ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท ทัณฑวรรคที่ ๑๐
[๒๐] ภิกษุทำตนให้เป็นอุปมาว่า สัตว์ทั้งปวงย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย แล้วไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึง ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ภิกษุทำตนให้เป็นอุปมาว่า สัตว์ทั้งปวงย่อม สะดุ้งต่ออาชญา ชีวิตเป็นที่รักของสัตว์ทั้งปวง แล้วไม่พึง ฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อตน ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุขด้วยอาชญา ผู้นั้น ย่อมไม่ได้ความสุขในโลกหน้า ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อ ตน ย่อมไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุข ด้วย อาชญา ผู้นั้นย่อมได้ความสุขในโลกหน้า ท่านอย่าได้ กล่าวคำหยาบกะใครๆ ผู้ที่ท่านกล่าวแล้วพึงกล่าวตอบท่าน เพราะว่าถ้อยคำแข็งดีให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบพึงถูกต้องท่าน ถ้าท่านไม่ยังตนให้หวั่นไหวดุจกังสดาลถูกขจัดแล้ว ท่านนี้ จะเป็นผู้ถึงนิพพาน ความแข็งดีย่อมไม่มีแก่ท่าน นายโคบาล ย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากิน ด้วยท่อนไม้ฉันใด ความแก่ และความตายย่อมต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น คน พาลผู้ไร้ปัญญาทำกรรมอันลามกอยู่ ย่อมไม่รู้สึก ภายหลัง ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนเอง เหมือนบุคคลถูกไฟ ไหม้ ฉะนั้น ผู้ใดย่อมประทุษร้ายในพระขีณาสพผู้ไม่มี อาชญา ผู้ไม่ประทุษร้าย ด้วยอาชญา ผู้นั้นย่อมเข้าถึงเหตุ แห่งทุกข์ ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว คือ เวทนาหยาบช้า ความเสื่อมทรัพย์ ความแตกแห่งสรีระ อาพาธหนัก ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความขัดข้องแต่พระราชา การกล่าวตู่อันร้ายแรง ความสิ้นญาติ ความย่อยยับแห่งโภคะ ทั้งหลาย หรือไฟย่อมไหม้เรือนของเขา เมื่อตายไป เขาผู้ ไร้ปัญญาย่อมเข้าถึงนรก ความประพฤติเปลือย การทรงชฎา การนอนที่เปือกตม การไม่กินข้าว หรือการนอนเหนือแผ่น ดิน ความคลุกคลีด้วยธุลี ความเพียรอันปรารภด้วยความเป็น คนกระโหย่ง ยังสัตว์มีความสงสัยอันข้ามไม่ได้แล้วให้หมด จดไม่ได้ ถ้าแม้บุคคลผู้ประดับแล้ว เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงแล้ว เป็นผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ วางอาชญาใน สัตว์ทุกจำพวก แล้วพึงประพฤติสม่ำเสมอไซร้ บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นสมณะ บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นภิกษุ บุรุษผู้เกียดกันอกุศลวิตกด้วยหิริ มีอยู่ใน โลกน้อยคน บุรุษผู้บรรเทาความหลับตื่นอยู่ ดุจม้าที่เจริญ หลบแส้ หาได้ยาก ม้าที่เจริญถูกนายสารถีเฆี่ยนด้วยแส้ ย่อมทำความเพียร ฉันใด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความเพียร มีความสังเวช ฉันนั้นเถิด เธอทั้งหลายเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล วิริยะ สมาธิ และการวินิจฉัยธรรม เป็นผู้มี วิชชาและจรณะอันสมบูรณ์ เป็นผู้มีสติ จักละทุกข์มีประมาณ ไม่น้อยนี้เสียได้ ก็พวกใช้น้ำย่อมไขน้ำไป พวกช่างศรย่อม ดัดลูกศร พวกช่างถากย่อมถากไม้ ผู้มีวัตรอันงามย่อม ฝึกตน ฯ
จบทัณฑวรรคที่ ๑๐

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๑๘-๖๖๑ หน้าที่ ๒๗-๒๙. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=618&Z=661&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=19              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=20              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [20] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=20&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=22&A=882              The Pali Tipitaka in Roman :- [20] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=20&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=22&A=882              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i020-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i020-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.10.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.10.budd.html https://suttacentral.net/dhp129-145/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp129-145/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp129-145/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :