ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๒. สามัญวรรค ๑. กายานุปัสสีสูตร

๑๒. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมทั่วไป
๑. กายานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยผู้ควรเจริญกายานุปัสสนา
[๑๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน๑- ๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย ๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นกาย ในกายอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน ๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย @เชิงอรรถ : @ การงาน หมายถึงการทำจีวร เย็บปะจีวร ทำถลกบาตร อังสะ ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ การทำเชิงบาตร @ผ้าเช็ดเท้า ไม้กวาด เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๘๙/๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๓๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๒. สามัญวรรค ๒. ธัมมานุปัสสีสูตร

๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ๔. ความเป็นชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
กายานุปัสสีสูตรที่ ๑ จบ
๒. ธัมมานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยผู้ควรเจริญธรรมานุปัสสนา
[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณา เห็นกายในกายอันเป็นภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอันเป็นภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นจิตใน จิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอันเป็นภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอัน เป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมทั้งหลายอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๓๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๒. สามัญวรรค ๒. ธัมมานุปัสสีสูตร

ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน ๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย ๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน ฯลฯ ๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่
ธัมมานุปัสสีสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๔๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๒. สามัญวรรค ๔-๒๓. ภัลลิกาทิสูตร

๓. ตปุสสสูตร
ว่าด้วยตปุสสคหบดี
[๑๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคหบดีประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้เชื่อมั่นในตถาคต๑- เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพุทธเจ้า ๒. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในธรรม ๓. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในสงฆ์ ๔. อริยศีล ๕. อริยญาณ ๖. อริยวิมุตติ ภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคหบดีประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้เชื่อมั่นในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่
ตปุสสสูตรที่ ๓ จบ
๔-๒๓. ภัลลิกาทิสูตร
ว่าด้วยภัลลิกคหบดีเป็นต้น
[๑๒๐-๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ภัลลิกคหบดี ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ฯลฯ สุทัตตอนาถบิณฑิกคหบดี ฯลฯ จิตตคหบดีชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ฯลฯ หัตถกคหบดีชาวเมืองอาฬวี ฯลฯ เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ ฯลฯ อุคค- คหบดีชาวเมืองเวสาลี ฯลฯ อุคคตคหบดี ฯลฯ สูรอัมพัฏฐคหบดี ฯลฯ หมอชีวก โกมารภัจจ์ ฯลฯ นกุลปิตาคหบดี ฯลฯ ตวกัณณิกคหบดี ฯลฯ ปูรณคหบดี ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เป็นผู้เชื่อมั่นในตถาคต หมายถึงมีจิตตั้งมั่นดีหมดความสงสัยในพระคุณของพระพุทธเจ้า @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑๙-๑๒๑/๑๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๔๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ราคเปยยาล

อิสิทัตตคหบดี ฯลฯ สันธานคหบดี ฯลฯ วิชัยคหบดี ฯลฯ วัชชิยมหิตคหบดี ฯลฯ เมณฑกคหบดี ฯลฯ วาเสฏฐอุบาสก ฯลฯ อริฏฐอุบาสก ฯลฯ สาทัตตอุบาสก ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้เชื่อมั่นในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้ง อมตธรรมอยู่ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพุทธเจ้า ๒. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในธรรม ๓. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในสงฆ์ ๔. อริยศีล ๕. อริยญาณ ๖. อริยวิมุตติ ภิกษุทั้งหลาย สาทัตตอุบาสกประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ เชื่อมั่นในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่
ภัลลิกาทิสูตรที่ ๔-๒๓ จบ
ราคเปยยาล
[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม) ๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม) ๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม) ๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม) ๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม) ๖. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๔๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ราคเปยยาล

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑) [๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า) ๒. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม) ๓. สังฆานุสสติ (การระลึกถึงพระสงฆ์) ๔. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล) ๕. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค) ๖. เทวตานุสสติ (การระลึกถึงเทวดา) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒) [๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการ๑- อะไรบ้าง คือ ๑. อนิจจสัญญา ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา ๔. ปหานสัญญา ๕. วิราคสัญญา ๖. นิโรธสัญญา ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๓) [๑๔๓-๑๖๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๖ ประการ เพื่อกำหนดรู้ราคะ ... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๓๕ (วิชชาภาคิยสูตร) หน้า ๔๘๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ราคเปยยาล

... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ ... เพื่อความดับไปแห่งราคะ ... เพื่อความสละราคะ ... เพื่อความสละคืนราคะ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อความสละคืนราคะ (๔-๑๐) [๑๗๐-๖๔๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๖ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ... เพื่อกำหนดรู้โทสะ ... เพื่อความสิ้นโทสะ ... เพื่อละโทสะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ ... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ ... เพื่อความสละโทสะ ... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ (ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ปฬาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ(ความโอ้อวด )... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ (ความแข่งดี) ... มานะ (ความถือตัว) ... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความ ประมาท) ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อความสละคืนปมาทะ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล (๔๑-๕๐๑)
ราคเปยยาล จบ
ฉักกนิบาต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๔๔}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๖๓๘-๖๔๔. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=368              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=10574&Z=18231                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=388              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=388&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3536              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=388&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3536                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i388-e.php# http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/06/an06-118.html https://suttacentral.net/an6.117/en/sujato https://suttacentral.net/an6.118/en/sujato https://suttacentral.net/an6.119/en/sujato https://suttacentral.net/an6.120-139/en/sujato https://suttacentral.net/an6.140/en/sujato https://suttacentral.net/an6.141/en/sujato https://suttacentral.net/an6.142/en/sujato https://suttacentral.net/an6.143-169/en/sujato https://suttacentral.net/an6.170-649/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :