ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
นิสสายวรรคที่ ๑
๑. กิมัตถิยสูตร
[๒๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็น กุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความไม่เดือดร้อนมีอะไรเป็นผล มีอะไร เป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ก็ความไม่เดือดร้อนมีความปราโมทย์เป็นผล มีความ ปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น อานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น อานิสงส์ พ. ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณ- *ทัสนะเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไร เป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็น อานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทามีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น อานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสนะ เป็นอานิสงส์ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือด ร้อนเป็นอานิสงส์ ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์ เป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็น อานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ นิพพิทามี วิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติ- *ญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้แล ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม ยังความเป็นพระอรหันต์ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
เจตนาสูตร
[๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลไม่ต้องทำด้วย เจตนาว่า ขอความไม่เดือดร้อนจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ความ ไม่เดือดร้อนเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อน ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอความปราโมทย์ จงเกิดขึ้นแก่เราเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ความปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ไม่มีความเดือดร้อนนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความปราโมทย์ ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติ เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบเถิด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กายของบุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีกายสงบแล้ว ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงเสวย สุขเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีกายสงบแล้วเสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีสุข ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอจิตของเราจงตั้งมั่น เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของบุคคลผู้มีสุขตั้งมั่นนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงรู้จงเห็นตามเป็น จริงเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วรู้เห็นตามเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริง ไม่ต้องทำด้วยเจตนา ว่า ขอเราจงเบื่อหน่ายเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริง เบื่อหน่ายนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เบื่อหน่าย ไม่ต้องทำด้วย เจตนาว่า ขอเราจงคลายกำหนัดเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้เบื่อหน่าย คลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตคลายกำหนัดแล้ว ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสนะเถิด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลคลายกำหนัดแล้วทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสนะนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสนะเป็น อานิสงส์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสนะ มีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็น อานิสงส์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีความ ไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อการถึงฝั่ง (คือนิพพาน) จากสถานอัน มิใช่ฝั่ง (คือสังสารวัฏ) ด้วยประการฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
อุปนิสาสูตรที่ ๑
[๒๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีล วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มี อวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อความปราโมทย์ไม่มี ปีติชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มีความปราโมทย์วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มีปีติวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปัสสัทธิ วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสุขวิบัติขจัด เสียแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มี สัมมาสมาธิวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาไม่มี วิราคะชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะ ของต้นไม้นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอัน บุคคลผู้มีวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุอัน บุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อม เป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อความปราโมทย์มีอยู่ ปีติของ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความปราโมทย์ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปีติมีอยู่ ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิ มีอยู่ สุขของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ สุขมีอยู่ สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาของบุคคลผู้ สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทามีอยู่ วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทา ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิราคะ มีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุ สมบูรณ์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะ ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ ด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ของ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติ- *ญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้น เหมือนกัน ฯ
จบสูตรที่ ๓
อุปนิสาสูตรที่ ๒
[๒๑๑] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มี อวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว ... เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้ กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้น ไม้นั้น ก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉันใด ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อ ว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อม เป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิปฏิสารมีอยู่ ... เมื่อวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณ- *ทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้ กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้ นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติญาณ- *ทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้น เหมือนกัน ฯ
จบสูตรที่ ๔
อุปนิสาสูตรที่ ๓
[๒๑๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปฏิสารวิบัติขจัด เสียแล้ว ... เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะ วิบัติขจัดเสียแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้ กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของ ต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉันใด ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามี เหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามี เหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ของบุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ... เมื่อวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้ กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้ นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติญาณ- *ทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้น เหมือนกัน ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๗๕๒๑-๗๖๙๐ หน้าที่ ๓๒๘-๓๓๕. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=7521&Z=7690&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=24&siri=197              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=208              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [208-212] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=208&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8555              The Pali Tipitaka in Roman :- [208-212] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=208&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8555              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i208-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an11/an11.001.than.html https://suttacentral.net/an11.1/en/sujato https://suttacentral.net/an11.1/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :