ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อวกุชชิตาสูตร
[๔๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลมีปัญญาคว่ำ ๑ บุคคลมีปัญญาเช่นกับตัก ๑ บุคคลมีปัญญากว้างขวาง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่มีปัญญาคว่ำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ ภิกษุย่อม แสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา เขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไม่ได้ ถึงลุกจากอาสนะแล้ว ก็จำ เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนหม้อคว่ำ ถึงจะเอา น้ำรดลงที่หม้อนั้น ย่อมราดไป หาขังอยู่ไม่ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ ภิกษุย่อม แสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา เขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไม่ได้ แม้ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็จำ เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไว้ไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคล มีปัญญาคว่ำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีปัญญา เหมือนตักเป็นไฉน บุคคล บางคนในโลกนี้ หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ ภิกษุย่อมแสดง ธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา เขานั่งบนอาสนะนั้น จำ เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นได้ ครั้นลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบนตักของบุรุษมีของเคี้ยวนานา ชนิด คือ งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทรา เกลื่อนกลาด เขาลุกจากอาสนะนั้น พึง ทำเรี่ยราด เพราะเผลอสติ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้อง ต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา เขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ของกถานั้นได้ ครั้นลุกจากอาสนะนั้นแล้ว จำเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุดของกถานั้นไว้ ไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลมีปัญญาเหมือนตัก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีปัญญากว้างขวางเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ หมั่นไปวัดเพื่อฟัง ธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา เขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของ กถานั้นได้ แม้ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถา นั้นได้ เปรียบเหมือนหม้อหงาย เอาน้ำเทใส่ไปในหม้อนั้น ย่อมขังอยู่หาไหล ไปไม่ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน หมั่นไปวัดเพื่อฟัง ธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา เขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของ กถานั้นได้ ถึงลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุดของกถานั้นได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลมีปัญญากว้างขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ บุรุษมีปัญญาคว่ำ เป็นคนเขลา ไร้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา บุรุษเช่นนั้น แม้หากจะหมั่นไปในสำนักของภิกษุเสมอ ก็ไม่ อาจจะเล่าเรียนเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของกถาได้ เพราะ เขาไม่มีปัญญา บุรุษมีปัญญาเหมือนตัก เรากล่าวว่าดีกว่าบุรุษ ที่มีปัญญาคว่ำ บุรุษเช่นนั้นถึงแม้จะไปในสำนักของภิกษุ เสมอ นั่งบนอาสนะนั้น เรียนเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ของกถาได้ ครั้นลุกมาแล้ว กำหนดจดจำพยัญชนะไม่ได้ เพราะพยัญชนะที่เขาเรียนแล้วเลอะเลือนไป ส่วนบุรุษผู้มี ปัญญากว้างขวาง เรากล่าวว่าดีกว่าบุรุษที่มีปัญญาเหมือนตัก บุรุษเช่นนั้น แม้ไปในสำนักของภิกษุเสมอ นั่งบนอาสนะนั้น เล่าเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของกถาได้ แล้วจำ พยัญชนะไว้ เป็นคนมีความดำริประเสริฐสุด มีใจไม่สงสัย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบปุคคลวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สวิฏฐสูตร ๒. คิลานสูตร ๓. สังขารสูตร ๔. พหุการสูตร ๕. วชิรสูตร ๖. เสวิสูตร ๗. ชิคุจฉสูตร ๘. คูถภาณีสูตร ๙. อันธสูตร ๑๐. อวกุชชิตาสูตร
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๔๐๖-๓๔๖๗ หน้าที่ ๑๔๗-๑๔๙. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=3406&Z=3467&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=20&siri=74              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=469              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [469] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=469&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2434              The Pali Tipitaka in Roman :- [469] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=20&item=469&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2434              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i460-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an3.30/en/sujato https://suttacentral.net/an3.30/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :