ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๕. ปารายนวรรค]

๑. อชิตมาณวกปัญหา

๑. อชิตมาณวกปัญหา๑-
ว่าด้วยปัญหาของอชิตมาณพ
[๑๐๓๙] (อชิตมาณพทูลถามดังนี้) โลกถูกอะไรเล่าหุ้มห่อไว้ เพราะอะไรเล่า โลกจึงไม่สดใส ขอพระองค์โปรดตรัสบอกว่า อะไร เป็นเครื่องฉาบทาโลกนี้ไว้ อะไรเล่า เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น [๑๐๔๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อชิตะ) โลกถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่สดใสเพราะความตระหนี่๒- และความประมาท เราเรียกความอยากว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น [๑๐๔๑] (อชิตมาณพทูลถามดังนี้) กระแส๓- ทั้งหลายย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง๔- อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย อะไรปิดกั้นกระแสทั้งหลายได้ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๕๗-๖๔/๑๑-๑๒ @ ความตระหนี่ มี ๕ อย่าง (๑) อาวาสมัจฉริยะ (ความตระหนี่ที่อยู่) (๒) กุลมัจฉริยะ (ความตระหนี่ตระกูล) @(๓) ลาภมัจฉริยะ (ความตระหนี่ลาภ) (๔) วัณณมัจฉริยะ (ความตระหนี่วรรณะ) (๕) ธัมมมัจฉริยะ (ความ @ตระหนี่ธรรม) (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๒/๔๙) @ กระแส ในที่นี้หมายถึงตัณหา ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต และอวิชชา (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๓/๕๓) @ ที่ทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงอายตนะทั้งปวง (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๓/๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๕. ปารายนวรรค]

๑. อชิตมาณวกปัญหา

[๑๐๔๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อชิตะ) กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้นได้ เรากล่าวธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย ปัญญาปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้ [๑๐๔๓] (อชิตมาณพทูลถามดังนี้) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ นาม๑- และรูป๒- นี้ ดับที่ไหน @เชิงอรรถ : @ นาม หมายถึงขันธ์ที่มิใช่รูป ๔ อย่าง (เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๕/๕๘) @ รูป หมายถึงมหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูปทั้ง ๔ @มหาภูตรูป คือ รูปใหญ่ รูปต้นเดิม คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ (๑) ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ @สภาพอันเป็นหลักที่ตั้งที่อาศัยแห่งสหชาตรูป เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็ง หรือธาตุดิน (๒) อาโปธาตุ @สภาวะที่เอิบอาบหรือดูดซึม ซ่านไป ขยายขนาด ผนึก พูนเข้าด้วยกัน เรียกสามัญว่า ธาตุเหลว หรือธาตุน้ำ @(๓) เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ (๔) วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้สั่นไหว เคลื่อนที่ ค้ำจุน @เรียกสามัญว่า ธาตุลม (ที.สี.(แปล) ๙/๔๘๗-๔๙๙/๒๑๖-๒๒๐, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๕/๕๘) @รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ หรือที่เรียกว่า อุปาทายรูป มี ๒๔ คือ @ปสาทรูป ๕ (รูปที่เป็นประธานสำหรับรับอารมณ์) (๑) ตา (๒) หู (๓) จมูก (๔) ลิ้น (๕) กาย @โคจรรูป หรือวิสัยรูป ๕ (รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์) (๖) รูป (๗) เสียง (๘) กลิ่น @(๙) รส (๑๐) โผฏฐัพพะ (ข้อนี้ไม่นับเพราะเป็นอันเดียวกันกับมหาภูตรูป ๓ คือ ปฐวี เตโช วาโย) @ภาวรูป ๒ (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ) (๑๐) อิตถัตตะ อิตถินทรีย์ ความเป็นหญิง (๑๑) ปุริสัตตะ ปุริสินทรีย์ @ความเป็นชาย @หทัยรูป ๑ (รูปคือหทัย) (๑๒) หทัยวัตถุ ที่ตั้งแห่งใจ หัวใจ @ชีวิตรูป ๑ (รูปที่เป็นชีวิต) (๑๓) ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต @อาหารรูป ๑ (รูปคืออาหาร) (๑๔) กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว @ปริจเฉทรูป ๑ (รูปที่กำหนดเทศะ) (๑๕) อากาสธาตุ สภาวะคือช่องว่าง @วิญญัติรูป ๒ (รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย) (๑๖) กายวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความ @หมายด้วยกาย (๑๗) วจีวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา @วิการรูป ๔ (รูปคือการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้) (๑๘) (รูปัสส) ลหุตา ความเบา (๑๙) (รูปัสส) @มุทุตา ความอ่อนสลวย (๒๐) (รูปัสส) กัมมัญญตา ความควรแก่การงาน ใช้การได้ @ลักขณรูป ๔ (รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด) (๒๑) อุปจยะ ความก่อตัว (๒๒) สันตติ @ความสืบต่อ (๒๓) ชรตา ความทรุดโทรม (๒๔) อนิจจตา ความแปรแตกสลาย (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๕/๕๘, @อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๕๘๔-๙๘๔/๑๖๙-๒๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๕. ปารายนวรรค]

๑. อชิตมาณวกปัญหา

ข้าพระองค์ได้ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด [๑๐๔๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อชิตะ) เธอได้ถามปัญหานั้นใด เราจะกล่าวแก้ปัญหานั้นแก่เธอ นามและรูปดับไม่มีส่วนเหลือในที่ใด นามและรูปนั้นดับไปในที่นั้นเพราะวิญญาณดับ [๑๐๔๕] (อชิตมาณพทูลถามดังนี้) พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด ผู้มีธรรมที่พิจารณาแล้ว และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีพระปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้นด้วยเถิด [๑๐๔๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) ภิกษุไม่พึงปรารถนายิ่งในกามทั้งหลาย เป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติดำรงอยู่
อชิตมาณวกปัญหาที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๔๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๗๔๕-๗๔๗. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=283              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=10976&Z=11005                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=425              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=425&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=9749              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=425&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=9749                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i424-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.5.01.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.5.01.irel.html https://suttacentral.net/snp5.2/en/mills https://suttacentral.net/snp5.2/en/anandajoti https://suttacentral.net/snp5.2/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :