ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๒. จิตตสัมภูตชาดก
ว่าด้วยผลของกรรม
[๒๐๕๔] กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จนเล็กน้อย ที่จะไม่ให้ผลเป็นอันไม่มี เราได้เห็นตัวของเราผู้ชื่อว่า สัมภูตะมีอานุภาพมาก อันบังเกิดขึ้นด้วยผลบุญ เพราะกรรมของตนเอง กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะเล็กน้อย ที่จะไม่ให้ผลเป็นอันไม่มี มโนรถของเราสำเร็จแล้ว แม้ฉันใด มโนรถแม้ของจิตตบัณฑิต พระเชฏฐาของเรา ก็สำเร็จแล้ว ฉันนั้น กระมังหนอ. [๒๐๕๕] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติภพ กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อม มีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรมแม้จะเล็กน้อย ที่จะไม่ให้ผลเป็นอันไม่มี มโนรถของพระองค์สำเร็จแล้ว แม้ฉันใด ขอพระองค์โปรดทราบแม้ พระจิตตบัณฑิตฉันนั้นเถิด. [๒๐๕๖] เจ้าหรือคือจิตตะ เจ้าได้ฟังคำนี้มาจากคนอื่น หรือว่าใครบอกเนื้อความนี้ แก่เจ้า คาถานี้เจ้าขับดีแล้ว เราไม่มีความสงสัย เราจะให้บ้านส่วยร้อย ตำบลแก่เจ้า. [๒๐๕๗] ข้าพระพุทธเจ้าหาใช่จิตตะไม่ ข้าพระพุทธเจ้าฟังคำนี้มาจากคนอื่น และ ฤาษีได้บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระพุทธเจ้าแล้วสั่งว่า เจ้าจงไปขับคาถานี้ ตอบถวายพระราชา พระราชาทรงพอพระทัยแล้ว จะพึงพระราชทานบ้าน ส่วยให้แก่เจ้าบ้านกระมัง? [๒๐๕๘] ราชบุตรทั้งหลายจงเทียมราชรถของเรา จัดแจงให้ดี ผูกรัดจัดสรรให้ งดงามวิจิตร จงผูกรัดสายประคนมงคลหัตถี นายหัตถาจารย์จงขึ้นประจำ คอ. ตะโพนและสังข์มาตระเตรียมไว้ เจ้าหน้าที่ทั้งหลายจงเทียบยาน พาหนะโดยเร็ว วันนี้แล เราจักไปยังอาศรมซึ่งจักได้พบฤาษีนั่งอยู่. [๒๐๕๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ลาภดีแล้วหนอ คาถาอันข้าพเจ้าขับดีแล้วในท่ามกลาง บริษัท ข้าพเจ้าได้พบฤาษีผู้ประกอบด้วยศีลแล้วเกิดปีติโสมนัส. [๒๐๖๐] เชิญท่านผู้เจริญโปรดรับอาสนะ น้ำ และรองเท้าของข้าพเจ้าทั้งหมด เถิด ข้าพเจ้ายินดีต้อนรับท่านผู้เจริญในสิ่งของอันมีค่า ขอท่านผู้เจริญเชิญ รับสักการะอันมีค่าของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด. [๒๐๖๑] ขอเชิญพระเชฏฐาทรงสร้างปรางค์ปราสาท อันเป็นที่อยู่น่ารื่นรมย์สำหรับ พระองค์เถิด จงทรงบำรุงบำเรอด้วยหมู่นางนารีทั้งหลาย โปรดให้ โอกาสเพื่ออนุเคราะห์แก่หม่อมฉันเถิด แม้เราทั้งสองก็จะครอบครอง อิสริยสมบัตินี้ร่วมกัน. [๒๐๖๒] ดูกรมหาบพิตร พระองค์ทรงเห็นผลแห่งสุจริตอย่างเดียว ส่วนอาตมภาพ เห็นผลแห่งสุจริต และทุจริตที่สั่งสมไว้แล้ว เป็นวิบากใหญ่ จึงสำรวม ตนเท่านั้น มิได้ปรารถนาบุตร ปศุสัตว์ หรือทรัพย์. ชีวิตของสัตว์ ทั้งหลายในโลกนี้ มีกำหนดร้อยปีเป็นอย่างมาก ไม่ล่วงกำหนดนั้นไป ได้เลย ย่อมจะเหือดแห้งไป เหมือนไม้อ้อที่ถูกตัดแล้ว มีแต่จะแห้งไป ฉะนั้น. ในชีวิตอันจะต้องเหือดแห้งไปนั้น จะมัวเพลิดเพลินไปใย จะ มัวเล่นคึกคะนองไปทำไม ความยินดีจะเป็นประโยชน์อะไร ประโยชน์ อะไรด้วยการแสวงหาทรัพย์ จะมีประโยชน์อะไรด้วยบุตร และภรรยา สำหรับอาตมา ดูกรมหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก. อาตมภาพรู้ชัดอย่างนี้ว่า มัจจุจะไม่รังควานเราเป็นอันไม่มี เมื่อบุคคล ถูกมัจจุราชครอบงำแล้ว ความยินดีจะเป็นประโยชน์อะไร จะมีประโยชน์ อะไรด้วยการแสวงหาทรัพย์. ดูกรมหาบพิตรผู้จอมประชาชนชาติของ นรชนไม่สม่ำเสมอกัน กำเนิดแห่งคนจัณฑาล จัดว่าเลวทรามในระหว่าง มนุษย์ เมื่อชาติก่อนเราทั้งสองได้อยู่ร่วมกันในครรภ์แห่งนางจัณฑาลี เพราะกรรมอันชั่วช้าของตน. เราทั้งสองได้เกิดเป็นคนจัณฑาล ในกรุง อุชเชนีอวันตีชนบท ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นเนื้อสองตัว พี่น้องอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้วได้เกิดเป็นนก ออกสองตัวพี่น้องอยู่ริมฝั่งรัมมทานที ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว คราวนี้ อาตมภาพเกิดเป็นพราหมณ์ มหาบพิตรทรงสมภพเป็นกษัตริย์. [๒๐๖๓] ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ ทั้งหลายเป็นของน้อย เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มี ผู้ต้านทาน ดูกรพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำของ อาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้งหลายที่มีทุกข์เป็นกำไรเลย. ชีวิตของสัตว์ ทั้งหลายถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน ดูกรพระเจ้า ปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรม ทั้งหลายที่มีทุกข์เป็นวิบากเลย ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายถูกชรานำเข้าไป สู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย เมื่อนรชนถูกชรานำ เข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน ดูกรพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้งหลายอันมี ศีรษะเกลือกกลั้วด้วยกิเลสธุลี. ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายถูกชรานำเข้าไป สู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย ชราย่อมกำจัดวรรณะ ของนรชนผู้แก่เฒ่า ดูกรพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำ ตามคำของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมที่จะให้เข้าถึงนรกเลย. [๒๐๖๔] ข้าแต่ภิกษุ ถ้อยคำของพระคุณเจ้านี้เป็นคำจริงแท้ทีเดียว ฤาษีกล่าวฉันใด คำนี้ก็เป็นฉันนั้น แต่ว่ากามทั้งหลายของข้าพเจ้ายังมีอยู่มาก กาม เหล่านั้นคนเช่นกับข้าพเจ้าสละได้ยาก. ช้างจมอยู่ท่ามกลางหล่มแล้ว ย่อมไม่อาจจะไปยังที่ควรได้ด้วยตนเอง ฉันใด ข้าพเจ้าจมอยู่ในหล่มคือ กามกิเลส ก็ยังไม่สามารถจะปฏิบัติตามทางของภิกษุได้ ฉันนั้น. ข้าแต่ พระคุณเจ้าผู้เจริญ อนึ่ง บุตรจะพึงมีความสุขได้ด้วยวิธีใด บิดามารดา พร่ำสอนบุตรด้วยวิธีนั้น ฉันใด ข้าพเจ้าละจากโลกนี้ไปแล้ว จะพึง เป็นผู้มีความสุขยืนนานได้ด้วยวิธีใด ขอพระคุณเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพเจ้า ด้วยวิธีนั้นฉันนั้นเถิด. [๒๐๖๕] ดูกรมหาบพิตรผู้เป็นจอมประชาชน ถ้ามหาบพิตรไม่อาจละกามของมนุษย์ เหล่านี้ได้ไซร้ มหาบพิตรจงทรงเริ่มตั้งพลีกรรมอันชอบธรรมเถิด แต่ การกระทำอันไม่เป็นธรรมขออย่าได้มีในรัฐสีมาของมหาบพิตรเลย. ทูต ทั้งหลายจงไปยังทิศทั้ง ๔ นิมนต์สมณพราหมณ์ทั้งหลายมา มหาบพิตร จงทรงบำรุงสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะและ คิลานปัจจัย. มหาบพิตรจงเป็นผู้มีพระกมลจิตอันผ่องใส ทรงอังคาส สมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าว น้ำ ได้ทรงบริจาคทานตาม สติกำลัง และทรงเสวยแล้ว เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ไม่ติเตียน จงเสด็จเข้าถึงสัคคสถานเถิด. ดูกรมหาบพิตร ก็ถ้าความเมาจะพึง ครอบงำมหาบพิตรผู้อันหมู่นางนารีทั้งหลายแวดล้อมอยู่ มหาบพิตรจงทรง มนสิการคาถานี้ แล้วพึงตรัสคาถานี้ในท่ามกลางบริษัทว่า เมื่อชาติก่อนเรา เป็นคนนอนอยู่กลางแจ้ง อันมารดาจัณฑาลี เมื่อจะไปป่าให้ดื่มน้ำนม มาแล้ว นอนคลุกคลีอยู่กับสุนัขทั้งหลายจนเติบโต มาบัดนี้ คนนั้น ใครๆ เขาก็เรียกกันว่าพระราชา.
จบ จิตตสัมภูตชาดกที่ ๒.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๘๐๖๕-๘๑๕๕ หน้าที่ ๓๕๘-๓๖๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=8065&Z=8155&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=27&siri=498              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2054              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [2054-2065] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=27&item=2054&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=41&A=413              The Pali Tipitaka in Roman :- [2054-2065] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=27&item=2054&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=41&A=413              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja498/en/rouse

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :