ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
๓๕. กัมมารภัณฑวัตถุ
ว่าด้วยบุตรช่างทองผมจุกห้าแหยมบรรพชา
[๙๘] สมัยนั้น บุตรช่างทองศีรษะโล้นคนหนึ่งทะเลาะกับมารดาบิดา ได้ไปยัง อารามบรรพชาในหมู่ภิกษุ ต่อมา มารดาบิดาได้ออกตามหาบุตร ไปถึงอารามถาม ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านได้พบเด็กชายมีรูปร่างเช่นนี้บ้างไหม เจ้าข้า” พวกภิกษุที่ไม่รู้เลยก็กล่าวว่า “พวกอาตมาไม่รู้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๕๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๓๖. อุปาลิทารกวัตถุ

พวกภิกษุที่ไม่เห็นเลยก็กล่าวว่า “พวกอาตมาไม่เห็น” ขณะมารดาบิดาตามหาได้พบบุตรบรรพชาในหมู่ภิกษุจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ไม่มีความละอาย ทุศีล ชอบพูดเท็จ รู้อยู่แท้ๆ ก็กล่าวว่า พวกอาตมาไม่รู้ เห็นอยู่ชัดๆ ก็กล่าวว่า พวกอาตมาไม่เห็น เด็กนี้ได้บรรพชาในหมู่ภิกษุเสียแล้ว” ภิกษุทั้งหลายได้ยินมารดาบิดาของบุตรช่างทองผมจุกตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อปโลกน์๑- ต่อสงฆ์เพื่อ การปลงผม”
๓๖. อุปาลิทารกวัตถุ๒-
ว่าด้วยเด็กชายอุบาลีบรรพชา
[๙๙] สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีเด็กชายผู้เป็นเพื่อนกัน ๑๗ คน เด็กชาย อุบาลีเป็นหัวหน้าของเด็กเหล่านั้น ครั้งนั้น มารดาบิดาของเด็กชายอุบาลีได้ ปรึกษากันดังนี้ว่า “เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบาย และไม่ ลำบากด้วยวิธีใดหนอ” ลำดับนั้นมารดาบิดาของเด็กชายอุบาลีได้ปรึกษากันอีกว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนเขียนหนังสือ ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลี จะอยู่สุขสบาย และไม่ลำบาก” แต่ก็วิตกไปว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนเขียนหนังสือ นิ้ว มือจะระบม ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณ ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบาย และไม่ลำบาก” และวิตกอีกว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียน วิชาคำนวณก็จะแน่นหน้าอก ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาเกี่ยวกับการเงิน ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลี จะอยู่สุขสบาย และไม่ลำบาก” แล้วก็วิตก @เชิงอรรถ : @ อปโลกน์ หมายถึงการบอกกล่าวแก่ที่ประชุมเพื่อให้รับทราบร่วมกัน หรือการสอบถามขอความเห็นชอบ @ร่วมกันในกิจของสงฆ์เช่นสอบถามการปลงผม การอุปสมบท การบรรพชา (วิ.อ. ๓/๙๘-๙๙/๖๕) @ วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๐๒/๕๑๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๕๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๓๖. อุปาลิทารกวัตถุ

อีกว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาเกี่ยวกับการเงิน นัยน์ตาเขาจะปวด พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้มีลักษณะนิสัยดี ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี นอนในห้องมิดชิด ถ้าเจ้าอุบาลีได้บวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบาย และไม่ลำบาก”
เด็กชายอุบาลีออกบวช
เด็กชายอุบาลีได้ยินคำสนทนาของมารดาบิดา ครั้นแล้วเด็กชายอุบาลีจึงได้ไป หาพวกเด็กๆ ถึงที่พัก ครั้นถึงแล้ว ได้กล่าวกับพวกเด็กๆ เหล่านั้น ดังนี้ว่า “เพื่อนทั้งหลาย มาเถิด พวกเราจะไปบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร” เด็กเหล่านั้นกล่าวว่า “เพื่อนเอ๋ย ถ้าเจ้าบวช พวกเราก็จะบวชเช่นกัน” ครั้นแล้วเด็กๆ เหล่านั้น ต่างคนต่างก็เข้าไปหามารดาบิดาของตน แล้วได้กล่าว ขออนุญาตดังนี้ว่า “พ่อแม่โปรดอนุญาตให้พวกลูกๆ ออกจากเรือนไปบวชเป็น บรรพชิตเถิด” มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้นอนุญาตด้วยคิดว่า “เด็กพวกนี้ต่างพร้อมใจมีความ ปรารถนาสิ่งที่ดีงามทุกคน” พวกเด็กเหล่านั้นจึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายให้เด็ก เหล่านั้นบรรพชาอุปสมบทแล้ว ครั้นเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ภิกษุใหม่เหล่านั้นลุกขึ้นร้องไห้ว่า “ท่านทั้งหลาย โปรดให้ข้าวต้ม โปรดให้ข้าวสวย โปรดให้ของเคี้ยว” ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลาย รอให้สว่างเสียก่อน ถ้ามีข้าวต้ม พวกเธอจะได้ฉัน ถ้ามีข้าวสวย พวกเธอจะได้ฉัน ถ้ามีของเคี้ยว พวกเธอจะได้เคี้ยว แต่ถ้าข้าวต้มข้าวสวยหรือของเคี้ยวไม่มี พวกเธอต้องเที่ยวบิณฑบาตมาฉัน” ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายกล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังพากันร้องไห้ว่า “ท่านทั้งหลายโปรดให้ข้าวต้ม โปรดให้ข้าวสวย โปรดให้ของเคี้ยวเถิด” พากันถ่าย อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง รดเสนาสนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๕๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๓๖. อุปาลิทารกวัตถุ

พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ทรงสดับเสียงเด็ก ครั้นได้ทรงสดับแล้วจึงตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ เสียงเด็กร้องไห้เพราะ เหตุใดหรือ” ทีนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
เรื่องทรงห้ามกุลบุตรอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปีอุปสมบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุทรงสอบ ถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุรู้อยู่ ก็ยังให้บุคคลอายุ หย่อนกว่า ๒๐ ปีอุปสมบทจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ เหล่านั้นรู้อยู่แต่ก็ยังให้บุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปีอุปสมบทเล่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ยังไม่อดทน ไม่อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี จึงจะอดทน อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจาก เหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึก ทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบ จะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นแล้วได้ทรงแสดง ธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ไม่พึงให้บุคคลผู้มี อายุหย่อนกว่า ๒๐ ปีอุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท พึงปรับอาบัติตามธรรม๑-” @เชิงอรรถ : @ ตามธรรม คือ ตามความผิด,ตามโทษานุโทษ ในที่นี้ ปรับอาบัติปาจิตตีย์ตามความแห่งสิกขาบทที่ ๕ @แห่งสัปปาณกวรรค (วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๐๓/๕๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๕๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๕๑-๑๕๔. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=4&siri=37              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=3044&Z=3105                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=110              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=110&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=1436              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=110&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=1436                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic48 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:48.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#BD.4.96



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :