ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๖. ปริมุจจิตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ เพื่อความหลุดพ้น
[๓๐๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลายย่อมพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่า นั่นไม่ของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของ เราดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๖.
๗. ปริมุจจิตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ เพื่อความหลุดพ้น
[๓๐๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้หรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า. พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๗.
๘. สังโยชนสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์
[๓๐๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เป็นไฉน สังโยชน์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งสังโยชน์. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า สังโยชน์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ นี้เรียกว่า สังโยชน์.
จบ สูตรที่ ๘.
๙. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน
[๓๐๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งอุปาทาน. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า อุปาทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน.
จบ สูตรที่ ๙.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๖๘๕-๓๗๒๐ หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๐. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=3685&Z=3720&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=17&siri=118              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=306              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [306-309] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=17&item=306&items=4              The Pali Tipitaka in Roman :- [306-309] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=17&item=306&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i300-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn22.118/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :