ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๔๒. ภัททาลิวรรค
หมวดว่าด้วยพระภัททาลิเป็นต้น
๑. ภัททาลิเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภัททาลิเถระ
(พระภัททาลิเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๑] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้เลิศ ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระกรุณา ทรงเป็นผู้เลิศในโลก ทรงเป็นมุนี เมื่อประสงค์วิเวก๑- จึงได้เสด็จไปยังภูเขาหิมพานต์ [๒] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงองอาจกว่าบุรุษ ครั้นเสด็จไปยังภูเขาหิมพานต์แล้ว ได้ประทับนั่งขัดสมาธิ [๓] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก @เชิงอรรถ : @ วิเวก ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก(ความสงัดกาย)และจิตตวิเวก(ความสงัดจิต) (ขุ.อป.อ. ๒/๔๓/๑๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค]

๑. ภัททาลิเถราปทาน

ผู้เป็นบุรุษสูงสุด๑- พระองค์นั้น ประทับนั่งเข้าสมาบัติตลอด ๗ วัน ๗ คืน [๔] ข้าพเจ้าคอนหาบเข้าไปถึงกลางป่า ณ ที่นั้นได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ข้ามโอฆะ๒- ได้แล้ว ไม่มีอาสวะ [๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้หยิบไม้กวาดมากวาดอาศรม ปักไม้เป็น ๔ เส้า ทำเป็นมณฑป [๖] ข้าพเจ้าเก็บดอกสาละมามุงเป็นหลังคามณฑป เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ได้ไหว้พระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกแล้ว [๗] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ที่ชนทั้งหลายสรรเสริญกันว่า มีพระปัญญาดังแผ่นดิน มีพระปัญญาดี ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ กำลังจะตรัสพระคาถาเหล่านี้ [๘] เทวดาทั้งปวงทราบว่า พระพุทธเจ้าจะทรงเปล่งวาจา จึงพากันมาประชุมด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ผู้มีพระจักษุ จะทรงแสดงธรรมโดยแน่แท้ [๙] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่เทวดา ได้ตรัสพระคาถาดังต่อไปนี้ว่า [๑๐] เราจักพยากรณ์ผู้ตั้งมณฑป มีดอกสาละเป็นเครื่องมุงสำหรับเราตลอด ๗ วัน ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด @เชิงอรรถ : @ ผู้เป็นบุรุษสูงสุด หมายถึงผู้สูงกว่ามนุษย์ด้วยคุณธรรม (ขุ.อป.อ. ๒/๑๒๙/๓๕) @ โอฆะ หมายถึงกิเลสท่วมทับใจสัตว์มี ๔ คือ (๑) กาโมฆะ โอฆะคือกาม (๒) ภโวฆะ โอฆะคือภพ @(๓) ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ (๔) อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชา (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๕/๑๐๐, @ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๒/๒๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค]

๑. ภัททาลิเถราปทาน

[๑๑] ผู้นี้จักเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม จักเป็นผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคำ จักเสวยกามสุข มีโภคะล้นเหลือ [๑๒] ช้างมาตังคะ ๖๐,๐๐๐ เชือก ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง รัดประโคนพานหน้าและพานหลังที่ทำด้วยทอง ประกอบด้วยเครื่องประดับศีรษะและข่ายทอง [๑๓] มีนายควาญช้างผู้ถือหอกซัดและขอขึ้นขี่บังคับประจำ จักมาสู่ที่บำรุงของผู้นี้ ทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็น ผู้นี้จักเป็นผู้ที่ช้างเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว รื่นรมย์อยู่ [๑๔] ม้าสินธพชาติอาชาไนย ๖๐,๐๐๐ ตัว ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง เป็นพาหนะที่มีฝีเท้าเร็ว [๑๕] มีทหารม้าผู้เหน็บมีดสั้น ถือธนูขึ้นขี่บังคับประจำ จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า [๑๖] รถ ๖๐,๐๐๐ คัน ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง หุ้มหนังเสือเหลืองบ้าง หนังเสือโคร่งบ้าง มีธงปักหน้ารถ [๑๗] มีพลขับถือธนูสวมเกราะประจำรถ จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า [๑๘] หมู่บ้าน ๖๐,๐๐๐ หมู่ บริบูรณ์ด้วยเครื่องใช้ทุกอย่าง มีทรัพย์และข้าวเปลือกล้นเหลือ บริบูรณ์ดีทุกประการ จักปรากฏอยู่ทุกเมื่อ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า [๑๙] กองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค]

๑. ภัททาลิเถราปทาน

[๒๐] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑๑๘ กัป จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ [๒๑] และจักครองเทวสมบัติตลอด ๓๐๐ ชาติ จักเป็นเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน [๒๒] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป) พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก [๒๓] ผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ [๒๔] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป) ข้าพเจ้าได้เห็นพระศาสดา ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก และได้แสวงหาอมตบท๑- ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา [๒๕] การที่ข้าพเจ้ารู้ศาสนธรรมนี้ เป็นลาภที่ข้าพเจ้าได้ดีแล้ว วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๒๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์ ข้าพระองค์ได้บรรลุอมตบทแล้ว เพราะกล่าวสดุดีพระพุทธญาณ @เชิงอรรถ : @ อมตบท หมายถึงพระนิพพาน (ขุ.อป.อ. ๑/๒๖๗/๒๗๖, ขุ.อป.อ. ๒/๖๗/๑๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค]

๑. ภัททาลิเถราปทาน

[๒๗] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใดๆ คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม ย่อมเป็นผู้มีความสุขในที่ทุกสถาน นี้เป็นผลที่ข้าพเจ้ากล่าวสดุดีพระพุทธญาณ [๒๘] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่ ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพัน๑- ได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๒๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๓๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ๒- ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๓๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ ๓- วิโมกข์ ๘ ๔- และอภิญญา ๖ ๕- ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระภัททาลิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ภัททาลิเถราปทานที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ กิเลสเครื่องผูกพัน หมายถึงสังโยชน์ ๑๐ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๒๕๓) @ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๗๕, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๐๒/๒๔๓-๒๔๔ @ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๒/๒๔๒-๒๔๓ @ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๓๙/๓๕๐-๓๕๑ @ อภิญญา ๖ หมายถึงญาณพิเศษมี ๖ คือ (๑) อิทธิวิธิ(แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ) (๒) ทิพพโสต(หูทิพย์) @(๓) เจโตปริยญาณ(ญาณกำหนดรู้ใจผู้อื่นได้) (๔) ปุพเพนิวาสญาณ(ญาณเป็นเครื่องระลึกชาติได้) @(๕) ทิพพจักขุญาณ(ญาณคือตาทิพย์เห็นสัตว์ที่กำลังจุติและอุบัติได้) (๖) อาสวักขยญาณ(ญาณคือการ @ทำลายกิเลสให้สิ้นไป) (ขุ.อป.อ. ๑/๓๒/๑๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๑-๕. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=33&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=1&Z=68                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=1              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=1&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5478              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=1&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5478                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap413/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :