ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
อชาตสัตตุกุมารวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องอชาตศัตรูกุมาร
[๓๓๙] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตศัตรูกุมารถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ กล่าวกับอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า “พระกุมาร เมื่อก่อนมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืน บัดนี้ มีอายุสั้น การที่พระองค์จะพึงสิ้นพระชนม์เมื่อยังเป็นพระกุมาร เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ถ้าเช่นนั้น พระองค์จงปลงพระชนม์พระชนกแล้วเป็นพระราชา อาตมาก็จะปลง พระชนม์พระผู้มีพระภาคแล้วเป็นพระพุทธเจ้า” ครั้งนั้น อชาตศัตรูกุมารดำริว่า “พระคุณเจ้าเทวทัตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พระคุณเจ้าเทวทัตจะต้องรู้” วันหนึ่งได้เหน็บกฤชแนบพระเพลา ทรงกลัว หวาดหวั่น สะดุ้ง ตกพระทัย เสด็จเข้าไปในพระราชวังอย่างเร่งร้อนช่วงเวลากลางวัน พวกมหาอมาตย์ที่เฝ้าประตูพระราชวังแลเห็นอชาตศัตรูกุมารมีอาการกลัว หวาด หวั่น สะดุ้ง ตกพระทัยเสด็จเข้าไปในราชวังอย่างเร่งรีบช่วงเวลากลางวันจึงได้จับไว้ มหาอมาตย์เหล่านั้นตรวจพบกฤชเหน็บอยู่ที่พระเพลา จึงทูลถามอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า “พระองค์มีประสงค์จะทำอะไร พระเจ้าข้า” อชาตศัตรูกุมารตรัสตอบว่า “เราประสงค์จะปลงพระชนม์พระชนก” พวกมหาอมาตย์ทูลถามว่า “พระองค์ถูกใครยุยง” อชาตศัตรูกุมารตรัสตอบว่า “พระคุณเจ้าเทวทัต” มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า “ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระ เทวทัต และฆ่าภิกษุทั้งหมด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๘๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะพวก ภิกษุไม่มีความผิดอะไร ควรปลงประชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัตเท่านั้น” มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และไม่ ควรฆ่าพระเทวทัต ทั้งไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชา ให้ทรงทราบ พวกเราจะปฏิบัติตามที่พระราชารับสั่ง” ลำดับนั้น มหาอมาตย์เหล่านั้นคุมอชาตศัตรูกุมารไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ มคธรัฐถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ทรงทราบ พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสถามว่า “ท่านทั้งหลาย พวกมหาอมาตย์ ลงมติกันอย่างไร” พวกมหาอมาตย์กราบทูลว่า “พระเจ้าข้า มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า ‘ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระเทวทัต และฆ่าภิกษุทั้งหมด’ มหาอมาตย์ บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า ‘ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะพวกภิกษุไม่มีความผิดอะไร ควรปลงพระชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัตเท่านั้น’ มหาอมาตย์บางพวกลงมติ อย่างนี้ว่า ‘ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ทั้งไม่ควรฆ่า ภิกษุทั้งหลาย แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พวกเราจะปฏิบัติ ตามที่พระราชารับสั่ง” พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์จะเกี่ยวอะไร พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ลงปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์ แก่พระเทวทัตโดยประกาศว่า ‘เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้ เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่ควรเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่านั่นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต ก่อนแล้วมิใช่หรือ” บรรดาอมาตย์เหล่านั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งให้ถอดยศพวก ที่ลงมติอย่างนี้ว่า “ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระเทวทัต และฆ่าภิกษุทั้งหมด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๘๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ทรงลดตำแหน่งพวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะพวกภิกษุ ไม่มีความผิดอะไร ควรปลงพระชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัตเท่านั้น” ทรงเลื่อน ตำแหน่งพวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ทั้งไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พวก เราจะปฏิบัติตามที่พระราชารับสั่ง” ต่อมา พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งถามอชาตศัตรูกุมารว่า “ลูกต้อง การฆ่าพ่อเพื่ออะไร” อชาตศัตรูกุมารกราบทูลว่า “หม่อมฉันต้องการราชสมบัติ พระเจ้าข้า” พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ถ้าลูกต้องการราชสมบัติ ราชสมบัติ ก็เป็นของลูก” แล้วทรงมอบราชสมบัติแก่อชาตศัตรูกุมาร
อภิมารเปสนะ
ว่าด้วยพระเทวทัตส่งคนไปลอบปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค
[๓๔๐] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปเฝ้าอชาตศัตรูกุมารถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายพระพรอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า “ขอถวายพระพร ขอพระองค์โปรดสั่งใช้ ราชบุรุษปลงพระชนม์พระสมณโคดม” ครั้งนั้น อชาตศัตรูกุมารสั่งราชบุรุษทั้งหลายว่า “พวกท่านจงปฏิบัติตามคำสั่ง ของพระคุณเจ้าเทวทัต” ต่อมา พระเทวทัตสั่งบุรุษคนหนึ่งว่า “พระสมณโคดมประทับอยู่ที่โน้น ท่าน จงไปปลงพระชนม์พระองค์แล้วกลับมาทางนี้” แล้วซุ่มบุรุษไว้ริมทาง ๒ คนด้วยสั่ง ว่า “พวกท่านจงฆ่าคนที่เดินมาทางนี้เพียงลำพัง แล้วมาทางนี้” ซุ่มบุรุษไว้ริมทาง อีก ๔ คนด้วยสั่งว่า “พวกท่านจงฆ่าคน ๒ คนที่เดินมาทางนี้ แล้วมาทางนี้” ซุ่ม บุรุษไว้ริมทางอีก ๘ คนด้วยสั่งว่า “พวกท่านจงฆ่าคน ๔ คนที่เดินมาทางนี้แล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๘๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

มาทางนี้” ซุ่มบุรุษไว้ริมทางอีก ๑๖ คนด้วยสั่งว่า “พวกท่านจงฆ่าคน ๘ คนที่เดิน มาทางนี้ แล้วมาทางนี้” พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถา ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งนั้นถือดาบและโล่ห์สะพายธนู เข้าไปหาพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ยืนกลัว หวาดหวั่น สะดุ้ง ตกใจจนตัวแข็งทื่อไม่ห่างจาก พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งกับบุรุษนั้นผู้ยืนกลัว หวาดหวั่น สะดุ้ง ตกใจ จนตัวแข็งทื่อว่า “มาเถิด ท่านอย่ากลัวเลย” ลำดับนั้น บุรุษนั้นวางดาบและโล่ห์ ปลดธนูวางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วเข้าไป หาพระผู้มีพระภาค แล้วซบศีรษะแทบพระยุคลบาท ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้กระทำความผิด เพราะความโง่เขลา เบาปัญญา ที่มีจิตคิดประทุษร้าย คิดจะปลงพระชนม์ จึงเข้ามาที่นี้ ขอพระองค์โปรด ประทานอภัยโทษแก่ข้าพระพุทธเจ้า เพื่อสำรวมต่อไปเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เอาเถิด การที่ท่านได้ทำความผิดเพราะความโง่เขลา เบาปัญญา ที่มีจิตคิดประทุษร้ายคิดจะปลงพระชนม์จึงเข้ามาที่นี้ เพราะเหตุที่ท่าน เห็นความผิดเป็นความผิดแล้วแก้ไขให้ถูกต้อง ข้อนั้นเรายอมรับ เพราะการที่บุคคล เห็นความผิดเป็นความผิดแล้วแก้ไขให้ถูกต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัย ของพระอริยะ” จากนั้นทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ๑. ทานกถา (เรื่องทาน) ๒. สีลกถา (เรื่องศีล) ๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์) ๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)๑- ๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)แก่บุรุษนั้น @เชิงอรรถ : @ แปลมาจากคำว่า กามานํ อาทีนวํ โอการํ สํกิเลสํ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๘๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

เมื่อทรงทราบว่าบุรุษนั้นมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่บุรุษนั้น ณ ที่นั้นแลว่า “สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็น ธรรมดา” เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี ครั้นบุรุษนั้นได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งลงสู่ ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระ องค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ พระองค์ชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ ต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือ ตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูป พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับบุรุษนั้นดังนี้ว่า “ท่านอย่าไปทางนั้น จงไป ทางนี้” แล้วส่งเขาไปทางอื่น ครั้งนั้น บุรุษอีก ๒ คนนั้นปรึกษากันว่า “ทำไมหนอบุรุษคนหนึ่งนั้นจึงมาช้า” แล้วเดินสวนทางไป ได้พบพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แลัวนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่เขาทั้งสอง ฯลฯ ครั้งนั้น บุรุษ ๒ คนนั้นเห็นธรรมแล้ว ฯลฯ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำของสอนพระ ศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ ไพเราะชัดเจนยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๘๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับบุรุษเหล่านั้นดังนี้ว่า “พวกท่านอย่าไปทางนั้น จงไปทางนี้” แล้วทรงส่งพวกเขาไปทางอื่น ครั้งนั้น บุรุษอีก ๔ คน ฯลฯ ครั้งนั้น บุรุษอีก ๘ คน ฯลฯ ครั้งนั้น บุรุษอีก ๑๖ คนปรึกษากันว่า “ทำไมหนอ บุรุษ ๘ คนนั้นจึงมาช้า” แล้วเดินสวนทางไป ได้พบพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่บุรุษเหล่านั้น คือ ทรงประกาศ ๑. ทานกถา (เรื่องทาน) ๒. สีลกถา (เรื่องศีล) ฯลฯ ครั้งนั้น บุรุษ ๑๖ คนนั้นเห็นธรรมแล้ว ฯลฯ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของ พระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ ไพเราะชัดเจนยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับบุรุษเหล่านั้นดังนี้ว่า “พวกท่านอย่าไปทางนั้น จงไปทางนี้” แล้วทรงส่งพวกเขาไปทางอื่น ต่อมา บุรุษคนหนึ่งนั้นเข้าไปหาพระเทวทัตถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกับพระ เทวทัตดังนี้ว่า “กระผมไม่สามารถปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคได้ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก” พระเทวทัตตอบว่า “อย่าเลยท่าน ท่านอย่าปลงพระชนม์พระสมณโคดมเลย เราจะลงมือปลงพระชนม์พระสมณโคดมเอง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๙๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

โลหิตุปปาทกกัมมะ
ว่าด้วยพระเทวทัตทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต
[๓๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่ร่มเงาภูเขาคิชฌกูฏ ครั้งนั้น พระเทวทัตขึ้นภูเขาคิชฌกูฏกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ ด้วยหมายใจว่า “เราจะปลง พระชนม์พระผู้มีพระภาคด้วยก้อนศิลานี้” ยอดภูเขา ๒ ข้างมาบรรจบกันรับศิลา ก้อนนั้นไว้ สะเก็ดศิลากระเด็นจากก้อนศิลานั้นไปกระทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค จนพระโลหิตห้อ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแหงนพระพักตร์ ได้ตรัสกับพระเทวทัตดังนี้ว่า “โมฆบุรุษ เธอสั่งสมสิ่งที่มิใช่บุญไว้มากที่มีจิตคิดร้าย คิดฆ่า ทำโลหิตของตถาคต ให้ห้อ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ เทวทัตผู้มีจิตคิดร้าย คิดฆ่า ทำโลหิตของตถาคตให้ห้อ นี้เป็นอนันตริยกรรมข้อที่ ๑ ที่เทวทัตสั่งสมไว้” ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า “พระเทวทัตวางแผนปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค” จึงพากันเดินจงกรมอยู่รอบๆ วิหารของพระผู้มีพระภาค กระทำการสาธยายเสียง ดังอึกทึกกึกก้องเพื่ออารักขาป้องกันคุ้มครองพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงสดับเสียงสาธยายเสียงดังอึกทึกกึกก้อง จึงรับสั่งถามท่าน พระอานนท์ว่า “อานนท์ เพราะเหตุไร เสียงสาธยายนั้นจึงดังอึกทึกกึกก้อง” ท่าน พระอานนท์จึงกราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า พระเทวทัต วางแผนปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค จึงพากันเดินจงกรมอยู่รอบๆ วิหารของ พระผู้มีพระภาคกระทำการสาธยายเสียงดังอึกทึกกึกก้องเพื่ออารักขาป้องกันคุ้มครอง พระผู้มีพระภาค เสียงสาธยายนั้นจึงดังอึกทึกกึกก้อง” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปบอกภิกษุเหล่านั้นว่า พระศาสดารับสั่งหาพวกท่าน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๙๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้น แล้วแจ้งให้ทราบว่า “พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่าน พระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่ โอกาส ที่จะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่น พระตถาคตทั้งหลายย่อม ไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น”
เรื่องศาสดา ๕ จำพวก๑-
ภิกษุทั้งหลาย ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ ๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี ศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวก รู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญา ว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้น ยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น” ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้นี้โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ก็หวัง การรักษาโดยศีลจากพวกสาวก ๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่ @เชิงอรรถ : @ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๐๐/๑๗๐-๑๗๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๙๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่ พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน ปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วย กรรมนั้น” ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยอาชีพ ศาสดาเช่นนี้ก็หวัง การรักษาโดยอาชีพจากพวกสาวก ๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มี ธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเรา พึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น” ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยธรรมเทศนา ศาสดา เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยธรรมเทศนาจากพวกสาวก ๔. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เรา เป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้ มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มี เวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอก แก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๙๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น” ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยเวยยากรณะ ศาสดา เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยเวยยากรณะจากพวกสาวก ๕. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” สาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้ เป็นผู้มีญาณสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีญาณ- ทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้น ยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น” ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยญาณทัสสนะ และ ศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะจากพวกสาวก ภิกษุทั้งหลาย ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ภิกษุทั้งหลาย เรามีศีลบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของ เราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็ ไม่หวังการรักษาโดยศีลจากพวกสาวก ภิกษุทั้งหลาย เรามีอาชีพบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ฯลฯ เรา มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวก สาวกย่อมไม่รักษาเราไว้โดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะ จากพวกสาวก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๙๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ที่จะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายาม ของผู้อื่น พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น ภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอจงไปอยู่ตามที่เดิม พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้ที่ไม่ต้องอารักขา”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๘๕-๑๙๕. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=7&siri=50              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=3493&Z=3696                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=366              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=366&items=11              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=366&items=11                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/brahmali#pli-tv-kd17:3.4.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/horner-brahmali#Kd.17.3.4



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :