ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อยสูตร
[๕๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ศีลวิบัติ ๑ จิตตวิบัติ ๑ ทิฐิวิบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ศีลวิบัติเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลวิบัติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จิตตวิบัติเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนมักโลภ มีจิตพยาบาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า จิตตวิบัติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฐิ- *วิบัติเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรม ที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ พวกที่ผุดเกิดไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้า ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทิฐิวิบัติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะศีลวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าเพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าเพราะทิฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ อย่าง นี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือศีลสัมปทา ๑ จิตตสัมปทา ๑ ทิฏฐิสัมปทา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ศีลสัมปทาเป็นไฉน บุคคล บางคนในโลกนี้ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากลักการทรัพย์ เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจาก คำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลสัมปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จิตตสัมปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ มักโลภ ไม่มีจิตพยาบาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า จิตตสัมปทา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ทิฐิสัมปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสัมมาทิฐิ มีความเห็น ไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบาก ของกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์พวกที่ ผุดเกิดขึ้นมี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้ง ชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทิฐิสัมปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะศีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หรือว่าเพราะจิตตสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หรือว่าเพราะ ทิฐิสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ อย่างนี้แล ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๗๐๕๐-๗๐๘๓ หน้าที่ ๓๐๒-๓๐๓. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=7050&Z=7083&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=20&siri=162              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=557              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [557] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=557&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6079              The Pali Tipitaka in Roman :- [557] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=20&item=557&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6079              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i553-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an3.117/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :