ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

๒. ทุติยภาณวาร
อนาถปิณฑิกวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องอนาถบิณฑิกคหบดี
[๓๐๔] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี เป็นน้องเขยของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี ได้เดินทางไปกรุงราชคฤห์ด้วยกรณียกิจบางอย่าง เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระผู้มีพระภาคเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศล ในวันพรุ่งนี้ สั่งทาสและกรรมกรว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงตื่นแต่ เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง ช่วยกันจัดเตรียมแกงอ่อม” ขณะนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า “คราวก่อนเมื่อเรามา คหบดี ท่านนี้ทำธุระเสร็จก็สนทนาปราศรัยกับเราผู้เดียว เวลานี้เขามีท่าทีวุ่นวายสั่งทาส และกรรมกรว่า ‘พวกท่านจงตื่นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง ช่วยกันจัด เตรียมแกงอ่อม’ คหบดีนี้น่าจะมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล มหายัญพิธี หรือ จะทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหารในวัน พรุ่งนี้กระมัง” ครั้นเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์สั่งทาสและกรรมกรแล้ว เข้าไปหาอนาถบิณฑิกคหบดี ถึงที่ ครั้นถึงแล้วได้สนทนากับอนาถบิณฑิกคหบดี แล้วนั่ง ณ ที่สมควร อนาถบิณฑิกคหบดีได้กล่าวกับเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ดังนี้ว่า “เมื่อข้าพเจ้ามา คราวก่อน ท่านทำธุระเสร็จก็สนทนาปราศรัยกับข้าพเจ้าผู้เดียว เวลานี้ท่านมีท่าที วุ่นวาย สั่งทาสและกรรมกรว่า ‘พวกท่านจงตื่นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง ช่วยกันจัดเตรียมแกงอ่อม’ ท่านคงจะมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล มหายัญพิธี หรือจะทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหารใน วันพรุ่งนี้กระมัง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๑๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่มีงานอาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล ทั้งไม่ได้ทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐพร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหาร ในวันพรุ่งนี้ ที่จริงข้าพเจ้าจะประกอบมหายัญพิธี คือ นิมนต์พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า เป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้” อนาถบิณฑิกคหบดีถามว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ” เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า” อนาถบิณฑิกคหบดีถามซ้ำว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ” เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า” อนาถบิณฑิกคหบดีถามซ้ำอีกว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ” เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ก็คงตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า” อนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวว่า “แม้เสียงประกาศว่า ‘พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า’ นี้ก็ยากที่จะได้ยินในโลก ท่านคหบดี ข้าพเจ้าสามารถจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในเวลานี้ได้หรือ” เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี เวลานี้ยังไม่ควรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค พรุ่งนี้ท่านจะได้เข้าเฝ้า” หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีนอนนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ว่า “พรุ่ง นี้เราจะได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแต่เช้าตรู่” เล่ากันว่า คหบดีตื่นกลางดึกถึง ๓ ครั้งเพราะเข้าใจว่าสว่างแล้ว [๓๐๕] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเดินไปทางประตูป่าสีตวัน พวกอมนุษย์ เปิดประตูให้ เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเดินออกจากเมืองไปแล้ว แสงสว่างพลัน หายไป ปรากฏความมืดแทน ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยอง เกล้าบังเกิดขึ้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีต้องการจะกลับจากที่นั้น ขณะนั้น สีวกยักษ์หายตัวอยู่ประกาศให้ได้ยินเสียงว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๑๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

“ช้าง ๑ แสนเชือก ม้า ๑ แสนตัว รถม้าอัสดร ๑ แสนคัน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร ๑ แสนคน ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ๑- แห่งการย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง เชิญก้าวไปเถิดคหบดี ท่านก้าวไปดีกว่า อย่าถอยกลับเลย” ทันใดนั้นความมืดพลันหายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าพลันหายไป แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ แสงสว่างพลันหายไป ปรากฏความมืดแทน ความกลัว ความ หวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีต้องการ จะกลับจากที่นั้น แม้ครั้งที่ ๓ สีวกยักษ์ก็หายตัวอยู่แต่ประกาศให้ได้ยินเสียงว่า “ช้าง ๑ แสนเชือก ม้า ๑ แสนตัว รถม้าอัสดร ๑ แสนคัน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร ๑ แสนคน ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง เชิญก้าวไปเถิดคหบดี ท่านก้าวไปดีกว่า อย่าถอยกลับเลย” แม้ครั้งที่ ๓ ความมืดพลันหายไป แสงสว่างปรากฏแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าพลันหายไป ลำดับนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเดินเข้าไปยังป่าสีตวัน เช้ามืดวันนั้น พระผู้มี พระภาคเสด็จลุกขึ้นจงกรมที่กลางแจ้ง ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านอนาถบิณฑิก @เชิงอรรถ : @ เสี้ยวที่ ๑๖ ในที่นี้หมายความว่า เมื่อแบ่งเป็น ๑๖ ส่วนแล้วเอาส่วนหนึ่งใน ๑๖ ส่วนนั้นมาแบ่งเป็นอีก @๑๖ ส่วน แล้วเอาส่วนหนึ่งที่แบ่งเป็น ๑๖ ส่วนครั้งที่ ๒ นั้นมาแบ่งเป็น ๑๖ ส่วนอีกครั้งหนึ่ง ส่วน ๑ @ใน ๑๖ ส่วนที่แบ่งครั้งที่ ๓ นี้จัดเป็นเสี้ยวที่ ๑๖ สัตว์สิ่งของอย่างละ ๑ แสน ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ @แห่งการก้าวเท้าไปก้าวหนึ่งที่แบ่งแล้ว ๑๖ ครั้ง ๑๖ เที่ยว ๑๖ หน เพราะ ท่านอนาถบิณฑิกะก้าวเท้า @ไปถึงพระพุทธเจ้าแล้วจะสำเร็จโสดาปัตติผล จักเอาของหอมพวงมาลากระทำการบูชา จักไหว้พระเจดีย์ @จักฟังธรรม จักนิมนต์พระสงฆ์แล้วถวายทาน จักตั้งมั่นในสรณะและศีล(ตามแนวคำอธิบายแห่ง @สํ.ส.อ. ๑/๒๔๒/๒๙๘, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๐๕/๔๗๔-๔๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๑๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

คหบดีเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้น แล้วได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “มาเถิดสุทัตตะ” ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีรื่นเริงบันเทิงใจว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกชื่อเรา” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคประทับอยู่เป็นสุขดีหรือ พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ผู้ดับกิเลสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ ผู้ไม่ติดอยู่ในกาม เป็นคนเยือกเย็น ไม่มีอุปธิกิเลส ตัดกิเลสเครื่องข้องได้ทุกอย่างแล้ว กำจัดความกระวนกระวายในใจ เข้าถึงความสงบ ย่อมอยู่เป็นสุข๑- ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ๑. ทานกถา (เรื่องทาน) ๒. สีลกถา (เรื่องศีล) ๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์) ๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม) ๕. เนกขัมมานิสังสกถา (อานิสงส์แห่งการออกจากกาม) แก่อนาถ- บิณฑิกคหบดี เมื่อทรงทราบว่าท่านอนาถบิณฑิกคหบดีมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนา๒- ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๕/๑๙๑ @ สามุกกังสิกธรรมเทศนา หมายถึงธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงเห็น @ด้วยสยัมภูญาณ ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น คือมิได้รับการแนะนำจากผู้อื่น ทรงตรัสรู้ลำพังพระองค์เองก่อนใครใน @โลก (วิ.อ. ๓/๒๙๓/๑๘๑, สารตฺถ,ฏีกา ๓/๒๖/๒๓๗, ที.สี.ฏีกา อภินว. ๒/๒๙๘/๓๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๑๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้ เกิดแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ณ อาสนะนั้นแลว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้ แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย ประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้ หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูป พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอ พระผู้มีพระภาคโปรดจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไปจนตลอดชีวิต ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหาร เพื่อเจริญกุศลใน วันพรุ่งนี้ด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วจึง ลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณกลับไป เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้ทราบข่าวว่า “ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นิมนต์พระ สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้” [๓๐๖] ครั้งนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ได้กล่าวกับท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ดังนี้ว่า “คหบดี ทราบว่าท่านนิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญ กุศลในวันพรุ่งนี้ ก็ท่านเป็นอาคันตุกะ ข้าพเจ้าจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของเพื่อจัด ทำภัตตาหาร ถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๑๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “อย่าเลย คหบดี ทรัพย์ที่จะจับจ่ายใช้สอย เพื่อจัดทำภัตตาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานของข้าพเจ้ามีพร้อมแล้ว” ชาวนิคมในกรุงราชคฤห์ ได้ทราบข่าวว่า “ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีนิมนต์พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้” ลำดับนั้น ชาวนิคมในกรุง ราชคฤห์จึงได้กล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ทราบว่า ท่านนิมนต์ พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้ ก็ท่านเป็นอาคันตุกะ ข้าพเจ้าจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของ เพื่อจัดทำภัตตาหารถวายพระสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประธาน” ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “อย่าเลย พ่อเจ้า ทรัพย์ที่จะจับจ่ายใช้สอย เพื่อจัดทำภัตตาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานของข้าพเจ้ามีพร้อมแล้ว” พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐพอได้ทราบข่าวว่า “ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้” ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้กล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ทราบว่า ท่านนิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้ ก็ท่านเป็นอาคันตุกะ ฉันจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของ เพื่อจัดทำภัตตาหารถวาย พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน” ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทูลตอบว่า “อย่าเลย พระเจ้าข้า ทรัพย์ที่จะจับจ่าย ใช้สอย เพื่อจัดทำภัตตาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานของข้าพระองค์ มีพร้อมแล้ว” ครั้นล่วงราตรีนั้นไป ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉัน อันประณีตในนิเวศน์ของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว” ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปนิเวศน์ของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวายพร้อม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๑๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

กับภิกษุสงฆ์ ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีต ประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยตนเอง จนกระทั่งพระผู้มีพระภาค เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ละพระหัตถ์จากบาตร จึงนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคพร้อม กับภิกษุสงฆ์จงทรงรับนิมนต์ไปอยู่จำพรรษา ณ กรุงสาวัตถีของข้าพระพุทธเจ้าเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ตถาคตทั้งหลายย่อมยินดีในสุญญาคาร”๑- ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลว่า “ทราบแล้วพระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเห็นชัด ชวน ให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถา เสด็จลุกจากอาสนะแล้วเสด็จกลับไป
อนาถบิณฑิกะสร้างพระเชตวัน
[๓๐๗] สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเป็นคนมีมิตรมาก มีสหายมาก ประชาชนเชื่อถือคำพูด ครั้นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทำธุระในกรุงราชคฤห์เสร็จแล้ว ก็เดินทางกลับไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทางได้ชักชวนคนทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย จงช่วยกันสร้างอาราม สร้างวิหาร เตรียมทาน เวลานี้พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นใน โลกแล้วและข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล้ว พระองค์จะเสด็จ มาทางนี้” ครั้งนั้น คนทั้งหลายที่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีชักชวนไว้ ได้พากันสร้างอาราม สร้างวิหารเตรียมทาน ครั้นท่านอนาถบิณฑิคหบดีถึงกรุงสาวัตถี เที่ยวตรวจดูรอบๆ กรุงสาวัตถีคิด ว่า “พระผู้มีพระภาคควรประทับที่ไหนดีซึ่งไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไป ไม่ใกล้หมู่บ้าน @เชิงอรรถ : @ สุญญาคาร คือ สถานที่ว่าง โอกาสที่เงียบสงัด สถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน @(วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๑๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

เกินไป การคมนาคมสะดวก ผู้อยากจะเข้าเฝ้าไปมาได้ง่าย กลางวันคนไม่พลุกพล่าน กลางคืนมีเสียงรบกวนน้อย ไม่มีเสียงอึกทึก ไร้ผู้คน เป็นสถานที่พวก มนุษย์จะทำ กิจที่ลับได้ เป็นสถานที่เหมาะแก่การหลีกเร้น” ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นพระอุทยานของเจ้าเชตราชกุมาร เป็นสถานที่ ไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไป ไม่ใกล้หมู่บ้านเกินไป การคมนาคมสะดวก ผู้อยากจะ เข้าเฝ้าไปมาได้ง่าย กลางวันคนไม่พลุกพล่าน กลางคืนมีเสียงรบกวนน้อย ไม่มีเสียง อึกทึก ไร้ผู้คน เป็นสถานที่พวกมนุษย์จะทำกิจที่ลับได้ เป็นสถานที่เหมาะแก่การ หลีกเร้น ครั้นแล้วจึงเข้าเฝ้าเจ้าเชตราชกุมารถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลเจ้าเชต ราชกุมารดังนี้ว่า “พระลูกเจ้า ขอพระองค์ ทรงโปรดประทานพระอุทยานแก่กระหม่อม เพื่อจัดสร้างพระอารามเถิด พระเจ้าข้า” เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า “คหบดี ถึงใช้กหาปณะมาเรียงให้ริมจดกัน เราก็ให้ อุทยานไม่ได้” ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทูลถามว่า “พระลูกเจ้า พระองค์ขายอุทยานแล้วหรือ พระเจ้าข้า” เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า “คหบดี เรายังไม่ได้ขายอุทยาน”๑- เชตราชกุมารกับอนาถบิณฑิกคหบดีถามพวกมหาอมาตย์ผู้พิพากษาว่า “อุทยาน เป็นอันขายแล้ว หรือยังไม่ได้ขาย” พวกมหาอมาตย์ตอบว่า “พระลูกเจ้า เพราะพระองค์ตีราคาแล้ว อุทยานจึง เป็นอันขายแล้ว” จากนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้คนงานนำเกวียนบรรทุกเงินออกมาเรียง ลาดให้ริมจดกันในเชตวัน เงินที่ขนออกมาครั้งเดียวยังไม่เพียงพอแก่พื้นที่อีกหน่อย หนึ่งใกล้ซุ้มประตู ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงสั่งพวกคนงานว่า “พวกท่านจงไปขน เงินมา เราจะเรียงให้เต็มในที่นี้” @เชิงอรรถ : @ คหิโต อยฺยปุตฺต อาราโมติ. น คหปติ คหิโต อาราโมติ. แปลตามตัวอักษรว่า “พระลูกเจ้า ข้าพเจ้ารับ @สวนไปได้หรือ” คหบดี ท่านยังรับสวนไปไม่ได้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๑๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ขณะนั้น เจ้าเชตราชกุมารได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า “การกระทำนี้ไม่ใช่ของต่ำต้อย เพราะคหบดีนี้บริจาคเงินมากมายถึงเพียงนี้” ลำดับนั้น เจ้าเชตราชกุมารได้รับสั่งกับ ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “พอเถอะ ท่านคหบดี ที่ว่างตรงนั้น ท่านอย่าลาด เงินเลย ให้โอกาสแก่เราบ้าง ส่วนนี้ข้าพเจ้าจะขอร่วมถวายด้วย” ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดำริว่า “เจ้าเชตราชกุมารพระองค์นี้ ทรงเรือง พระนาม ประชาชนรู้จัก ความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ของผู้ที่ประชาชนรู้จัก เช่นนี้ มีประโยชน์มาก” จึงได้ถวายที่ว่างนั้นแก่เจ้าเชตราชกุมาร ลำดับนั้น เจ้าเชต ราชกุมาร รับสั่งให้สร้างซุ้มประตูที่ตรงนั้น ต่อมา ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีให้สร้างวิหารหลายหลังไว้ในพระเชตวัน สร้าง บริเวณ สร้างซุ้มประตู สร้างศาลาหอฉัน สร้างโรงไฟ สร้างกัปปิยกุฎี๑- สร้างวัจกุฎี สร้างสถานที่จงกรม สร้างศาลาจงกรม ขุดบ่อน้ำ สร้างศาลาบ่อน้ำ สร้างเรือนไฟ สร้างศาลาเรือนไฟ ขุดสระโบกขรณี สร้างมณฑป
นวกัมมทานะ
ว่าด้วยให้นวกรรม(การก่อสร้าง)
เรื่องช่างชุนผ้า
[๓๐๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงเวสาลี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงเวสาลี ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ในกรุงเวสาลีนั้น @เชิงอรรถ : @ กัปปิยกุฎี คือสถานที่เก็บอาหาร (ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๒๙๕/๑๒๐) พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเพื่อให้ @ภิกษุสงฆ์พ้นจากการเก็บของไว้เองและหุงต้มเอง (วิ.อ. ๓/๒๙๕/๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๑๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๑๑-๑๑๙. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=7&siri=32              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=1950&Z=2140                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=241              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=241&items=18              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=7362              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=241&items=18              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=7362                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/brahmali#pli-tv-kd16:4.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#Kd.16.3.11



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :