ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๑. ยมกวรรค ๑. จักขุปาลเถรวัตถุ

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ธรรมบท
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ยมกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน
๑. จักขุปาลเถรวัตถุ
เรื่องพระจักขุบาลเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑] ธรรมทั้งหลาย๑- มีใจ๒- เป็นหัวหน้า๓- มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าคนมีใจชั่ว ก็จะพูดชั่วหรือทำชั่วตามไปด้วย เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมติดตามเขาไป เหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น @เชิงอรรถ : @ ธรรมทั้งหลาย มีความหมาย ๔ ประการ คือ (๑) คุณธรรม (๒) เทศนาธรรม (๓) ปริยัติธรรม @(๔) นิสสัตตธรรม (สภาวะที่มิใช่สัตว์) หรือนิชชีวธรรม (สภาวะที่มิใช่ชีวะ) ในที่นี้หมายถึงนิสสัตตธรรม @ได้แก่ อรูปขันธ์ ๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ (ขุ.ธ.อ. ๑/๒๐-๒๑) และดู ขุ.ชา. (แปล) @๒๗/๓๘๖/๕๓๗ ประกอบ @ ใจ หมายถึงจิต ๔ ระดับ คือ จิตระดับกามาวจรภูมิ จิตระดับรูปาวจรภูมิ จิตระดับอรูปาวจรภูมิ และ @จิตระดับโลกุตตรภูมิ แต่ในที่นี้หมายเอาจิตที่มีโทมนัสประกอบด้วยปฏิฆะ เดิมทีเดียว จิตนั้นเป็นภวังคจิต @คือเป็นจิตที่ผ่องใส(ปภัสสรจิต) แต่เมื่อถูกเจตสิกธรรมฝ่ายชั่วกล่าวคืออุปกิเลสธรรมจรมากระทบเข้า ก็กลาย @เป็นจิตเศร้าหมองที่เรียกว่า ใจชั่ว ซึ่งพร้อมที่จะแสดงพฤติกรรมออกมาทางกายและวาจา (ขุ.ธ.อ. ๑/๒๐) @ เป็นหัวหน้า หมายถึงเป็นหัวหน้าของเจตสิกธรรม กล่าวคือเป็นเหตุปัจจัยให้เจตสิกธรรมเกิดขึ้น (ขุ.ธ.อ. ๑/๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๑. ยมกวรรค ๓. ติสสเถรวัตถุ

๒. มัฏฐกุณฑลีวัตถุ
เรื่องนายมัฏฐกุณฑลี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่อทินนปุพพกพราหมณ์บิดาของนายมัฏฐกุณฑลี ดังนี้) [๒] ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าคนมีใจดี ก็จะพูดดีหรือทำดีตามไปด้วย เพราะความดีนั้น สุขย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาติดตามตัวเขาไป ฉะนั้น๑-
๓. ติสสเถรวัตถุ๒-
เรื่องพระติสสเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓] ชนเหล่าใด เข้าไปผูกเวรว่า “คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป” เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่สงบระงับ @เชิงอรรถ : @ ความหมายของธรรมบทข้อที่ ๒ นี้มีนัยตรงกันข้ามกับธรรมบทข้อที่ ๑ ดูเทียบเชิงอรรถหน้า ๒๓ @และดู ขุ.ธ.อ. ๑/๓๒-๓๔ ประกอบ @ ธรรมบทข้อ ๓-๖ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๔/๓๕๔, ม.อุ. ๑๔/๒๓๗/๒๐๓-๒๐๔, @ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๑๑๓-๑๑๕/๒๒๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๑. ยมกวรรค ๕. โกสัมพิกวัตถุ

[๔] ส่วนชนเหล่าใด ไม่เข้าไปผูกเวรว่า “คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป” เวรของชนเหล่านั้น ย่อมสงบระงับ
๔. กาลียักขินีวัตถุ
เรื่องนางยักษ์ชื่อกาลี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่นางยักษ์ชื่อกาลีและหญิงคนหนึ่ง ดังนี้) [๕] เพราะว่าในกาลไหนๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่สงบระงับด้วยเวร๑- แต่เวรทั้งหลายย่อมสงบระงับด้วยการไม่จองเวร๒- นี้เป็นธรรมเก่า๓-
๕. โกสัมพิกวัตถุ
เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีผู้ทะเลาะกัน ดังนี้) [๖] ชนเหล่าอื่น๔- ไม่รู้ชัดว่า “พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ ณ ที่นี้” ส่วนชนเหล่าใด๕- ในหมู่นั้น รู้ชัด ความมุ่งร้ายกันย่อมระงับ เพราะการปฏิบัติของชนเหล่านั้น @เชิงอรรถ : @ เวรนั้นนอกจากจะไม่สงบระงับแล้วยังกลับเพิ่มพูนเวรต่อกันให้มากขึ้น เปรียบเหมือนการใช้น้ำสกปรก @ชำระล้างสิ่งสกปรกก็ยิ่งเพิ่มพูนความสกปรกมากขึ้นฉะนั้น (ขุ.ธ.อ. ๑/๔๕) @ การไม่จองเวร หมายถึงธรรมคือขันติ(ความอดทน) เมตตา(ความรัก) โยนิโสมนสิการ(การพิจารณาโดย @แยบคาย) และปัจจเวกขณะ(การพิจารณา) (ขุ.ธ.อ. ๑/๔๕) @ เป็นธรรมเก่า หมายถึงเป็นทางปฏิบัติเพื่อสงบระงับเวรที่ประพฤติสืบๆ กันมาของพระพุทธเจ้า @พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพ (ขุ.ธ.อ. ๑/๔๕) @ ชนเหล่าอื่น หมายถึงคนที่สร้างความแตกแยกในหมู่ (ขุ.ธ.อ. ๑/๕๘) @ ชนเหล่าใด หมายถึงบัณฑิต (ขุ.ธ.อ. ๑/๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๑. ยมกวรรค ๗. เทวทัตตวัตถุ

๖. มหากาลเถรวัตถุ
เรื่องพระมหากาลเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๗] มาร๑- ย่อมครอบงำบุคคลผู้พิจารณาเห็นความงาม๒- ไม่สำรวมอินทรีย์ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อน เหมือนพายุพัดต้นไม้ที่ไม่มั่นคงให้หักโค่นลงได้ ฉะนั้น [๘] มารย่อมไม่ครอบงำบุคคลผู้ไม่พิจารณาเห็นความงาม สำรวมอินทรีย์ดีแล้ว รู้จักประมาณในการบริโภค มีศรัทธา และปรารภความเพียร เหมือนพายุพัดโค่นภูเขาศิลาไม่ได้ ฉะนั้น
๗. เทวทัตตวัตถุ
เรื่องพระเทวทัต
(พระผู้มีพระภาคทรงปรารภพระเทวทัตที่ได้ผ้ากาสาวะมีราคามากจากแคว้น คันธาระ จึงตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุชาวเมืองราชคฤห์ ดังนี้) [๙] ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด๓- ปราศจากทมะและสัจจะ๔- @เชิงอรรถ : @ มาร ในที่นี้หมายถึงกิเลสมาร (ขุ.ธ.อ. ๑/๖๖) @ พิจารณาเห็นความงาม ในที่นี้หมายถึงอยู่อย่างปล่อยใจไปในอิฏฐารมณ์ เช่น ยึดถือว่าเล็บงาม นิ้วงาม @เท้างาม เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๑/๖๗) @ กิเลสดุจน้ำฝาด หมายถึงกิเลสดุจน้ำย้อม ได้แก่ ราคะ (ความกำหนัด) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) โมหะ @(ความหลง) มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ความตีเสมอ) อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ความ @ตระหนี่) มายา (มารยา) สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ความถือตัว) @อติมานะ (ความดูหมิ่น) มทะ (ความัวเมา) ปมาทะ (ความประมาท) อกุศลทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง กรรมนำ @สัตว์ไปเกิดในภพทั้งปวง และกิเลสพันห้า (ขุ.ธ.อ. ๑/๗๑, ขุ.ชา.อ. ๓/๑๔๑/๒๖๑-๒๖๔) @ ในที่นี้ ทมะ หมายถึงการฝึกอินทรีย์ สัจจะ หมายถึงวจีสัจจะ (ขุ.ธ.อ. ๑/๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๑. ยมกวรรค ๘. สัญชยวัตถุ

จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ผู้นั้นไม่ควรที่จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะเลย [๑๐] ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาด ตั้งมั่นดีแล้วในศีล๑- ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแลควรที่จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะได้๒-
๘. สัญชยวัตถุ
เรื่องสัญชัยปริพาชก
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๑] ชนเหล่าใดเห็นสิ่งที่ไม่มีสาระ๓- ว่ามีสาระ และเห็นสิ่งที่มีสาระ๔- ว่าไม่มีสาระ ชนเหล่านั้น ชื่อว่ามีความดำริผิดเป็นทางปฏิบัติ ย่อมไม่ประสบสิ่งที่มีสาระ๕- [๑๒] ส่วนชนเหล่าใดที่รู้สิ่งที่มีสาระว่ามีสาระ และรู้สิ่งที่ไม่มีสาระว่าไม่มีสาระ ชนเหล่านั้น ชื่อว่ามีความดำริชอบเป็นทางปฏิบัติ ย่อมประสบสิ่งที่มีสาระ @เชิงอรรถ : @ ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ (ขุ.ธ.อ. ๑/๗๔) @ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๙๖๙-๙๗๐/๔๙๘, ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๑๔๑-๑๔๒/๑๐๒, ๑๒๒-๑๒๓/๕๕๘ @ สิ่งที่ไม่มีสาระ หมายถึงปัจจัย ๔ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ และธรรมเทศนาที่ส่งเสริมมิจฉาทิฏฐินั้น @(ขุ.ธ.อ. ๑/๑๐๔) @ สิ่งที่มีสาระ หมายถึงสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ และธรรมเทศนาที่ส่งเสริมสัมมาทิฏฐินั้น (ขุ.ธ.อ. ๑/๑๐๔) @ สาระ ในที่นี้หมายถึงสีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ วิมุตติสาระ วิมุตติญาณทัสสนสาระ ปรมัตถสาระ @และนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๑/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑. ยมกวรรค ๑๐. จูนทสูกริกวัตถุ

๙. นันทเถรวัตถุ
เรื่องพระนันทเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๓] ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ ฉันใด ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรม๑- ได้ ฉันนั้น [๑๔] ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ ฉันใด ราคะย่อมรั่วรดจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ ฉันนั้น๒-
๑๐. จุนทสูกริกวัตถุ
เรื่องนายจุนทะฆ่าสุกร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๕] ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ตายไปแล้วก็ยังเศร้าโศกในโลกหน้า ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เขาย่อมเศร้าโศกเดือดร้อน เพราะเห็นกรรมที่เศร้าหมองของตน @เชิงอรรถ : @ จิตที่ไม่ได้อบรม หมายถึงจิตที่ไม่ได้อบรมด้วยสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ในคาถานี้หาใช่หมายเอา @เฉพาะราคะเท่านั้นไม่ที่รั่วรดจิต แต่ยังหมายเอากิเลสทั้งปวง มีโทสะ และโมหะ เป็นต้นด้วย @(ขุ.ธ.อ. ๑/๑๑๓) @ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๓๓-๑๓๔/๓๕๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑. ยมกวรรค ๑๓. สุมนาเทวีวัตถุ

๑๑. ธัมมิกอุปาสกวัตถุ
เรื่องอุบาสกผู้ประพฤติธรรม
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๖] ผู้ทำบุญไว้ ย่อมบันเทิงใจในโลกนี้ ตายไปแล้วก็ยังบันเทิงใจในโลกหน้า ชื่อว่าบันเทิงใจในโลกทั้งสอง เขาย่อมบันเทิงรื่นเริงใจเพราะเห็นกรรมที่บริสุทธิ์ของตน
๑๒. เทวทัตตวัตถุ
เรื่องพระเทวทัต
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๗] ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ ตายไปแล้วก็ยังเดือดร้อนในโลกหน้า ชื่อว่าเดือดร้อนในโลกทั้งสอง เขาย่อมเดือดร้อนใจว่า “เราได้ทำบาปไว้แล้ว” ครั้นไปสู่ทุคติ เขายิ่งเดือดร้อนมากขึ้น
๑๓. สุมนาเทวีวัตถุ
เรื่องนางสุมนาเทวี
(พระผู้มีพระภาคทรงปรารภนางสุมนาเทวีธิดาคนเล็กของเศรษฐีซึ่งเสียชีวิตจึง ตรัสพระคาถานี้แก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี ดังนี้) [๑๘] ผู้ทำบุญไว้ ย่อมเพลิดเพลินใจในโลกนี้ ตายไปแล้วก็ยังเพลิดเพลินใจในโลกหน้า ชื่อว่าเพลิดเพลินใจในโลกทั้งสอง เขาย่อมเพลิดเพลินใจว่า “เราได้ทำบุญไว้แล้ว” ครั้นไปสู่สุคติ เขายิ่งเพลิดเพลินใจมากขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑. ยมกววค ๑๔. เทฺวสหายกภิกขุวัตถุ

๑๔. เทฺวสหายกภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุสองสหาย
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๙] คนที่กล่าวพุทธพจน์๑- แม้มาก แต่มัวประมาท ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ย่อมไม่ได้รับผลแห่งความเป็นสมณะ๒- เหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโคได้แต่นับโคให้คนอื่น ฉะนั้น [๒๐] คนที่กล่าวพุทธพจน์แม้น้อย แต่ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นปกติ๓- ละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว รู้ชอบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ไม่ยึดติดในโลกนี้และโลกหน้า๔- เขาย่อมได้รับผลแห่งความเป็นสมณะ
ยมกวรรคที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ พุทธพจน์ ในที่นี้หมายถึงพระไตรปิฎก (ขุ.ธ.อ. ๑/๑๔๗) @ ผลแห่งความเป็นสมณะ หมายถึงมรรค ๔ ผล ๔ (ขุ.ธ.อ. ๑/๑๔๗) @ ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ในที่นี้หมายถึงประพฤติธรรม คือ ปาริสุทธิศีล ๔ ประการ ธุดงค์ ๑๓ ประการ @และอสุภกัมมัฏฐาน เป็นต้น ซึ่งเป็นธรรมที่ควรแก่การบรรลุโลกุตตรธรรม ๙ ประการ (ขุ.ธ.อ. ๑/๑๔๘) @ ไม่ยึดติดในโลกนี้และโลกหน้า ในที่นี้หมายถึงไม่ถือมั่นขันธ์ ธาตุ และอายตนะทั้งภายในภายนอก ในโลก @นี้และโลกหน้าด้วยอุปาทาน ๔ ประการ (ขุ.ธ.อ. ๑/๑๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๓-๓๐. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=268&Z=329                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=11&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=18&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=11&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=18&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i011-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i011-02-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i011-03-e2.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i011-04-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i011-05-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.intro.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.01.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.intro.budd.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.01.budd.html https://suttacentral.net/dhp1-20/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp1-20/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp1-20/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :