ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
๔๑. ราหุลวัตถุ
ว่าด้วยพระราหุลกุมารบรรพชา
พระราหุลกุมารทรงผนวชเป็นสามเณร
[๑๐๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย แล้วได้เสด็จจาริกไปทางกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงกบิลพัสดุ์ ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้น เวลาเช้า ทรงอันตรวาสกแล้วถือบาตรและจีวรเสด็จไปยังพระนิเวศน์พระเจ้าสุทโธทน ศากยะ ประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ที่ได้ปูลาดไว้ ขณะนั้น พระเทวีมารดาพระราหุลกุมารได้ทรงมีพระเสาวนีย์ว่า “แน่ะราหุล สมณะนั้นเป็นบิดาของเจ้า เจ้าจงไปทูลขอทรัพย์มรดกเถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๖๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๔๑. ราหุลวัตถุ

พระราหุลกุมารจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ประทับยืน ณ เบื้องพระพักตร์ พลางกราบทูลว่า “ข้าแต่พระสมณะ พระฉายาของพระองค์เป็นสุข” พระผู้มีพระภาคได้เสด็จลุกจากอาสนะแล้วเสด็จกลับไป พระกุมารก็เสด็จ ติดตามไปเบื้องพระปฤษฎางค์ พลางกราบทูลขอว่า “พระสมณะได้โปรดประทาน ทรัพย์มรดกแก่หม่อมฉัน พระสมณะได้โปรดประทานทรัพย์มรดกแก่หม่อมฉัน” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมารับสั่งว่า “สารีบุตร ถ้าอย่างนั้นเธอจงให้ราหุลกุมารบรรพชาเถิด” ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า “ข้าพระองค์จะให้ราหุลกุมารบรรพชาอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบรรพชาเป็นสามเณร ด้วยไตรสรณคมน์”๑-
วิธีให้บรรพชา
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงให้กุลบุตรบรรพชา อย่างนี้ ในเบื้องต้น พึงให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาปลงผมและหนวด ให้ครองผ้ากาสายะ ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระโหย่ง ให้ประนม มือแล้วสั่งว่า “เธอจงกล่าวอย่างนี้” แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้ @เชิงอรรถ : @ เดิมที พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ต่อมาทรงห้ามอุปสมบทด้วย @ไตรสรณคมน์ ทรงอนุญาตวิธีอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม แต่ไม่ได้ทรงห้ามการบรรพชา ทั้งไม่ได้ทรง @อนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ใช้วิธีนี้ต่อไปอีก แต่มีพระประสงค์ที่จะอนุญาตให้บรรพชาสามเณรด้วยไตรสรณคมน์ @พระสารีบุตรทราบพุทธอัธยาศัย จึงกราบทูลให้ทรงอนุญาตการบรรพชาอีก และใช้วิธีการบรรพชาด้วย @ไตรสรณคมน์ บวชราหุลกุมารเป็นสามเณรรูปแรก (วิ.อ. ๓/๑๐๕/๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๖๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๔๑. ราหุลวัตถุ

ไตรสรณคมน์
ว่าด้วยการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบรรพชาเป็นสามเณรด้วยไตรสรณคมน์เหล่านี้” ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้ให้พระราหุลบรรพชาแล้ว
เรื่องพระเจ้าสุทโธทนะทูลขอพร๑-
ครั้งนั้น พระเจ้าสุทโธทนศากยะได้เสด็จไปเฝ้าพระผู้พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระเจ้าข้า หม่อมฉันทูลขอพรพระผู้มีพระภาคอย่างหนึ่ง” @เชิงอรรถ : @ ในวันที่ ๒ หลังจากที่เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงกบิลพัสดุ์ในเวลาเช้า @พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าว จึงเสด็จไปหา ตรัสว่า การที่พระพุทธองค์เสด็จเที่ยวบิณฑบาตนี้ ทำให้ @ข้าพระองค์ละอายยิ่งนัก พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า การเที่ยวบิณฑบาตนี้เป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย @แล้วตรัสพระคาถาว่า @ไม่ควรประมาทในบิณฑบาตที่พึงลุกรับ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต @ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า @เมื่อตรัสพระคาถานี้จบ พระเจ้าสุทโธทนะบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าพระ @นิเวศน์ตรัสพระคาถาว่า @พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมให้ทุจริต @ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า @พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุสกทาคามิผล วันต่อมาได้ทรงสดับธรรมปาลชาดก ทรงบรรลุอนาคามิผล @ก่อนที่จะสวรรคตประทับบนแท่นบรรทมภายใต้เศวตฉัตร ทรงบรรลุอรหัตตผล (วิ.อ. ๓/๑๐๕/๗๑-๗๒, @สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๐๕/๓๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๖๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๔๑. ราหุลวัตถุ

พระผู้มีพระภาคถวายพระพรว่า “มหาบพิตรผู้โคดม ตถาคตทั้งหลายเลิก พรเสียแล้ว” พระเจ้าสุทโธทนศากยะทูลว่า “หม่อมฉันทูลขอพรที่สมควรและไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปรดตรัสบอกพรนั้นเถิด มหาบพิตรผู้โคดม” พระเจ้าสุทโธทนศากยะทูลว่า “เมื่อพระองค์ทรงผนวช หม่อมฉันมีทุกข์ไม่ น้อย เมื่อนันทะผนวชก็เช่นเดียวกัน ครั้นราหุลบรรพชา ยิ่งเกิดทุกข์เหลือ ประมาณ พระพุทธเจ้าข้า ความรักในพระโอรสย่อมตัดผิว ตัดผิวแล้วก็ตัดหนัง ตัดหนังแล้วก็ตัดเนื้อ ตัดเนื้อแล้วก็ตัดเอ็น ตัดเอ็นแล้วก็ตัดกระดูก ตัดกระดูก แล้วก็จดเยื่อในกระดูก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่พึงให้ บุตรที่มารดาบิดายังไม่อนุญาตบรรพชา พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าสุทโธทนศากยะทรงเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นพระเจ้าสุทโธทนศากยะผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้ อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถาแล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทรงทำ ประทักษิณเสด็จกลับ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นเหตุ แล้วรับสั่งกับ ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาตไม่พึงให้บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ” ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ตามพระอัธยาศัยแล้ว ได้ เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดีเขตกรุงสาวัตถีนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๖๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๔๒. สิกขาปทกถา

ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดมีสามเณรหลายรูปไว้อุปัฏฐาก
สมัยนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระสารีบุตรส่งเด็กชายไปยังสำนักของท่าน ด้วยมอบหมายว่า “ขอพระเถระโปรดให้เด็กคนนี้บรรพชา” ขณะนั้น ท่านพิจารณาเห็นว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุรูปเดียว ไม่พึงใช้สามเณร ๒ รูปให้อุปัฏฐาก ก็เรามีสามเณรราหุลนี้อยู่แล้ว จะพึงปฏิบัติ อย่างไรหนอ” จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ รูปเดียวซึ่งเป็นผู้ฉลาดสามารถ ใช้สามเณร ๒ รูปให้อุปัฏฐากได้ หรืออนุญาตให้ใช้ สามเณรเท่าที่สามารถจะตักเตือนพร่ำสอนให้อุปัฏฐากได้”
๔๒. สิกขาปทกถา
ว่าด้วยสิกขาบทของสามเณร
[๑๐๖] ครั้งนั้น สามเณรทั้งหลายได้มีความคิดคำนึงว่า “สิกขาบทของพวกเรา มีเท่าไรหนอ และเราจะต้องศึกษาในสิกขาบทไหน” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐ แก่สามเณร และให้สามเณรศึกษาในสิกขาบท ๑๐ นั้น คือ ๑. เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. เจตนางดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ ๓. เจตนางดเว้นจากพฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ ๔. เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ ๕. เจตนางดเว้นจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖. เจตนางดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๖๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๔๓. ทัณฑกัมมวัตถุ

๗. เจตนางดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรีและดูการละเล่น อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ๘. เจตนางดเว้นจากการทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ซึ่งใช้ เป็นเครื่องประดับตกแต่ง ๙. เจตนางดเว้นจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ๑๐. เจตนางดเว้นจากการรับทองและเงิน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐ เหล่านี้แก่สามเณร และให้สามเณร ศึกษาในสิกขาบท ๑๐ เหล่านี้”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๖๔-๑๖๙. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=4&siri=40              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=3321&Z=3417                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=118              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=118&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=1483              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=118&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=1483                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic54 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:54.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#BD.4.103



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :