ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๕. ฌานสูตร

๕. ฌานสูตร
ว่าด้วยฌาน
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ๑. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้๑- เพราะอาศัยปฐมฌาน ๒. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน ๓. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน ๔. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน ๕. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌาน ๖. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌาน ๗. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌาน ๘. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ๙. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็น๒- ธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็น ดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อม ทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น๓- ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ๔- ว่า ‘ภาวะ @เชิงอรรถ : @ อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่เรียกว่า “อรหัต” (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙) @ พิจารณาเห็น ในที่นี้หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาอันแรงกล้า (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙) @ ธรรมเหล่านั้น ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙) @ อมตธาตุ หมายถึงนิพพาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๕. ฌานสูตร

ที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน‘๑- เธอดำรงอยู่ใน ปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย๒- หากยังไม่บรรลุความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับ มาจากโลกนั้นอีก๓- ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไป ที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกาม และอกุศลธรรม ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ ขัดข้อง เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ใน ปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจาก โลกนั้นอีก เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดู ม.ม. ๑๓/๑๓๓/๑๐๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๐/๔๐๕-๔๑๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๖๕/๒๔๕-๒๔๘ @ หมายถึงดำรงอยู่ในปฐมฌานเจริญวิปัสสนาอันแรงกล้าแล้วบรรลุอรหัตตผล (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙) @ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖/๔๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๕. ฌานสูตร

เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ ไปก่อนแล้ว เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดัง คนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้ กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมบรรลุ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะ เป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน ในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่ หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อม พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น ฯลฯ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน- ฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดย กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๕. ฌานสูตร

วิญญาณที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ ขัดข้อง เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ใน อากาสานัญจายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่ บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่ หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ฯลฯ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน- ฌาน’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ’ อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตน- ฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน- ฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๕. ฌานสูตร

พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ใน อากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดังคน ฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้ กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความ ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่ หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ใน อากิญจัญญายตนฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดัง คนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้ กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความ ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌาน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๑๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๖. อานันทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามานี้แล สัญญาสมาบัติ มีอยู่เท่าใด สัญญาปฏิเวธ ก็มีอยู่เท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ ประการนี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตน- สมาบัติ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่างก็อาศัยกันและกัน เรากล่าวว่า ภิกษุผู้ได้ฌาน ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าออกแล้ว พึงกล่าว อายตนะ ๒ ประการนี้ไว้โดยชอบ
ฌานสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๐๘-๕๑๓. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=199              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9041&Z=9145                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=240              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=240&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6959              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=240&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6959                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i236-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an09/an09.036.than.html https://suttacentral.net/an9.36/en/sujato https://suttacentral.net/an9.36/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :