ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๑
[๒๕๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มี ความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใด แล ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง จักษุไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น จักษุวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัสไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม- *สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัยนั้นเสีย หูไม่เที่ยง ... จมูกไม่เที่ยง... ลิ้นไม่เที่ยง... กายไม่เที่ยง... ใจ ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในใจนั้น ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอพึงละความ พอใจในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในมโน- *วิญญาณนั้น มโนสัมผัสไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในมโนสัมผัสนั้น แม้สุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอ พึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๗
มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๒
[๒๕๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มี ความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์ จักษุแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละความ พอใจในรูปนั้น จักษุวิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัสเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสนั้นเสีย หูเป็นทุกข์... จมูกเป็นทุกข์... ลิ้นเป็นทุกข์... กาย เป็นทุกข์... ใจเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในใจนั้น ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละความ พอใจในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในมโน- *สัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๘
มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๓
[๒๕๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มี ความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโกฏฐิกะ ก็ สิ่งใดแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูกรโกฏฐิกะ จักษุแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปเป็น อนัตตา เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละความ พอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุ สัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ สัมผัสเป็นปัจจัยเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย หูเป็นอนัตตา... จมูกเป็นอนัตตา... ลิ้นเป็นอนัตตา... กายเป็นอนัตตา... ใจเป็นอนัตตา เธอพึง ละความพอใจในใจนั้น ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในธรรมา- *รมณ์นั้น มโนวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในมโนสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นอนัตตา เธอพึง ละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๓๗๗๘-๓๘๔๑ หน้าที่ ๑๖๓-๑๖๖. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=3778&Z=3841&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=140              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=251              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [251-253] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=251&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1216              The Pali Tipitaka in Roman :- [251-253] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=251&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1216              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i245-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/sn35.162/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :