ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๕. โลณผลวรรค
หมวดว่าด้วยก้อนเกลือ
๑. อัจจายิกสูตร
ว่าด้วยกิจรีบด่วนของชาวนาและของภิกษุ
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ ๓ ประการนี้ กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ คหบดีชาวนาในโลกนี้ ๑. ต้องเร่งรีบไถคราดนา ให้เรียบร้อย ๒. ต้องเร่งรีบเพาะพืชลงไปตามกาลที่ควร ๓. ต้องเร่งรีบไขน้ำเข้าบ้าง ระบายน้ำออกบ้าง กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ ๓ ประการนี้แล คหบดีชาวนานั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า “วันนี้แลข้าวเปลือก ของเราจงเกิด พรุ่งนี้จงออกรวง มะรืนนี้จงหุงได้” แท้ที่จริง ข้าวเปลือกของคหบดี ชาวนานั้น มีระยะเวลาของฤดูที่จะเกิดขึ้น ออกรวง และหุงได้ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ ๓ ประการนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๒. ปวิเวกสูตร

กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การสมาทานอธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง) ๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง) ๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง) กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ ๓ ประการนี้แล ภิกษุนั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า “วันนี้แล พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ จิตของเราจงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น” ภิกษุทั้งหลาย แท้ที่จริง จิตของ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา มีระยะเวลาที่จะ หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมี ความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการ สมาทานอธิจิตตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
อัจจายิกสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๒๔-๓๒๕. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=20&siri=137              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=6342&Z=6363                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=532              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=532&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5729              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=532&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5729                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i532-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.091.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/03/an03-093.html https://suttacentral.net/an3.92/en/sujato https://suttacentral.net/an3.92/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :