ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ผลสูตรที่ ๑
เจริญอิทธิบาทหวังผลได้ ๒ อย่าง
[๑๒๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ... วิริยสมาธิ ... จิตต- *สมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล. [๑๒๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ แล ภิกษุพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความ ถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.
จบ สูตรที่ ๔
ผลสูตรที่ ๒
ว่าด้วยผลานิสงส์ ๗
[๑๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ... วิริยสมาธิ ... จิตต- *สมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล. [๑๒๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ แล ภิกษุพึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการ เป็นไฉน? คือ จะได้ชม อรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑ ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑ ถ้าใน ปัจจุบันไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑ ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้ สสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำ ให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล ภิกษุพึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๕
อานันทสูตรที่ ๑
ว่าด้วยปฏิปทาที่จะถึงอิทธิบาท
[๑๒๒๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้ มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิเป็นไฉน อิทธิบาทเป็นไฉน อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน? [๑๒๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดง ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจ ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่าอิทธิ. [๑๒๒๓] ก็อิทธิบาทเป็นไฉน? มรรคอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อมเป็นไปเพื่อได้ ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท. [๑๒๒๔] ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อัน ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ... ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตต- *สมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าอิทธิบาทภาวนา. [๑๒๒๕] ปฏิปทาที่จะถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน? อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา.
จบ สูตรที่ ๖
อานันทสูตรที่ ๒
ว่าด้วยอิทธิฤทธิ์
[๑๒๒๖] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรอานนท์ อิทธิเป็นไฉน อิทธิบาทเป็นไฉน อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ปฏิปทาที่จะให้ถึง อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน? ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้า พระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ [๑๒๒๗] พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลก ก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ. [๑๒๒๘] ก็อิทธิบาทเป็นไฉน? มรรคาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อมเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท. [๑๒๒๙] ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตต- *สมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าอิทธิบาทภาวนา. [๑๒๓๐] ก็ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน? อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา.
จบ สูตรที่ ๗
ภิกขุสูตรที่ ๑
ว่าด้วยอิทธิฤทธิ์
[๑๒๓๑] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้ มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ อิทธิเป็นไฉน อิทธิบาทเป็นไฉน อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาท ภาวนาเป็นไฉน? [๑๒๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้ อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่าอิทธิ. [๑๒๓๓] ก็อิทธิบาทเป็นไฉน? มรรคาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อมเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท. [๑๒๓๔] ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าอิทธิบาทภาวนา. [๑๒๓๕] ก็ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน? อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา.
จบ สูตรที่ ๘
ภิกขุสูตรที่ ๒
ว่าด้วยอิทธิฤทธิ์
[๑๒๓๖] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ พระผู้มี พระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิเป็นไฉน อิทธิบาทเป็นไฉน อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ [๑๒๓๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อิทธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดง ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจ ทางกายไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ. [๑๒๓๘] ก็อิทธิบาทเป็นไฉน? มรรคาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อมเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท. [๑๒๓๙] ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา. [๑๒๔๐] ก็ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน? อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา.
จบ สูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๗๐๗๕-๗๑๖๔ หน้าที่ ๒๙๔-๒๙๘. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=7075&Z=7164&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=278              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1217              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1217-1240] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=1217&items=24              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7424              The Pali Tipitaka in Roman :- [1217-1240] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=1217&items=24              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7424              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn51.25/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :