ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๙. สุขุมาลสูตร
ว่าด้วยสุขุมาลชาติ
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นผู้สุขุมาลชาติ๑- เป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่ง เป็น ผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่งยวด ได้ทราบว่า พระราชบิดารับสั่งให้ขุดสระโบกขรณี (สระบัว) @เชิงอรรถ : @ สุขุมาลชาติ ในที่นี้หมายถึงไม่มีทุกข์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๙/๑๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๙. สุขุมาลสูตร

ไว้เพื่อเราภายในที่อยู่ ได้ทราบว่า พระราชบิดานั้นรับสั่งให้ปลูกอุบลไว้ในสระหนึ่ง ปลูกปทุมไว้ในสระหนึ่ง ปลูกปุณฑริก(บัวขาว)ไว้ในสระหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่เรา เรา ไม่ได้ใช้เฉพาะไม้จันทน์แคว้นกาสี(พาราณสี)เท่านั้น ผ้าโพกของเราก็ทำในแคว้นกาสี เสื้อก็ทำในแคว้นกาสี ผ้านุ่งก็ทำในแคว้นกาสี ผ้าห่มก็ทำในแคว้นกาสี ทั้งคนรับใช้ คอยกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดวันและคืนด้วยหวังว่า หนาว ร้อน ธุลี หญ้า หรือ น้ำค้างอย่าได้กระทบพระองค์ท่าน เรานั้นมีปราสาทอยู่ ๓ หลัง คือ ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน เรานั้นได้รับการบำเรอด้วย ดนตรีที่ไม่ใช่บุรุษบรรเลง ตลอด ๔ เดือนฤดูฝน ในปราสาทฤดูฝน ไม่ได้ลงข้างล่าง ปราสาทเลย ก็แลในที่อยู่ของคนเหล่าอื่น เขาให้ข้าวป่น(ข้าวหัก)มีน้ำผักดองเป็นกับ แก่ทาส คนงาน และคนรับใช้ ฉันใด ในนิเวศน์ของพระราชบิดาของเราก็ฉันนั้น เหมือนกัน เขาให้ข้าวสาลีสุกผสมเนื้อแก่ทาส คนงาน และคนรับใช้ เรานั้นเพียบพร้อมด้วยความสำเร็จอย่างนี้ และเป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ได้มีความคิดว่า ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วง พ้นความแก่ไปได้ เห็นบุคคลอื่นแก่ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า แม้เราเองก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ การที่เราผู้มีความแก่ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เห็นบุคคลอื่นแก่ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจนั้น ไม่สมควรแก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัวเมาในความ เป็นหนุ่มสาวได้โดยประการทั้งปวง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ เจ็บไข้ไปได้ เห็นบุคคลอื่นเจ็บไข้ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า แม้ เราเองก็มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ การที่เราผู้มีความ เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้เห็นบุคคลอื่นเจ็บไข้ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจนั้น ไม่สมควรแก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัว เมาในความไม่มีโรคได้โดยประการทั้งปวง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๙. สุขุมาลสูตร

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตาย ไปได้ เห็นบุคคลอื่นตาย ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า แม้เราเองก็ มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ การที่เราผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เห็นบุคคลอื่นตาย ก็อึดอัด ระอา รังเกียจนั้น ไม่สมควร แก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัวเมาในชีวิตได้โดยประการ ทั้งปวง ความมัวเมา ๓ ประการนี้ ความมัวเมา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ๒. ความมัวเมาในความไม่มีโรค ๓. ความมัวเมาในชีวิต ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มัวเมาในความไม่มีโรค ฯลฯ หรือปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มัวเมาในชีวิต ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิด ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภิกษุผู้มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ภิกษุผู้มัวเมาในความไม่มีโรคย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ หรือภิกษุผู้ มัวเมาในชีวิตย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ปุถุชนทั้งหลายมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดาและมีความตายเป็นธรรมดา เป็นอยู่ตามสภาวะ ย่อมพากันรังเกียจ(บุคคลอื่น) ก็การที่เรารังเกียจความป่วยไข้เป็นต้นนี้ ในหมู่สัตว์ผู้มีสภาวะอย่างนี้นั้น ไม่สมควรแก่เราผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๑๐. อาธิปเตยยสูตร

เรานั้นอยู่อย่างนี้ รู้ธรรมที่หมดอุปธิ๑- เห็นความสำราญในเนกขัมมะ๒- ย่อมครอบงำความมัวเมาทุกอย่าง คือ ความมัวเมาในความไม่มีโรค ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว และความมัวเมาในชีวิต ความพยายามได้มีแก่เรานั้นผู้เห็นนิพพาน บัดนี้เราไม่ควรกลับไปเสพกาม เราจักไม่เวียนกลับ จักมีพรหมจรรย์เป็นจุดมุ่งหมาย
สุขุมาลสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อาธิปเตยยสูตร
ว่าด้วยอาธิปไตย
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย อาธิปไตย(ความเป็นใหญ่) ๓ ประการนี้ อาธิปไตย ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่) ๒. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่) ๓. ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่) อัตตาธิปไตย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าบ้าง อยู่ตามโคนต้นไม้บ้าง อยู่ในเรือนว่างบ้าง ย่อมเห็นประจักษ์ว่า “เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร @เชิงอรรถ : @ ธรรมที่หมดอุปธิ ในที่นี้หมายถึงนิพพานธรรมที่ปราศจากกิเลส ขันธ์ และอภิสังขารทั้งปวง @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๙/๑๔๖) @ เห็นความสำราญในเนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงเห็นพระนิพพานโดยความเป็นธรรมแดนเกษม @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๙/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๙๘-๒๐๑. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=20&siri=83              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=3773&Z=3826                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=478              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=478&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=3174              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=478&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=3174                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i470-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.038.than.html https://suttacentral.net/an3.39/en/sujato https://suttacentral.net/an3.39/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :