ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
ว่าด้วยเจ้าลิจฉวีกุมาร
[๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาตหลังจาก เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังป่ามหาวัน ประทับนั่งพักผ่อน กลางวัน ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง @เชิงอรรถ : @ ธรรมที่ไม่มีอุปธิกิเลส ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๗/๓๑) @ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงบรรพชา (การบวช) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๗/๓๑) @ ประพฤติไม่ถอยหลัง ในที่นี้หมายถึงไม่ถอยหลังจากบรรพชา จากการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ @และจากพระสัพพัญญุตญาณ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๗/๓๑) @ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงมรรคพรหมจรรย์ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นโลกุตตระ @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๗/๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. นีวรณวรรค ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร

สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีกุมารหลายพระองค์ถือธนูที่ขึ้นสาย มีฝูงสุนัขแวดล้อมเดิน เที่ยวไปในป่ามหาวัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง จึงวาง ธนูที่ขึ้นสายไว้แล้ว ปล่อยฝูงสุนัขไป ณ ที่สมควร พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ต่างนั่งนิ่งประคองอัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีนามว่ามหานามะเดินพักผ่อนอยู่ในป่ามหาวัน ได้เห็นเจ้า ลิจฉวีกุมารเหล่านั้นผู้ต่างนั่งนิ่งประคองอัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค จึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เปล่งอุทานว่า “เจ้าวัชชีจักเจริญ เจ้าวัชชีจักเจริญ” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า มหานามะ เพราะเหตุไร เธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เจ้าวัชชีจักเจริญ เจ้าวัชชีจักเจริญ” เจ้ามหานามะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ เป็นผู้ ดุร้าย หยาบคาย กระด้าง ของขวัญต่างๆ คือ อ้อย พุทรา ขนม ขนมต้ม หรือ ขนมแดกงาที่เขาส่งไปในตระกูลทั้งหลาย เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ก็แย่งชิงเอาไปกิน ถีบหลังกุลสตรีบ้าง กุลกุมารีบ้าง แต่บัดนี้ เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ต่างนั่งนิ่งประคอง อัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหานามะ กุลบุตรคนใด เป็นกษัตราธิราชผู้ได้รับ มูรธาภิเษก๑- แล้วก็ตาม เป็นผู้ปกครองรัฐซึ่งรับมรดกจากบิดาก็ตาม เป็นอัคร- เสนาบดีก็ตาม เป็นผู้ใหญ่บ้านก็ตาม เป็นหัวหน้าคณะก็ตาม เป็นใหญ่เฉพาะตระกูล ก็ตาม มีธรรม ๕ ประการนี้ กุลบุตรนั้นพึงหวังได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความ เสื่อมเลย ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชามารดาบิดาด้วย โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วย น้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม @เชิงอรรถ : @ มูรธาภิเษก หมายถึงน้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษก หรือพระราชพิธีอื่นๆ (พจนานุกรม ฉบับ @ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. นีวรณวรรค ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร

มารดาบิดาผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์ กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอเจ้าจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน’ กุลบุตรผู้อันมารดาบิดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้ความเจริญอย่าง เดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ๒. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาบุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคนใช้ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยัน หมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคนใช้ผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อม อนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอท่านจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน’ กุลบุตรผู้อันบุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคน ใช้อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความ เสื่อมเลย ๓. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเพื่อนชาวนา และ เพื่อนร่วมงานด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เพื่อนชาวนา และเพื่อนร่วมงานผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงาม ว่า ‘ขอเพื่อนจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน’ กุลบุตรผู้อันเพื่อน ชาวนา และเพื่อนร่วมงานอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้ความเจริญ อย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ๔. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเทวดาผู้รับพลีกรรม ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวม ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย ธรรม เทวดาผู้รับพลีกรรม ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอท่านจงมีชีวิต ยืนนาน มีอายุยืนนาน’ กุลบุตรผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวัง ได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๐๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. นีวรณวรรค ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร

๕. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาสมณพราหมณ์ด้วย โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วย น้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม สมณพราหมณ์ผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อม อนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอท่านจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน ‘กุลบุตรผู้อันสมณพราหมณ์อนุเคราะห์แล้ว พึงหวัง ได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย มหานามะ กุลบุตรคนใด เป็นกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ตาม เป็นผู้ ปกครองรัฐซึ่งรับมรดกจากบิดาก็ตาม เป็นอัครเสนาบดีก็ตาม เป็นผู้ใหญ่บ้านก็ตาม เป็นหัวหน้าคณะก็ตาม เป็นใหญ่เฉพาะตระกูลก็ตาม มีธรรม ๕ ประการนี้ พึงหวัง ได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย กุลบุตรผู้มีศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอ๑- ช่วยทำกิจของมารดาบิดา เกื้อกูลบุตร ภรรยา ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่คนทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ชนภายในและชนผู้อาศัยบุคคลนั้นอยู่ กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตเมื่ออยู่ครองเรือนโดยธรรม ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ญาติทั้งที่ล่วงลับไปแล้ว และที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่สมณพราหมณ์และเทวดา กุลบุตรนั้น ครั้นบำเพ็ญกัลยาณธรรมแล้ว เป็นผู้ควรบูชา เป็นผู้ควรสรรเสริญ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์”
ลิจฉวิกุมารกสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๖ (กาลทานสูตร) หน้า ๕๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๐๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๐๔-๑๐๗. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=58              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=1742&Z=1812                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=58              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=58&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=711              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=58&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=711                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i051-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an5.58/en/sujato https://suttacentral.net/an5.58/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :