ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๓. โลกวรรค ๒. สุทโธทนวัตถุ

๑๓. โลกวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องโลก
๑. ทหรภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุหนุ่ม
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง ดังนี้) [๑๖๗] บุคคลไม่พึงเสพสิ่งต่ำทราม๑- ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงยึดถือความเห็นผิด ไม่พึงเป็นคนรกโลก
๒. สุทโธทนวัตถุ
เรื่องพระเจ้าสุทโธทนะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาของพระองค์ ดังนี้) [๑๖๘] ภิกษุไม่พึงประมาทบิณฑบาตที่ตนยืนรับ๒- พึงประพฤติสุจริตธรรม๓- ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า [๑๖๙] พึงประพฤติสุจริตธรรม ไม่พึงประพฤติทุจริตธรรม ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า @เชิงอรรถ : @ สิ่งต่ำทราม ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๖/๒๙) @ ไม่พึงประมาทบิณฑบาตที่ตนยืนรับ หมายถึงไม่พึงดูหมิ่นอาหารที่ต้องลุกขึ้นไปยืนรับตามลำดับตรอก @ไม่เลือกรับเฉพาะบ้าน (ขุ.ธ.อ. ๖/๓๒) @ สุจริตธรรม หมายถึงภิกขาจริยธรรม คือ การเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก ซึ่งตรงกันข้ามกับทุจริต- @ธรรม คือ การเที่ยวบิณฑบาตในสถานที่อโคจร เช่น สถานที่ที่มีหญิงแพศยา เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๖/๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๓. โลกวรรค ๕. สัมมัชชนเถรวัตถุ

๓. ปัญจสตวิปัสสกภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา ๕๐๐ รูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา ๕๐๐ รูป ดังนี้) [๑๗๐] มัจจุราชย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลก๑- เหมือนเห็นฟองน้ำ เหมือนเห็นพยับแดด
๔. อภยราชกุมารวัตถุ
เรื่องอภัยราชกุมาร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่อภัยราชกุมาร ดังนี้) [๑๗๑] ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้๒- ที่วิจิตรดุจราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกมุ่นอยู่ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่๓-
๕. สัมมัชชนเถรวัตถุ
เรื่องพระสัมมัชชนเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๗๒] ผู้ใดประมาทแล้วในกาลก่อน ภายหลังไม่ประมาท ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว๔- ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น๕- @เชิงอรรถ : @ โลก หมายถึงโลกคือขันธ์ ๕ เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๖/๓๔) @ ดูความหมายในเชิงอรรถที่ ๑ @ ข้องอยู่ หมายถึงติดอยู่ด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๖/๓๕) @ ทำโลกนี้ให้สว่างไสว หมายถึงทำโลกคือขันธ์ ๕ เป็นต้น ให้สว่างด้วยมรรคญาณ (ขุ.ธ.อ. ๖/๓๗) @ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๕๒/๔๓๐, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๘๗๑/๔๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๓. โลกวรรค ๘. ติงสภิกขุวัตถุ

๖. อังคุลิมาลเถรวัตถุ
เรื่องพระองคุลิมาลเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๗๓] บาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล๑- ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น
๗. เปสการธีตาวัตถุ
เรื่องธิดานายช่างหูก
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ธิดาของนายช่างหูก ดังนี้) [๑๗๔] โลกนี้มืดมน๒- คนในโลกนี้น้อยคนนักจักเห็นแจ้ง น้อยคนนักจักไปสวรรค์๓- เหมือนนกติดข่าย น้อยตัวนักที่จะพ้นจากข่าย ฉะนั้น
๘. ติงสภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุ ๓๐ รูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระอานนทเถระ ดังนี้) [๑๗๕] ฝูงหงส์บินไปทางดวงอาทิตย์๔- ได้ ท่านที่เจริญอิทธิบาทดีแล้ว ไปทางอากาศด้วยฤทธิ์ได้ ส่วนนักปราชญ์ทั้งหลายชนะมารพร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมออกไปจากโลกได้๕- @เชิงอรรถ : @ กุศล ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมรรค (ขุ.ธ.อ. ๖/๓๘) และดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๕๒/๔๓๐, @ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๘๗๒/๔๘๓ @ โลกนี้มืดมน หมายถึงโลกิยมหาชนในโลกนี้ เป็นผู้มืดบอด เพราะไม่มีปัญญาจักษุ (ขุ.ธ.อ. ๖/๔๓) @ หมายถึงมีน้อยคนที่จะเห็นแจ้งไตรลักษณ์ ที่จะไปสุคติภูมิ หรือที่จะบรรลุนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๖/๔๓) @ ทางดวงอาทิตย์ หมายถึงทางอากาศ (ขุ.ธ.อ. ๖/๔๕) @ ออกไปจากโลก ในที่นี้หมายถึงออกไปจากวัฏฏะ กล่าวคือบรรลุนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๖/๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๓. โลกวรรค ๑๑. อนาถปิณฑิกปุตตกาลวัตถุ

๙. จิญจมาณวิกาวัตถุ
เรื่องนางจิญจมาณวิกา
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๗๖] บุคคลผู้ล่วงละเมิดธรรมอย่างหนึ่ง๑- ผู้มักกล่าวเท็จ ปฏิเสธปรโลก จะไม่ทำบาปไม่มี
๑๐. อสทิสทานวัตถุ
เรื่องอสทิสทาน
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระเจ้าปเสนทิโกศลและเหล่าอำมาตย์ ดังนี้) [๑๗๗] พวกคนตระหนี่ไปเทวโลกไม่ได้เลย พวกคนพาลไม่สรรเสริญการให้ทาน ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาการให้ทาน เพราะเหตุนั้นแล เขาจึงได้รับสุขในปรโลก
๑๑. อนาถปิณฑิกปุตตกาลวัตถุ
เรื่องนายกาละบุตรของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี ดังนี้) [๑๗๘] โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในแผ่นดิน กว่าการไปสู่สวรรค์ หรือกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง๒-
โลกวรรคที่ ๑๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมอย่างหนึ่ง ในที่นี้หมายถึงสัจจะ (ขุ.ธ.อ. ๖/๕๐) @ ความเป็นเอกราชในแผ่นดิน การไปสู่สวรรค์ และความเป็นใหญ่ในโลก ยังไม่พ้นจากอบายภูมิมีนรกเป็นต้น @แต่โสดาปัตติผลเป็นธรรมปิดกั้นประตูอบายภูมิได้ (ขุ.ธ.อ. ๖/๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๘๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๘๕-๘๘. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=22              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=721&Z=747                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=23              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=23&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=23&A=542              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=23&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=23&A=542                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i023-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i023-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.13.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.13.budd.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.13x.olen.html https://suttacentral.net/dhp167-178/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp167-178/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp167-178/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :