ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์
พระวินัยปิฎก
ภิกขุนีวิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ๑-
ว่าด้วยการยินดีการจับต้องที่บริเวณเหนือเข่าขึ้นไปของชาย
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา
[๖๕๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถปิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นายสาฬหะหลานของนาง วิสาขา มิคารมาตา๒- ประสงค์จะสร้างวิหารถวายภิกษุณีสงฆ์ นายสาฬหะหลานของ นางวิสาขามิคารมาตาจึงเข้าไปแจ้งความประสงค์แก่ภิกษุณีว่า “กระผมต้องการจะ สร้างวิหารถวายภิกษุณีสงฆ์ ท่านทั้งหลายโปรดให้ภิกษุณีผู้ดูแลการก่อสร้างสัก ๑ รูปเถิด ขอรับ” @เชิงอรรถ : @ ถ้านับรวมกับสาธารณบัญญัติ คือที่ภิกษุต้องรักษาด้วย สิกขาบทนี้จัดเป็นสิกขาบทที่ ๕ @ คำว่า “มิคารนตฺตา” แปลได้ ๒ นัย ในที่นี้ แปลว่า หลานของนางวิสาขามิคารมาตา ตาม @อธิบาย (วิ.อ. ๒/๖๕๖/๔๖๒, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๖๕๖/๑๓๗) ส่วนในพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หลาน @ของมิคารเศรษฐี (องฺ.ติก. ๒๐/๖๗/๑๘๙) ตามอธิบาย (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๗/๒๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ

สมัยนั้น มีหญิงสาว ๔ คนพี่น้องบวชอยู่ในสำนักภิกษุณี คือนันทา นันทวดี สุนทรีนันทา ถุลลนันทา ในจำนวน ๔ รูปนี้ ภิกษุณีสุนทรีนันทาบวชตั้งแต่วัยสาว มีรูปงามน่าดู น่าชม เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา ขยัน ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาไตร่ตรองในงานนั้นๆ สามารถกระทำ สามารถจัดแจงได้ ภิกษุณีสงฆ์จึงแต่งตั้งภิกษุณีสุนทรีนันทาให้เป็นผู้ดูแลการก่อสร้างของนายสาฬหะ หลานของนางวิสาขามิคารมาตา ครั้งนั้น ภิกษุณีสุนทรีนันทานั้นไปบ้านนายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคาร มาตาเนืองๆ บอกว่า “ท่านจงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้จอบ จงให้สิ่ว” ฝ่าย นายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตาก็หมั่นไปสำนักภิกษุณีอยู่เนืองๆ เพื่อให้ รู้งานที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ คนทั้งสองนั้นมีจิตรักใคร่ต่อกันเพราะพบเห็นกันเนืองๆ นายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตาเมื่อไม่ได้โอกาสที่จะทำมิดีมิร้าย ภิกษุณีสุนทรีนันทา จึงได้จัดเตรียมภัตตาหารสำหรับถวายภิกษุณีสงฆ์เพื่อหาทางที่ จะประทุษร้ายนางนั้น เมื่อจะปูอาสนะในโรงฉัน ปูอาสนะไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่งด้วย คิดว่า “ภิกษุณีจำนวนเท่านี้มีพรรษาแก่กว่าแม่เจ้าสุนทรีนันทา” ปูอาสนะไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่งด้วยคิดว่า “ภิกษุณีจำนวนเท่านี้มีพรรษาอ่อนกว่า” ปูอาสนะไว้สำหรับ ภิกษุณีสุนทรีนันทา ณ ส่วนข้างหนึ่ง ในที่มิดชิด มีที่กำบัง เพื่อให้ภิกษุณีผู้เป็นเถระ เข้าใจว่า “ภิกษุณีสุนทรีนันทานั่งอยู่กับพวกภิกษุณีนวกะ” แม้ภิกษุณีนวกะก็จะ เข้าใจไปว่า “ภิกษุณีสุนทรีนันทานั่งอยู่กับพวกภิกษุณีผู้เป็นเถระ” ครั้นแล้วนาย สาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตาจึงให้คนไปเรียนภิกษุณีสงฆ์ว่า “แม่เจ้า ได้ เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว” ภิกษุณีสุนทรีนันทาสังเกตรู้ว่า “นายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตา เตรียมการไว้มาก มิใช่เพียงจัดภัตตาหารถวายภิกษุณีสงฆ์เท่านั้น แต่ประสงค์ที่จะ ทำมิดี มิร้ายเรา ถ้าเราไปก็ต้องมีเรื่องอื้อฉาวแน่” จึงสั่งภิกษุณีอันเตวาสินีไปว่า “เธอจงไปนำบิณฑบาตมาให้เรา ถ้ามีผู้ถามถึงเรา จงตอบว่าเราเป็นไข้” ภิกษุณีนั้นปฏิบัติตามคำสั่งของภิกษุณีสุนทรีนันทา เวลานั้น นายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตายืนคอยที่ซุ้มประตูด้าน นอก ถามถึงภิกษุณีสุนทรีนันทาว่า “แม่เจ้าสุนทรีนันทาไปไหน ขอรับ แม่เจ้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ

สุนทรีนันทาไปไหน ขอรับ” เมื่อนายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตากล่าว อย่างนั้น ภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีสุนทรีนันทาได้กล่าวกับนายสาฬหะหลาน ของนางวิสาขามิคารมาตาดังนี้ว่า “ท่าน ภิกษุณีสุนทรีนันทาเป็นไข้ ดิฉันจักรับ บิณฑบาตไปถวาย” ลำดับนั้น นายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตาคิดว่า “การที่เรา เตรียมอาหารถวายภิกษุณีสงฆ์ ก็เพราะแม่เจ้าสุนทรีนันทา” จึงสั่งให้เลี้ยงดูภิกษุณี สงฆ์แล้วเข้าไปทางสำนักภิกษุณี สมัยนั้นแล ภิกษุณีสุนทรีนันทายืนคอยนายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคาร มาตาอยู่นอกซุ้มประตูวัด พอเห็นเขาเดินมาแต่ไกลจึงหลบเข้าที่อยู่นอนคลุมโปงอยู่ บนเตียง ลำดับนั้น นายสาฬหะเข้าไปหาภิกษุณีสุนทรีนันทาถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว ถาม ภิกษุณีสุนทรีนันทาดังนี้ว่า “ท่านไม่สบายหรือ ทำไมจึงนอนอยู่ ขอรับ” ภิกษุณีสุนทรีนันทากล่าวว่า “นาย สตรีผู้ปรารถนาคนที่ไม่ปรารถนาตอบ ก็มีอาการเช่นนี้แหละ” เขากล่าวว่า “แม่เจ้า ทำไม กระผมจะไม่ปรารถนาท่าน แต่หาโอกาสที่จะ ทำมิดีมิร้ายท่านไม่ได้” มีความกำหนัด ถูกต้องกายภิกษุณีสุนทรีนันทาซึ่งมีความ กำหนัด คราวนั้น ภิกษุณีชรามีเท้าเจ็บรูปหนึ่งนอนอยู่ไม่ไกลจากที่ของภิกษุณีสุนทรีนันทา นั้น เห็นนายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตาผู้กำหนัดกำลังถูกต้องกาย กับภิกษุณีสุนทรีนันทาผู้กำหนัด จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้า สุนทรีนันทาผู้กำหนัดจึงยินดีการถูกต้องกายกับชายผู้กำหนัดเล่า” บอกเรื่องนั้นแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าสุนทรีนันทาผู้ กำหนัดจึงยินดีการถูกต้องกายกับชายผู้กำหนัดเล่า” จากนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นจึงนำ เรื่องไปบอกภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ

ระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา ก็ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าสุนทรี นันทาผู้กำหนัดจึงยินดีการถูกต้องกายกับชายผู้กำหนัดเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิ ภิกษุณีสุนทรีนันทาโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีสุนทรีนันทากำหนัด ยินดีการถูกต้องกายกับชายผู้กำหนัดจริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ ของภิกษุณีสุนทรีนันทาไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุณีสุนทรีนันทาผู้กำหนัดจึงยินดีการถูกต้องกายกับชาย ผู้กำหนัดเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใส ก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป” ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุณีสุนทรีนันทาโดยประการต่างๆ แล้ว ได้ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก มักมาก ไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัดกิเลส อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ เพียรโดยประการต่างๆ ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายให้เหมาะสมให้คล้อย ตามกับเรื่องนั้น แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะ บัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๓. เพื่อข่มภิกษุณีผู้เก้อยาก ๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุณีผู้มีศีลดีงาม ๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๔}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์

๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว ๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๕๗] ก็ภิกษุณีใดกำหนัดยินดีการจับต้อง การลูบคลำ การจับ การต้อง หรือการบีบของชายผู้กำหนัดบริเวณใต้รากขวัญ๑- ลงมาเหนือเข่าขึ้นไป แม้ภิกษุณี นี้เป็นปาราชิกที่ชื่อว่าอุพภชาณุมัณฑลิกา๒- หาสังวาสมิได้
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๕๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด มีการงาน มีชาติวรรณะ มีชื่อ มีตระกูล มีลักษณะนิสัย มีคุณธรรม มีอารมณ์อย่างไร เป็นเถระ นวกะ หรือ มัชฌิมะ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ชื่อว่าภิกษุณี เพราะอาศัยการเที่ยวขอ ชื่อว่าภิกษุณี เพราะใช้ผืนผ้าที่ถูกทำให้เสียราคา ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะเรียกกันโดยโวหาร ชื่อว่าภิกษุณี เพราะการปฏิญญาตน ชื่อว่าภิกษุณี เพราะพระพุทธเจ้าทรงบวชให้ ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ @เชิงอรรถ : @ ใต้รากขวัญ คือใต้ส่วนของร่างกายที่เรียกว่า ไหปลาร้า @ คำว่า “อุพภชาณุมัณฑลิกา” แปลว่า บริเวณเหนือเข่า แม้บริเวณเหนือข้อศอกก็รวมอยู่กับบริเวณเหนือ @เข่า คำนี้เป็นชื่อเรียกภิกษุณีผู้ต้องอาบัติปาราชิกสิกขาบทนี้ (วิ.อ. ๒/๖๕๗-๖๕๘/๔๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๕}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์

ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้เจริญ ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้มีสาระ ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ยังต้องศึกษา ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ไม่ต้องศึกษา ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ที่สงฆ์ ๒ ฝ่ายพร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรมที่ถูกต้อง สมควรแก่เหตุ ในภิกษุณีที่กล่าวมานั้น ภิกษุณีที่สงฆ์ ๒ ฝ่ายพร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรมที่ถูกต้องสมควรแก่เหตุนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรง ประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า กำหนัด ได้แก่ ภิกษุณีมีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่ ที่ชื่อว่า ผู้กำหนัด ได้แก่ ชายมีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่ ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉาน ตัวผู้ แต่เป็นชายที่รู้เดียงสา สามารถถูกต้องกายได้ คำว่า ใต้รากขวัญลงมา ได้แก่ ภายใต้รากขวัญลงมา คำว่า เหนือเข่าขึ้นไป ได้แก่ บริเวณเข่าส่วนบนขึ้นไป ที่ชื่อว่า จับต้อง ได้แก่ กิริยาเพียงแต่ลูบคลำ ที่ชื่อว่า ลูบคลำ ได้แก่ ลูบคลำไปทางโน้นทางนี้ ที่ชื่อว่า จับ ได้แก่ ลักษณะเพียงแต่จับ ที่ชื่อว่า ต้อง ได้แก่ ลักษณะเพียงสัมผัส คำว่า ยินดี ... หรือการบีบ ได้แก่ ยินดีที่จะให้จับอวัยวะแล้วบีบ คำว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อนๆ๑- คำว่า เป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุณีกำหนัดยินดีการจับต้อง การลูบคลำ การจับ การต้อง หรือการบีบของชายผู้กำหนัดบริเวณใต้รากขวัญลงมาเหนือเข่าขึ้น ไป ย่อมไม่เป็นสมณะหญิง ไม่เป็นเชื้อสายศากยธิดา เปรียบเหมือนคนถูกตัดศีรษะ ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้โดยการต่อศีรษะเข้ากับร่างกายนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก @เชิงอรรถ : @ หมายถึงภิกษุณีผู้ต้องอาบัติปาราชิก ๔ สิกขาบท อันเป็นความผิดเช่นเดียวกับปาราชิก ๔ สิกขาบท @ของภิกษุสงฆ์ (ดูพระวินัยปิฎกแปล ๑/๓๙/๒๙, ๔๒/๓๑, ๔๔/๓๒, ๘๙/๗๘-๗๙, ๙๑/๘๐, ๑๖๗/๑๓๙, @๑๗๑/๑๔๐-๑๔๑, ๑๙๖/๑๘๒, ๑๙๗/๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์

คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน อุทเทสที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับ ภิกษุณีรูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้
บทภาชนีย์
[๖๕๙] ทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้กายจับต้องกายบริเวณ ใต้รากขวัญลงมาเหนือเข่าขึ้นไป ภิกษุณีต้องอาบัติปาราชิก๑- ใช้กายจับต้องของที่ เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย ใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่อง ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้กายถูกต้องกายบริเวณเหนือรากขวัญขึ้นไปใต้เข่าลงมา ต้องอาบัติถุลลัจจัย ใช้กายถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้อง กาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติ ทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่อง ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ [๖๖๐] ฝ่ายหนึ่งมีความกำหนัด ใช้กายจับต้องกาย บริเวณใต้รากขวัญลง มาเหนือเข่าขึ้นไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ใช้กายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้อง อาบัติทุกกฏ ใช้ของเนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของที่เนื่อง ด้วยกายถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ @เชิงอรรถ : @ เมื่อภิกษุณีและชายมีความกำหนัดในอันจะถูกต้องกายกัน ภิกษุณีใช้กายตามที่กำหนดถูกต้องกายส่วนใด @ส่วนหนึ่งของชายหรือชายใช้กายส่วนใดส่วนหนึ่ง ถูกต้องกายตามที่กำหนดของภิกษุณีด้วยอาการทั้ง ๒ @นั้น ภิกษุณีต้องอาบัติปาราชิก (วิ.อ. ๒/๖๕๙/๔๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์

ใช้กายจับต้องกายบริเวณเหนือรากขวัญขึ้นไปใต้เข่าลงมา ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ กายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่อง ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ [๖๖๑] ทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัด ใช้กายถูกต้องกายของยักษ์ เปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานที่แปลงกายเป็นมนุษย์ บริเวณใต้รากขวัญลงมาเหนือ เข่าขึ้นไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ใช้กายถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้อง ของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่อง ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้กายถูกต้องกายบริเวณเหนือรากขวัญขึ้นไปใต้เข่าลงมา ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้กายถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้อง กาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติ ทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่อง ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ [๖๖๒] ฝ่ายหนึ่งมีความกำหนัด ใช้กายจับต้องกาย บริเวณใต้รากขวัญลง มาเหนือเข่าขึ้นไป ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้กายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติ ทุกกฏ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของที่เนื่องด้วย กายถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่อง ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร

ใช้กายจับต้องกายบริเวณเหนือรากขวัญขึ้นไปใต้เข่าลงมา ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้กายจับของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่อง ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๖๓] ๑. ภิกษุณีไม่จงใจ ๒. ภิกษุณีไม่มีสติ ๓. ภิกษุณีผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุณีผู้ไม่ยินดี ๕. ภิกษุณีวิกลจริต ๖. ภิกษุณีจิตฟุ้งซ่าน ๗. ภิกษุณีกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๘. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑-๙. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=3&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=3&A=1&Z=159                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=1              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=1&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10689              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=1&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10689                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pj5/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pj5/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :