ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. กิมพิลวรรค ๓. อัสสาชานียสูตร

๓. อัสสาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย๑-
[๒๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ โดยแท้ องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความตรง ๒. ความมีเชาว์ ๓. ความอ่อน ๔. ความอดทน ๕. ความเสงี่ยม ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความตรง๒- ๒. ความมีเชาว์๓- ๓. ความอ่อน๔- @เชิงอรรถ : @ ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. ๑๕๔/๑๐๕) @หรือหมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๗/๓๓๐ @ ความตรงของม้า หมายถึงความไปได้ตรง ไปไม่คด ความตรงของพระ หมายถึงความมีญาณดำเนินไปตรง @(ญาณสฺส อชุกคมนํ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕) @ ความมีเชาว์ของม้า หมายถึงมีฝีเท้าเร็ว (ปทชวะ) ความมีเชาว์ของพระ หมายถึงความมีญาณที่แกล้วกล้า @ดำเนินไป (สูรสฺส หุตฺวา ญาณสฺส คมนภาโว) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕) @ ความอ่อนของม้า หมายถึงร่างกายอ่อนนุ่ม (สรีรมุทุตา) ความอ่อนของพระ หมายถึงความอ่อนเพราะศีล @(สีลมัททวะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๔๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. กิมพิลวรรค ๔. พลสูตร

๔. ความอดทน๑- ๕. ความเสงี่ยม๒- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อัสสาชานียสูตรที่ ๓ จบ
๔. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๒๐๔] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้ พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) ๒. หิริพละ (กำลังคือหิริ) ๓. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตับปะ) ๔. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา) ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล
พลสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงอธิวาสนขันติ (ความอดทนคือความอดกลั้น) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕) @ หมายถึงความมีศีลสะอาด บริสุทธิ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๔๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๔๕-๓๔๖. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=203              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=5764&Z=5778                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=203              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=203&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1891              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=203&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1891                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i201-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an5.203/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :