ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๑๐. เวขณสสูตร
เรื่องเวขณสปริพาชก
[๓๘๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิก เศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวขณสปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง.
เปรียบเทียบวรรณ ๒ อย่าง
[๓๙๐] เวขณสปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้เปล่งอุทานในสำนักพระผู้ มีพระภาคว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรกัจจานะ ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้เป็นวรรณ อย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ ก็วรรณอย่างยิ่งนั้นเป็นไฉน. เว. ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณนั้น เป็นวรรณอย่างยิ่ง. ภ. ดูกรกัจจานะ วรรณไหนเล่า ที่ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใด ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณ อย่างยิ่ง. [๓๙๑] ดูกรกัจจานะ ท่านกล่าวแต่เพียงว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณ อื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ วาจานั้นของท่านพึงขยายออก อย่างยืดยาว แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นได้. ดูกรกัจจานะ เปรียบเหมือนบุรุษพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรา ปรารถนารักใคร่นางชนปทกัลยาณี ในชนบทนี้. คนทั้งหลายพึงถามเขาอย่างนี้ว่า พ่อ นาง ชนปทกัลยาณีที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้นพ่อรู้จักหรือว่า เป็นนางกษัตริย์ พรามหณี แพศย์ หรือศูทร. เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้. คนทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อ นางชนปทกัลยาณี ที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้น พ่อรู้จักหรือว่า นางมีวรรณอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. เมื่อเขาถูกถาม ดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้. คนทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อนางชนปทกัลยาณีที่พ่อปรารถนา รักใคร่นั้น พ่อรู้จักหรือว่า สูง ต่ำ หรือพอสันทัด ดำ ขาว หรือมีผิวคล้ำ อยู่ในบ้าน นิคม หรือนครโน้น. เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้. คนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาว่า พ่อ ปรารถนารักใคร่หญิงที่พ่อไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นนั้นหรือ. เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึง ตอบว่าถูกแล้ว ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ คำกล่าวของ บุรุษนั้น ถึงความเป็นคำใช้ไม่ได้ มิใช่หรือ? แน่นอน พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของบุรุษนั้น ถึงความเป็นคำใช้ ไม่ได้. ดูกรกัจจานะ ข้อนี้ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นแล กล่าวอยู่แต่ว่า ข้าแต่พระโคดม วรรณใด ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ไม่ชี้วรรณนั้น. ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลแดงย่อมสว่างไสวส่องแสงเรืองอยู่ฉันใด ตัวตน ก็ฉันนั้น เมื่อตายไป ย่อมเป็นของมีวรรณ ไม่มีโรค. [๓๙๒] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แก้วไพฑูรย์อันงามเกิดเอง อย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลแดง ย่อมสว่างไสว ส่องแสงเรืองอยู่ ๑ แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือนมืด ในราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณ ไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน? ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือนมืด ในราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย. [๓๙๓] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แมลงหิ่งห้อยในเดือนมืด ในราตรี ๑ ประทีปน้ำมันในเวลาเดือนมืด ในราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่า และประณีตกว่ากัน? ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ประทีปน้ำมันในเวลาเดือนมืด ในราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย. [๓๙๔] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ประทีปน้ำมันในเวลาเดือนมืด ในราตรี ๑ กองไฟใหญ่ในเวลาเดือนมืด ในราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่า และประณีตกว่ากัน? ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ กองไฟใหญ่ในเวลาเดือนมืด ในราตรี งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย. [๓๙๕] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กองไฟใหญ่ในเวลาเดือนมืด ในราตรี ๑ ดาวพระศุกร์ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ๑ บรรดา วรรณทั้ง ๒ นี้ วรรณไหนจะงามกว่า และประณีตกว่ากัน? ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดาวพระศุกร์ในอากาศอันกระจ่าง ปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย. [๓๙๖] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ดาวพระศุกร์ในอากาศอัน กระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ๑ ดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรง ในอากาศอัน กระจ่างปราศจากเมฆในวันอุโบสถที่ ๑๕ (เพ็ญกลางเดือน) ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณ ไหนจะงามกว่า และประณีตกว่ากัน? ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรง ในอากาศ อันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถที่ ๑๕ (เพ็ญกลางเดือน) นี้งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย. [๓๙๗] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรง ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถที่ ๑๕ (เพ็ญกลางเดือน) ๑ ดวงอาทิตย์ในเวลา เที่ยงตรง ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสรทสมัยเดือนท้ายฤดูฝน ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่า และประณีตกว่ากัน? ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรงในอากาศอัน กระจ่างปราศจากเมฆ ในสรทสมัยเดือนท้ายฤดูฝนนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย. [๓๙๘] ดูกรกัจจานะ เทวดาเหล่าใดย่อมสู้แสงพระจันทร์และแสงพระอาทิตย์ไม่ได้ เทวดาเหล่านั้นมีมากยิ่งกว่าเทวดาพวกที่สู้แสงพระจันทร์และแสงพระอาทิตย์ได้ เรารู้เรื่องเช่นนั้น ดีอยู่ ถึงกระนั้น เราก็ไม่กล่าวว่า วรรณใดไม่มี วรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เมื่อเป็น เช่นนี้ ท่านก็ชื่อว่ากล่าวอยู่ว่า วรรณใดเลวกว่า และเศร้าหมองกว่าแมลงหิ่งห้อย วรรณนั้น เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นเท่านั้น. ดูกรกัจจานะ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. ดูกรกัจจานะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ความสุขโสมนัส อันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น ความสุขโสมนัสนี้ เรากล่าวว่า กามสุข. (สุขเกิด แต่กาม) ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันเรากล่าวกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย กล่าวสุขอันเป็นที่สุด ของกามว่าเลิศกว่ากามสุข ๑- ในความสุขอันเป็นที่สุดของกามนั้น เรากล่าวว่าเป็นเลิศ.
สรรเสริญสุขอันเป็นที่สุดของกาม
[๓๙๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้กราบทูลว่า ข้าแต่- *พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระโคดมผู้เจริญตรัสกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย ตรัสความสุขอันเป็น ที่สุดของกามว่าเลิศกว่ากามสุข ในความสุขอันเป็นที่สุดของกามนั้นตรัสว่าเป็นเลิศนี้ ตรัสดี น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา. ดูกรกัจจานะ ข้อที่ว่ากามก็ดี กามสุขก็ดี สุขอันเป็นที่สุดของกามก็ดี นี้ยากที่ท่าน ผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความประกอบ เนื้อความเป็นประการอื่น มีลัทธิอาจารย์เป็นประการอื่นจะพึงรู้ได้ ดูกรกัจจานะ ภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์มีกรณียะได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ ของตนอันถึงแล้วตามลำดับ มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นแล จะพึงรู้ข้อที่ว่า กาม กามสุข หรือสุขอันเป็นที่สุดของกามนี้ได้. @๑. หมายเอานิพพาน [๔๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกโกรธ ขัดใจ เมื่อจะด่าว่า ติเตียนพระผู้มีพระภาค คิดว่าเราจักให้พระสมณโคดมได้รับความเสียหาย ดังนี้ จึงได้กราบทูลว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น สมณพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น ไม่รู้เงื่อนเบื้องปลาย แต่ปฏิญาณอยู่ว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้ ภาษิตของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงความเป็นคำน่าหัวเราะ ทีเดียว ถึงความเป็นคำต่ำช้าอย่างเดียว ถึงความเป็นคำเปล่า ถึงความเป็นคำเหลวไหลแท้ๆ. [๔๐๑] ดูกรกัจจานะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น เมื่อไม่รู้เงื่อน เบื้องปลาย มาปฏิญาณว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นควรถูกข่มขี่สมกับเหตุ ดูกรกัจจานะ ก็แต่ว่า เงื่อนเบื้องต้นจงงดไว้เถิด เงื่อนเบื้องปลายจงงดไว้เถิด บุรุษผู้รู้ความ ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติตามคำ ที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็รู้จักเอง จักเห็นเอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจาก เครื่องผูก คือ เครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น. ดูกรกัจจานะ เปรียบเหมือนเด็กอ่อนยังนอนหงาย จะพึงถูกเขาผูกไว้ด้วยเครื่องผูกที่ ข้อเท้าทั้งสอง ที่ข้อมือทั้งสอง ที่คอหนึ่ง เป็นห้าแห่ง เครื่องผูกเหล่านั้นจะพึงหลุดไปเพราะ เด็กนั้นถึงความเจริญ เพราะเด็กนั้นถึงความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เขาพึงรู้ว่าเป็นผู้พ้น และเครื่องผูกก็ไม่มี ฉันใด กัจจานะ บุรุษผู้รู้ความก็ฉันนั้นแล เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจักสั่งสอน เราจักแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติได้ตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานนักก็จักรู้เอง จักเห็นเอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก คือ เครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.
เวขณสปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก
[๔๐๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้กราบทูลว่า ข้าแต่- *พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบ เวขณสสูตร ที่ ๑๐.
จบ ปริพาชกวรรค ที่ ๓.
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในวรรคนี้มี ๑๐ สูตร คือ-
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร ๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร ๓. มหาวัจฉโคตตสูตร ๔. ทีฆนขสูตร ๕. มาคัณฑิยสูตร ๖. สันทกสูตร ๗. มหาสกุลุทายิสูตร ๘. สมณมุณฑิกสูตร ๙. จูฬสกุลุทายิสูตร ๑๐. เวขณสสูตร
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๖๔๖๔-๖๕๙๕ หน้าที่ ๒๘๒-๒๘๗. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6464&Z=6595&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=13&siri=30              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=389              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [389-402] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=13&item=389&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=5077              The Pali Tipitaka in Roman :- [389-402] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=13&item=389&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=5077              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i389-e1.php# https://suttacentral.net/mn80/en/sujato https://suttacentral.net/mn80/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :