ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๘. โกฏฐิตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความหมายของอวิชชาและวิชชา
[๓๒๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่าอิสิปตน- *มฤทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น ได้เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะถึงที่อยู่ ฯลฯ แล้วได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะว่า ดูกรท่าน โกฏฐิตะ ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบ ด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงไร? ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร ... แห่งวิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็น ผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล. [๓๒๙] เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ถามว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัด ออกแห่งรูป ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็น ผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๘.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๙๒๓-๓๙๔๑ หน้าที่ ๑๖๙. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=3923&Z=3941&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=17&siri=133              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=328              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [328-329] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=17&item=328&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- [328-329] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=17&item=328&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i320-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/sn22.133/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :