ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ปัญญวาสูตร
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนมีปัญญา
[๕๑๐] สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้? [๕๑๑] พ. ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.
จบ สูตรที่ ๕
ทฬิททสูตร
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนจน
[๕๑๒] สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนจน คนจน ดังนี้ ด้วย เหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า คนจน? [๕๑๓] พ. ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนจน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่เรียกว่า คนจน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่ กระทำให้มากแล้ว.
จบ สูตรที่ ๖
อทฬิททสูตร
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนไม่จน
[๕๑๔] สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนไม่จน คนไม่จน ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า คนไม่จน? [๕๑๕] พ. ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนไม่จน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนไม่จน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว.
จบ สูตรที่ ๗
อาทิจจสูตร
ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นเบื้องต้นแห่งโพชฌงค์
[๕๑๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่เป็นนิมิตมา ก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่ง โพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุ ผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗. [๕๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อม เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘
อังคสูตรที่ ๑
โยนิโสมนสิการเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์
[๕๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายในให้เป็นเหตุแล้ว เรายังไม่เล็งเห็นเหตุอื่น แม้อันหนึ่งเพื่อความบังเกิดแห่งโพชฌงค์ ๗ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗. [๕๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อม ด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๙
อังคสูตรที่ ๒
ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์
[๕๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายนอกให้เป็นเหตุแล้ว เรายังไม่เล็งเห็นเหตุอื่น แม้อันหนึ่ง เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗. [๕๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้ มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ จักกวัตติวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วิธาสูตร ๒. จักกวัตติสูตร ๓. มารสูตร ๔. ทุปปัญญสูตร ๕. ปัญญวาสูตร ๖. ทฬิททสูตร ๗. อทฬิททสูตร ๘. อาทิจจสูตร ๙. อังคสูตรที่ ๑ ๑๐. อังคสูตรที่ ๒
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๓๐๑๒-๓๐๘๑ หน้าที่ ๑๒๗-๑๓๐. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=3012&Z=3081&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=117              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=510              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [510-521] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=510&items=12              The Pali Tipitaka in Roman :- [510-521] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=510&items=12              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn46.45/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.45/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :