ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
โพชฌงคสูตร
ว่าด้วยโพชฌงค์
[๑๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. [๑๓๐๘] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย อานาปานสติ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธรรมวิจยสัม- *โพชฌงค์ ... วิริยสัมโพชฌงค์ ... ปีติสัมโพชฌงค์ ... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... สมาธิสัมโพชฌงค์ ... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม ไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
จบ สูตรที่ ๒
สุทธิกสูตร
วิธีเจริญอานาปานสติ
[๑๓๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. [๑๓๑๐] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึง ขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์ มาก.
จบ สูตรที่ ๓
ผลสูตรที่ ๑
ผลานิสงส์เจริญอานาปานสติ ๒ ประการ
[๑๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. [๑๓๑๒] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึง ขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหาย ใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้ง- *หลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์ มาก. [๑๓๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ พึงหวังได้ผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความ ถือมั่นอยู่ เป็นพระอนาคามี.
จบ สูตรที่ ๔
ผลสูตรที่ ๒
ผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ ๗ ประการ
[๑๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. [๑๓๑๕] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้ง กายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้ พิสดารตลอดถึง ย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อม สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปาน- *สติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. [๑๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้วอย่างนี้ พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน? คือ จะได้ชม อรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑ ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมในเวลาใกล้ตาย ๑ ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑ ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๗๖๒๐-๗๖๗๖ หน้าที่ ๓๑๙-๓๒๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=7620&Z=7676&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=300              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1307              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1307-1316] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=1307&items=10              The Pali Tipitaka in Roman :- [1307-1316] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=1307&items=10              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn54.2/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :