ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐
[๓๙๐] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับในเวลาเที่ยงวัน ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งว่า เชิญเถอะมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนหนอ ในเวลาเที่ยงวัน ฯ พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบดีผู้เป็น เศรษฐีในพระนครสาวัตถีนี้ กระทำกาลกิริยาแล้ว หม่อมฉันให้ขนทรัพย์สมบัติ อันไม่มีบุตรรับมรดกนั้น มาไว้ในพระราชวังแล้วก็มา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เฉพาะเงินเท่านั้นมี ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องรูปิยะไม่ต้องพูดถึง ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ก็คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้บริโภคอาหารเห็นปานนี้ คือบริโภคปลาย ข้าวกับน้ำส้มพอูม ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเห็นปานนี้ คือนุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัด เป็นสามชิ้นเย็บติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเห็นปานนี้ คือใช้รถเก่าๆ กั้นร่มทำด้วย ใบไม้ ฯ [๓๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูกรมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูกรมหาบพิตร เรื่องเคยมีมาแล้ว คฤหบดี ผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้สั่งให้จัดบิณฑบาตถวายพระปัจเจกสัมพุทธะ นามว่า ตครสิขี ว่าท่านทั้งหลาย จงถวายบิณฑะแก่สมณะแล้วลุกจากอาสนะเดินหลีกไป แต่ครั้น ถวายแล้ว ภายหลังได้มีวิปฏิสารว่า บิณฑบาตนี้ ทาสหรือกรรมกรพึงบริโภคยัง ดีกว่า นอกจากนี้เขายังปลงชีวิตบุตรน้อยคนเดียวของพี่ชาย เพราะเหตุทรัพย์ สมบัติอีก ดูกรมหาบพิตร การที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น สั่งให้จัดบิณฑบาต ถวายพระตครสิขีปัจเจกสัมพุทธะ ด้วยวิบากของกรรมนั้น เขาจึงเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ๗ ครั้ง ด้วยวิบากอันเป็นส่วนเหลือของกรรมนั้นเหมือนกัน ได้ครอง ความเป็นเศรษฐีในพระนครสาวัตถีนี้แหละถึง ๗ ครั้ง ฯ ดูกรมหาบพิตร การที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นถวายแล้วภายหลังได้มี วิปฏิสารว่า บิณฑบาตนี้ทาสหรือกรรมกรพึงบริโภคยังดีกว่า ด้วยวิบากของกรรม นั้น จิตของเขาจึงไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอันโอฬาร จิตของเขาจึงไม่น้อมไป เพื่อใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มอันโอฬาร จิตของเขาจึงไม่น้อมไปเพื่อใช้ยานพาหนะอัน โอฬาร จิตของเขาจึงไม่น้อมไปเพื่อบริโภคเบญจกามคุณอันโอฬาร ฯ ดูกรมหาบพิตร ก็แหละการที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ปลงชีวิตบุตรน้อย คนเดียวของพี่ชาย เพราะเหตุทรัพย์สมบัติ ด้วยวิบากของกรรมนั้น เขาจึงถูกไฟ เผาอยู่ในนรกหลายปี หลายพันปี หลายแสนปี ด้วยวิบากอันเป็นส่วนเหลือของ กรรมนั้นเหมือนกัน ทรัพย์สมบัติอันไม่มีบุตรรับมรดกของเขานี้ จึงถูกขนเข้า พระคลังหลวงเป็นครั้งที่ ๗ ฯ ดูกรมหาบพิตร ก็บุญเก่าของคฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นหมดสิ้นแล้ว และ บุญใหม่ก็ไม่ได้สะสมไว้ ฯ ดูกรมหาบพิตร ก็ในวันนี้ คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐี ถูกไฟเผาอยู่ใน มหาโรรุวนรก ฯ พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบดีผู้เป็น เศรษฐี เข้าถึงมหาโรรุวนรกอย่างนั้นหรือ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่างนั้นมหาบพิตร คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐี เข้า ถึงมหาโรรุวนรกแล้ว ฯ [๓๙๒] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทอง หรือข้าวของ ที่หวงแหนอย่าง ใดอย่างหนึ่งมีอยู่ ทาส กรรมกร คนใช้ และผู้อาศัยของ เขา พึงพาเอาไปไม่ได้ทั้งหมด จะต้องถึงซึ่งการละทิ้งไว้ ทั้งหมด ฯ ก็บุคคลทำกรรมใด ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ กรรม นั้นแหละ เป็นของๆ เขา และเขาย่อมพาเอากรรมนั้นไป อนึ่งกรรมนั้นย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาติดตามตน ฉะนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี สั่งสมไว้สำหรับภพหน้า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า ฯ
จบ วรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในวรรคที่ ๒ นี้ มี ๑๐ สูตร คือ ชฏิลสูตรที่ ๑ ปัญจ- *ราชสูตรที่ ๒ โทณปากสูตรที่ ๓ สังคามวัตถุสูตร กล่าวไว้ ๒ สูตร เป็นที่ ๔ และที่ ๕ ธีตุสูตรที่ ๖ อัปปมาทสูตร ๒ สูตร เป็นที่ ๗ และที่ ๘ กับอปุตตก- *สูตร กล่าวไว้ ๒ สูตร เป็นที่ ๙ และที่ ๑๐ ครบวรรคพอดี ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๙๒๗-๒๙๘๖ หน้าที่ ๑๒๘-๑๓๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2927&Z=2986&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=15&siri=131              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=390              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [390-392] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=390&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=3985              The Pali Tipitaka in Roman :- [390-392] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=390&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=3985              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i354-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn03/sn03.020.than.html https://suttacentral.net/sn3.20/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :