ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ว่าด้วยโมเนยยะ ๓ อย่าง
คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไป กำหนดเฉพาะ ความเป็นบันฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเป็น เครื่องจำแนก ปัญญาเป็นเครื่องคิด ปัญญาเป็นเครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวางดุลแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเป็นเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทง ปัญญาเป็นเครื่องเห็นชัด ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญา เป็นดังศาตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอันแจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรือง ปัญญาเป็นดังแก้ว ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ บุคคลประกอบด้วย ญาณนั้น ชื่อว่าเป็นมุนี คือ ผู้ถึงญาณที่ชื่อว่าโมนะ โมเนยยะ (ธรรมเครื่องทำความเป็นมุนี) มี ๓ อย่าง คือ โมเนยยธรรมทางกาย ๑ โมเนยยธรรมทางวาจา ๑ โมเนยยธรรมทางใจ ๑. โมเนยยธรรมทางกายเป็นไฉน? การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์ ความกำหนดรู้กายมรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การ ละฉันทราคะในกาย ความดับแห่งกายสังขาร ความบรรลุจตุตถฌาน แต่ละอย่างๆ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย. โมเนยยธรรมทางวาจาเป็นไฉน? การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ ความกำหนดรู้วาจา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌาน แต่ละอย่างๆ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา. โมเนยยธรรมทางใจเป็น? การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ ความกำหนดรู้จิต มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในจิต ความดับแห่งจิตตสังขาร ความบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แต่ละอย่างๆ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนี ผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนี ทางใจ ไม่มีอาสวะว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้ละ กิเลสทั้งปวง บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนีผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนี ทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว. บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนีเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นมุนีมี ๖ จำพวก คือ อาคาร- *มุนี อนาคารมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี มุนิมุนี อาคารมุนีเป็นไฉน? ชนเหล่าใดเป็น ผู้ครองเรือน มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่าอาคารมุนี อนาคารมุนีเป็นไฉน? ชนเหล่าใดออกบวช มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ชื่อว่า อนาคารมุนี พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่า อเสขมุนี พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่ามุนิมุนี. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง เป็นแต่ผู้เปล่า ไม่ใช่ผู้รู้ ส่วนบุคคล ใดเป็นบัณฑิต ถือธรรมอันประเสริฐ ละเว้นบาปทั้งหลาย เหมือนคน ที่ถือเครื่องชั่งตั้งอยู่ ฉะนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นมุนี เรียกว่ามุนีโดย เหตุนั้น บุคคลใด ย่อมรู้โลกทั้ง ๒ บุคคลนั้นเรียกว่ามุนีโดยเหตุนั้น บุคคลใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรมของสัตบุรุษ ในโลกทั้งปวงทั้ง ภายในและภายนอก ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่า ข่ายดำรงอยู่ เป็นผู้อันเทวดา และมนุษย์บูชาแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่าเป็น มุนี. คำว่า พ้นขาดแล้ว ความว่า จิตของมุนีพ้น พ้นขาด พ้นวิเศษดีแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามุนีนั้นเป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว. [๖๙๘] ชื่อว่าความกำหนด ในคำว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความ ปรารถนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้ ได้แก่ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วย ตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ กำหนดด้วยทิฏฐิ มุนีนั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะ เป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่กำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ คือ ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่มีความกำหนด. คำว่า ไม่เข้าไปยินดี ความว่า พาลปุถุชนทั้งปวง ย่อม กำหนด พระเสขะ ๗ จำพวกรวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมยินดี ยินดียิ่ง ยินดียิ่งเฉพาะ เพื่อ ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ส่วน พระอรหันต์เป็นผู้ยินดี ยินดียิ่ง ยินดียิ่งเฉพาะแล้ว คือ เป็นผู้ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยว ข้อง พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้า ไปยินดี. คำว่า ไม่มีความปรารถนา ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ความปรารถนานั้น อันมุนีใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ความเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้น เรียกว่าผู้ไม่มีความปรารถนา. คำว่า ภควา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่าผู้ทำลาย ราคะแล้ว ทำลายโทสะแล้ว ทำลายโมหะแล้ว ทำลายมานะแล้ว ทำลายทิฏฐิแล้ว ทำลาย เสี้ยนหนามแล้ว ทำลายกิเลสแล้ว เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงจำแนกวิเศษ ทรงจำแนก เฉพาะแล้ว ซึ่งธรรมรตนะ. ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ทรงทำซึ่งที่สุดแห่งภพทั้งหลาย มี พระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรง ซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะและป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่วิเวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ (ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความ ครอบงำอารมณ์) ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มี พระภาคทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปาณสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งตถาคตพละ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม. (พระนามมีในอรหัตผลในลำดับแห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทำให้แจ่มแจ้งซึ่งอรหัตผลและธรรมทั้งปวง) พร้อมด้วย การทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดังนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรมทั้งปวง คือ ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้น เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่มี ความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดังนี้ ฉะนี้แล.
จบมหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๗๕๔๗-๗๖๓๘ หน้าที่ ๓๑๗-๓๒๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=29&A=7547&Z=7638&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=29&siri=13              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=600              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [697-698] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=29&item=697&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=8477              The Pali Tipitaka in Roman :- [697-698] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=29&item=697&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=8477              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :