ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
๒. ปริวาส
ว่าด้วยการอยู่ชดใช้
อัคฆสโมธานปริวาส
ว่าด้วยปริวาสประมวลค่าแห่งอาบัติ และกรรมวาจา
[๑๓๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ วัน อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๓ วัน อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๔ วัน อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๕ วัน อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๖ วัน อาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๗ วัน อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๘ วัน อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๙ วัน อาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๑๐ วัน ภิกษุนั้นบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน กระผมจะปฏิบัติอย่างไร” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน สงฆ์จงให้อัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัตินั้นแก่ภิกษุนั้น
วิธีให้ปริวาสและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อัคฆสโมธานปริวาสอย่างนี้ คือ ภิกษุนั้นพึงเข้า ไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๓๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ]

๒. ปริวาส

นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส หลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน ท่านผู้เจริญ บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน กระผมนั้นขออัคฆสโมธาน- ปริวาสเพื่ออาบัตินั้นกับสงฆ์” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๑๓๕] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน บรรดา อาบัติเหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน ภิกษุชื่อนี้ขออัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติ นั้นกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน สงฆ์พึงให้อัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัตินั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน บรรดาอาบัติ เหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน ภิกษุชื่อนี้ขออัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัตินั้นกับ สงฆ์ บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน สงฆ์ก็ให้อัคฆสโมธานปริวาส เพื่ออาบัตินั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน ท่านรูปใด เห็นด้วยกับการให้อัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัตินั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วันอัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัตินั้น สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้น เป็นมติอย่างนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๓๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ]

๒. ปริวาส

สัพพจิรปฏิจฉันนอัคฆสโมธาน
ว่าด้วยปริวาสประมวลค่าแห่งอาบัติ
ที่ปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมดเข้าด้วยกัน
[๑๓๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน อาบัติ ๒ ตัวปิดไว้ ๒ วัน อาบัติ ๓ ตัวปิดไว้ ๓ วัน อาบัติ ๔ ตัวปิดไว้ ๔ วัน อาบัติ ๕ ตัวปิดไว้ ๕ วัน อาบัติ ๖ ตัวปิดไว้ ๖ วัน อาบัติ ๗ ตัวปิดไว้ ๗ วัน อาบัติ ๘ ตัวปิดไว้ ๘ วัน อาบัติ ๙ ตัวปิดไว้ ๙ วัน อาบัติ ๑๐ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน ภิกษุนั้นบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑๐ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน กระผมจะปฏิบัติอย่างไร” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติเหล่าใด ปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมด สงฆ์จงให้อัคฆสโมธานปริวาสเพื่อ อาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุนั้น
วิธีให้ปริวาสและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อัคฆสโมธานปริวาสอย่างนี้ คือ ภิกษุนั้นพึงเข้า ไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ฯลฯ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑๐ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน ท่านผู้เจริญ บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นาน กว่าอาบัติทั้งหมด กระผมนั้นขออัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๓๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ]

๒. ปริวาส

ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๑๓๗] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑๐ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมด ภิกษุชื่อนี้ขอ อัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว บรรดาอาบัติ เหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมด สงฆ์พึงให้อัคฆสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑๐ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน บรรดา อาบัติเหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมด ภิกษุชื่อนี้ขออัคฆสโมธาน ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นานกว่า อาบัติทั้งหมด สงฆ์ให้อัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ บรรดา อาบัติเหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมดท่านรูปใดเห็นด้วยกับการ ให้อัคฆสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมด อัคฆสโมธาน- ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๓๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๒๓๖-๒๓๙. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=6&siri=32              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=6&A=5771&Z=5855                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=440              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=440&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=440&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd13/en/brahmali#pli-tv-kd13:20.1.0.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd13/en/horner-brahmali#BD.5.68



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :