ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สติสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าผู้มีสติ
[๘๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้ เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็น จิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ. [๘๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ วิตกอันภิกษุทราบชัดแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัด แล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ปัญญาอันภิกษุทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ มีสัมปชัญญะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ อยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๕
อัญญสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ หวังผลได้ ๒ อย่าง
[๘๐๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ ความที่ได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พึงหวังผลได้ ๒ ประการ อย่างใด อย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.
จบ สูตรที่ ๖
ฉันทสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่าทำให้แจ้งอมตะ
[๘๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ย่อมละความ พอใจในกายนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่าทำให้แจ้งซึ่งอมตะ. [๘๐๗] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมละความพอใจ ในเวทนานั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ. [๘๐๘] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมละความพอใจในจิตนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ. [๘๐๙] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อมละความพอใจ ในธรรมนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.
จบ สูตรที่ ๗
ปริญญาสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าทำให้แจ้งอมตะ
[๘๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ย่อมกำหนดรู้ กายได้ เพราะกำหนดรู้กายได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ. [๘๑๑] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมกำหนดรู้เวทนา ได้ เพราะกำหนดรู้เวทนาได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ. [๘๑๒] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมกำหนดรู้จิตได้ เพราะ กำหนดรู้จิตได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ. [๘๑๓] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อมกำหนดรู้ธรรม ได้ เพราะกำหนดรู้ธรรมได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.
จบ สูตรที่ ๘
ภาวนาสูตร
การเจริญสติปัฏฐาน ๔
[๘๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟัง การเจริญสติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย พิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือการเจริญ สติปัฏฐาน ๔.
จบ สูตรที่ ๙
วิภังคสูตร
ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน
[๘๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐาน และปฏิปทา อันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็สติปัฏฐานเป็นไฉน? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน. [๘๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การเจริญสติปัฏฐานเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกาย พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมใน กาย พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ในเวทนา ... พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิต ... พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิด ขึ้นในธรรม พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในธรรม พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน โลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการเจริญสติปัฏฐาน. [๘๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐานเป็นไฉน? อริย- *มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ... สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่า ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญ สติปัฏฐาน.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อนนุสสุตวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อนนุสสุตสูตร ๒. วิราคสูตร ๓. วิรัทธสูตร ๔. ภาวนาสูตร ๕. สติสูตร ๖. อัญญสูตร ๗. ฉันทสูตร ๘. ปริญญาสูตร ๙. ภาวนาสูตร ๑๐. วิภังคสูตร
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๗๗๘-๔๘๗๓ หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๒. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=4778&Z=4873&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=165              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=803              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [803-817] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=803&items=15              The Pali Tipitaka in Roman :- [803-817] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=803&items=15              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn47/sn47.035.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/maha/sn47-035.html https://suttacentral.net/sn47.35/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.35/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :