ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
นานาติตถิยสูตรที่ ๑๐
[๓๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ให้ เหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ณ กาลครั้งหนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงแล้ว พวกเทพบุตรผู้เป็นสาวกเดียรถีย์ต่างๆ เป็นอันมาก คือ อสมเทพบุตร สหลี- *เทพบุตร นิกเทพบุตร อาโกฏกเทพบุตร เวฏัมพรีเทพบุตร มาณวคามิยเทพบุตร มีวรรณงามยิ่ง ยังพระวิหารเวฬุวันทั้งสิ้นสว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๓๑๔] อสมเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ส่วนที่ควรข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าว คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ปรารภถึงท่านปูรณะกัสสปว่า ครูปูรณะกัสสป เพียงแต่มองไม่เห็นบาปหรือบุญของตน ในเพราะเหตุที่สัตว์ถูกฟัน ถูกฆ่า ถูกโบย ถูกข่มเหง ใน โลกนี้เท่านั้น ท่านบอกให้วางใจเสีย ท่านย่อมควรที่จะยก ย่องว่าเป็นศาสดา ฯ [๓๑๕] สหลีเทพบุตร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ปรารภ ถึงท่านมักขลิโคศาล ต่อไปว่า ครูมักขลิโคศาล สำรวมตนดีแล้ว เพราะรังเกียจบาปด้วยตบะ ละวาจาที่ก่อให้เกิดความทะเลาะกับคนเสีย เป็นผู้สม่ำเสมอ งดเว้นจากสิ่งที่มีโทษ พูดจริง ท่านมักขลิโคศาล จัดว่าเป็นผู้ คงที่ ไม่กระทำบาปโดยแท้ ฯ [๓๑๖] นิกเทพบุตร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ปรารภถึง ท่านนิครนถ์ นาฏบุตรต่อไปว่า ครูนิครนถ์ นาฏบุตร เป็นผู้เกลียดบาป มีปัญญารักษาตัวรอด เห็นภัยในสงสาร เป็นผู้ระมัดระวังทั้ง ๔ ยาม เปิดเผยสิ่งที่ ตนเห็นแล้วและฟังแล้ว น่าจะไม่ใช่ผู้หยาบช้าโดยแท้ ฯ [๓๑๗] อาโกฏกเทพบุตร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ปรารภถึงพวกเดียรถีย์ต่างๆ ต่อไปอีกว่า ท่านปกุธะ กัจจายนะ ท่านนิครนถ์ นาฏบุตร และพวกท่าน มักขลิโคศาล ท่านปูรณะกัสสปเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นศาสดา ของหมู่ บรรลุถึงที่สุดในสมณธรรมแล้ว ท่านเหล่านั้นคง เป็นผู้ไม่ไกลไปจากสัตบุรุษแน่นอน ฯ [๓๑๘] เวฏัมพรีเทพบุตร ได้กล่าวตอบอาโกฏกเทพบุตรด้วยคาถาว่า สุนัขจิ้งจอกสัตว์เลวๆ ใคร่จะตีตนเสมอราชสีห์ แม้จะ ไม่ใช่สัตว์ขี้เรื้อน แต่ก็มีบางคราวที่ทำตนเทียมราชสีห์ ฯ ครูของหมู่บำเพ็ญตัวเป็นคนแนะหนทาง แต่พูดคำเท็จ มี มรรยาทน่ารังเกียจ จะเทียบกับสัตบุรุษไม่ได้ ฯ [๓๑๙] ลำดับนั้น มารผู้ลามกเข้าสิงเวฏัมพรีเทพบุตรแล้วได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า สัตว์เหล่าใด ประกอบแล้ว ในความเกลียดบาปด้วยตบะ รักษาความสงบสงัดอยู่ ติดอยู่ในรูป ปรารถนาเทวโลก สัตว์ เหล่านั้น ย่อมสั่งสอนชอบ เพื่อปรโลกโดยแท้ ฯ [๓๒๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี้เป็นมารตัวร้ายกาจ จึงได้ทรงภาษิตคาถาตอบมารผู้ลามกว่า รูปใดๆ จะอยู่ในโลกนี้หรือโลกหน้า และจะอยู่ในอากาศ มีรัศมีรุ่งเรืองก็ตามที รูปทั้งหมดเหล่านั้น อันมารสรรเสริญ แล้ว วางดักสัตว์ไว้แล้ว เหมือนเขาเอาเหยื่อล่อเพื่อฆ่าปลา ฉะนั้น ฯ [๓๒๑] ลำดับนั้น มาณวคามิยเทพบุตร ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในสำนัก พระผู้มีพระภาค ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคว่า ภูเขาวิปุละ เขากล่าวกันว่า เป็นสูงเยี่ยมกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ใน พระนครราชคฤห์ เสตบรรพตเป็นเลิศกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในป่า หิมวันต์ พระอาทิตย์เป็นเลิศกว่าสิ่งที่ไปในอากาศ มหาสมุทร เป็นเลิศกว่าห้วงน้ำทั้งหลาย พระจันทร์เป็นเลิศกว่าดวงดาว ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าประชุมชน ทั้งโลก พร้อมทั้งเทวโลก ฯ
จบ นานาติตถิยวรรค ที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในนานาติตถิยวรรคที่ ๓ นี้ มี ๑๐ สูตร คือ สิวสูตรที่ ๑ เขมสูตรที่ ๒ เสรีสูตรที่ ๓ ฆฏิการสูตรที่ ๔ ชันตุสูตรที่ ๕ โรหิตัสสสูตรที่ ๖ นันทสูตรที่ ๗ นันทิวิสาลสูตรที่ ๘ สุสิมสูตรที่ ๙ และนานาติตถิยสูตรที่ ๑๐ ฯ
จบ เทวปุตตสังยุตต์
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๐๙๑-๒๑๕๒ หน้าที่ ๙๔-๙๖. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2091&Z=2152&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=15&siri=111              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=313              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [313-321] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=313&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=3144              The Pali Tipitaka in Roman :- [313-321] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=313&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=3144              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i278-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn2.30/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :