ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. นารทสูตร
ว่าด้วยพระนารทะ
[๕๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระนารทะอยู่ที่กุกกุฏาราม เขตกรุงปาตลีบุตร ก็สมัยนั้น พระนางภัททาราชเทวีผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามุณฑะ สวรรคตแล้ว เมื่อพระนางภัททาราชเทวีสวรรคตแล้ว พระองค์ก็ไม่สรงสนาน ไม่แต่ง พระองค์ ไม่เสวยพระกระยาหาร ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ซบอยู่ที่ พระศพของพระนางตลอดคืนตลอดวัน ลำดับนั้น พระเจ้ามุณฑะได้รับสั่งเรียก มหาอำมาตย์ชื่อว่าโสการักขะผู้เป็นที่รักมาตรัสว่า “ท่านโสการักขะ ผู้เป็นที่รัก ท่านจงยกพระศพพระนางภัททาราชเทวีใส่ไว้ในรางเหล็กที่เต็มด้วยน้ำมันแล้วเอา รางเหล็กอื่นปิดไว้ เพื่อเราจะได้เห็นศพพระนางให้นานๆ” โสการักขะมหาอำมาตย์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว จึงจัดการยก พระศพพระนางใส่ไว้ในรางเหล็กที่เต็มไปด้วยน้ำมันแล้วเอารางเหล็กอื่นปิดไว้ @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูความเต็มในข้อ ๔๘ (ฐานสูตร) หน้า ๗๘-๘๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๘๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร

ครั้งนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ได้มีความคิดว่า “พระนางภัททาราชเทวี ผู้เป็น ที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามุณฑะนี้ได้สวรรคตแล้ว เมื่อพระนางสวรรคต พระราชาก็ไม่สรงสนาน ไม่แต่งพระองค์ ไม่เสวยพระกระยาหาร ไม่ทรงประกอบ พระราชกรณียกิจ ทรงซบอยู่ที่พระศพของพระนางตลอดคืนตลอดวัน พระองค์พึง เสด็จเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์รูปไหนหนอ ทรงสดับธรรมแล้ว จะพึงละลูกศร คือความโศกได้” ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ได้คิดต่อไปว่า “ท่านพระนารทะรูปนี้ อยู่ที่กุกกุฏาราม เขตกรุงปาตลีบุตร กิตติศัพท์อันงามของท่านขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต กล่าวถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี เป็นพระผู้ใหญ่ และเป็นพระอรหันต์’ จึงควรที่พระเจ้ามุณฑะจะเสด็จ เข้าไปหาท่าน เพื่อบางทีได้ทรงสดับธรรมของท่านแล้ว จะทรงละลูกศรคือความโศก ได้บ้าง” ต่อมา โสการักขะมหาอำมาตย์ ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้ามุณฑะแล้วกราบทูลว่า “ขอเดชะ ท่านพระนารทะรูปนี้อยู่ที่กุกกุฏาราม เขตกรุงปาตลีบุตร กิตติศัพท์ อันงามของท่านพระนารทะขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เป็น นักปราชญ์ เป็นพหูสูต กล่าวถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี เป็นพระผู้ใหญ่ และเป็น พระอรหันต์’ จึงควรที่พระองค์จะเสด็จเข้าไปหาท่าน เพื่อบางทีพระองค์ได้ทรงสดับ ธรรมของท่านแล้วจะทรงละลูกศรคือความโศกได้บ้าง” พระเจ้ามุณฑะจึงรับสั่งว่า “ท่านอำมาตย์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปกราบเรียน ท่านพระนารทะให้ทราบก่อน เพราะกษัตริย์เช่นเราพึงเข้าใจว่า สมณะหรือพราหมณ์ ที่อยู่ในราชอาณาจักร ยังไม่ได้แจ้งให้ทราบก่อนจะพึงเข้าไปหาได้อย่างไร” มหาอำมาตย์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ได้เข้าไปพบท่านพระ นารทะถึงที่อยู่ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนว่า “ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ พระนางภัททาราชเทวีผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามุณฑะนี้ ได้สวรรคตแล้ว เมื่อพระนางสวรรคต พระราชาก็ไม่สรงสนาน ไม่แต่งพระองค์ ไม่เสวยพระยาหาร ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทรงซบอยู่ที่พระศพของ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๘๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร

พระนางภัททาราชเทวีตลอดคืนตลอดวัน ขอท่านพระนารทะโปรดแสดงธรรมแก่ พระราชา โดยที่พระองค์ได้สดับธรรมของท่านแล้วจะทรงละลูกศรคือความโศกได้” ท่านพระนารทะจึงกล่าวว่า “มหาอำมาตย์ บัดนี้ ขอให้พระราชาทรงทราบ เวลาที่สมควร’ ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทท่านพระนารทะ ทำประทักษิณแล้ว ได้ไปเฝ้าพระเจ้ามุณฑะกราบทูลว่า “ขอเดชะ ท่านพระนารทะได้ เปิดโอกาสให้เสด็จไปแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์ทรงทราบเวลาที่สมควรเถิด พระเจ้าข้า” พระเจ้ามุณฑะรับสั่งว่า “ท่านอำมาตย์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้พนักงานตระ เตรียมพาหนะอย่างดีไว้” มหาอำมาตย์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ให้พนักงานตระเตรียม พระราชพาหนะอย่างดีไว้เสร็จแล้วจึงกราบทูลว่า “ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้ พนักงานตระเตรียมพระราชพาหนะอย่างดีไว้เสร็จแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์ทรงทราบ เวลาที่สมควรเถิด พระเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระเจ้ามุณฑะเสด็จพระราชดำเนินไปสู่กุกกุฏารามเพื่อพบท่าน พระนารทะ ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ เสด็จไปเท่าที่พระราชพาหนะจะไปได้ เมื่อ เสด็จถึงแล้ว ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปยังอาราม ทรงเข้าไปพบท่านพระนารทะ ทรงถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระนารทะจึงได้ถวายพระพร ท้าวเธอว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้ ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่ ๒. ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้ ๓. ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตาย ๔. ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไป ๕. ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา อย่าฉิบหาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร

สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความ แก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็น ธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์ ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่ เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็ จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็น ธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงแล้ว ย่อมทำตน นั่นเองให้เดือดร้อน สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี ความตายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหาย ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเรา คนเดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของสัตว์ ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความ ฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความ ฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษ ทิ่มแทงแล้ว ย่อมทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน ส่วนสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มี ความแก่ไปเป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มี ความแก่เป็นธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร

ของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มี ความแก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มี ความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศร คือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน อริยสาวก ผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี ความตายเป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาฉิบ หายไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา ของเราคนเดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มี ความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มี ความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ทำตนเองให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง ขอถวายพระพร มหาบพิตร ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้ ท่านพระนารทะ ครั้นกล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๘๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร

ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้ ใครๆ ย่อมไม่ได้ด้วยความเศร้าโศก ย่อมไม่ได้ด้วยความคร่ำครวญ พวกศัตรูทราบว่า เขาเศร้าโศก เป็นทุกข์ ย่อมดีใจ แต่ในกาลใด บัณฑิตฉลาดในการวินิจฉัยเหตุผล ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย ในกาลนั้น พวกศัตรูเห็นหน้าซึ่งไม่ผิดปกติ ของบัณฑิตนั้น ผู้ยังยิ้มแย้มตามเคย ย่อมเป็นทุกข์ บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใดๆ ด้วยวิธีใดๆ คือด้วยการสรรเสริญ ด้วยการร่ายมนตร์ ด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ด้วยการให้ หรือด้วยการอ้างประเพณี ก็พึงบากบั่นในที่นั้นๆ ด้วยวิธีนั้นๆ ถ้าทราบว่า ‘ประโยชน์นี้ เราหรือคนอื่นไม่พึงได้’ เธอผู้ไม่เศร้าโศก ควรอดทนโดยพิจารณาว่า ‘เราได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นแล้ว บัดนี้ เราจะทำอย่างไร’ เมื่อท่านพระนารทะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้ามุณฑะได้ตรัสถามว่า “ธรรม บรรยายนี้ชื่ออะไร” ท่านพระนารทะถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร ธรรม บรรยายนี้ชื่อเหตุถอนลูกศรคือความโศก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๘๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระเจ้ามุณฑะตรัสชมว่า “ท่านผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้เป็นเหตุถอนลูกศรคือ ความโศกได้อย่างแท้จริง ท่านผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้เป็นเหตุถอนลูกศรคือความ โศกได้อย่างแท้จริง เพราะได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ข้าพเจ้าจึงละลูกศรคือความโศกได้” ลำดับนั้น พระเจ้ามุณฑะได้รับสั่งโสการักขะมหาอำมาตย์ว่า “ท่านจงถวาย พระเพลิงพระศพของพระนางภัททาราชเทวีแล้วทำเป็นสถูปไว้ ตั้งแต่วันนี้ไป เราจัก อาบน้ำแต่งตัว บริโภคอาหาร และประกอบการงาน”
นารทสูตรที่ ๑๐ จบ
มุณฑราชวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาทิยสูตร ๒. สัปปุริสสูตร ๓. อิฏฐสูตร ๔. มนาปทายีสูตร ๕. ปุญญาภิสันทสูตร ๖. สัมปทาสูตร ๗. ธนสูตร ๘. ฐานสูตร ๙. โกสลสูตร ๑๐. นารทสูตร
ปฐมปัณณาสก์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๘๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๘๒-๘๘. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=50              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=1319&Z=1460                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=50              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=50&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=612              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=50&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=612                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i041-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an5.50/en/sujato https://suttacentral.net/an5.50/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :