็นลาภนัยน์ตาของเรา เชิญเถิดแม่คนงาม แม่จงบอกสิ่งที่ต้องประสงค์แก่ฉัน ฉันจะให้แม่จงบอกสกุล นาม และโคตรของแม่ ซึ่งเป็นที่รักแห่งแม่แก่ฉันเถิด แม่คนงาม เวลานี้ ยังไม่ใช่กาลแห่งปัญหา แม่จงให้ฉันอยู่บนตัก อวัยวะทั้งหลายของ ฉันจะทับอยู่ แม่ให้ฉันหลับสักครู่เถิด แต่นั้นแม่คนสวยงามพึงพิง ศีรษะที่ตักฉันนอนไป แม่คนสวยถูกของแข็งหยาบตกลงที่หน้าผาก ต่อมก็ปรากฏขึ้นพร้อมกับของแข็งตกลงถูก แตกออกแล้วก็มีเครื่อง โสโครกหนองและเลือดไหลออก หน้าแตกแล้วมีกลิ่นเน่าปฏิกูล ตัวทั่วไปก็บวมเขียว แม่คนสวยมีสรรพางค์สั่น หายใจถี่ เสวยทุกข์ ของตนอยู่ รำพันอย่างหน้าสมเพช เพราะแม่คนสวยประสบทุกข์ ฉันก็มีทุกข์ ต้องทุกขเวทนา จมอยู่ในมหาทุกข์ ขอแม่คนสวยจง เป็นที่พึ่งของฉัน หน้าที่งามของแม่หายไปไหน จมูกที่โด่งงามของ แม่หายไปไหน ริมฝีปากที่สวยเหมือนสีลูกมะพลับสุกของแม่หาย ไปไหน วงหน้างามคล้ายดวงจันทร์และลำคอละม้ายต่อมทองคำของ แม่หายไปไหน ใบหูของแม่เป็นดังว่าพวงดอกไม้ มีสีเสียไปแล้ว ถันทั้งคู่ของแม่ เหมือนดอกบัวตูม แตกแล้ว มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป คล้ายกะว่าศพเน่า แม่มีเอวกลมกล่อม มีตะโพกผึ่งผาย แม่เต็ม ไปด้วยสิ่งชั่วถ่อยโอ รูปไม่เที่ยง อวัยวะที่เนื่องในสรีระทั้งหมด มีกลิ่นปฏิกูลน่ากลัว น่าเกลียด เหมือนซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นที่ยินดีของพวกพาลชน ครั้งนั้น พระภาดาของดิฉันผู้เป็นนายก ของโลก ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา ทอดพระเนตรเห็นดิฉัน มีจิตสลด ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ดูกรนันทาท่านจงดูรูปที่ กระสับกระส่าย เปื่อยเน่าดังซากศพ จงอบรมจิตให้ตั้งมั่น มีอารมณ์ เดียว ด้วยอสุภารมณ์ รูปนี้เป็นฉันใด รูปท่านก็เป็นฉันนั้น รูปท่าน เป็นฉันใด รูปนี้ก็เป็นฉันนั้น รูปนี้มีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป พวกคน พาลยินดียิ่งนัก พวกบัณฑิตผู้มิได้เกียจคร้าน ย่อมพิจารณาเห็นรูป เป็นอย่างนั้นทั้งกลางคืนกลางวัน ท่านจงเบื่อหน่าย พิจารณาดูรูปนั้น ด้วยปัญญาของตน ลำดับนั้น ดิฉันได้ฟังคาถาเป็นสุภาษิต แล้วมี ความสลดใจ ตั้งอยู่ในธรรมนั้น ได้บรรลุซึ่งอรหัตผลในกาลนั้น ดิฉันนั่งอยู่ในที่ไหนๆ ก็มีฌานเป็นเบื้องหน้าพระพิชิตมารทรงพอ พระทัยในคุณสมบัตินั้น จึงทรงตั้งดิฉันไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว. ทราบว่า ท่านพระนันทาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบนันทาเถริยาปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๕๖๐๙-๕๗๐๗ หน้าที่ ๒๔๑-๒๔๕. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=5609&Z=5707&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=33&siri=176              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=165              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [165] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=165&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [165] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=165&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thi-ap25/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :