ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๑. สหธรรมิกสิกขาบท นิทานวัตถุ

๘. สหธรรมิกวรรค
หมวดว่าด้วยผู้ร่วมประพฤติธรรม
๑. สหธรรมิกสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวตักเตือนผู้ร่วมประพฤติธรรมโดยชอบธรรม
เรื่องพระฉันนะ
[๔๓๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขต กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติไม่สมควร ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ ว่า “ท่านฉันนะ ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้ การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร” ท่านพระ ฉันนะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จน กว่าจะได้สอบถามภิกษุรูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธร” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน พระฉันนะอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้สอบถามภิกษุรูปอื่น ผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธรเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการ ต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน โดยชอบธรรมก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้สอบถามภิกษุรูปอื่น ผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธร’ จริงหรือ” ท่าน พระฉันนะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบธรรมก็กล่าว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๔๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๑. สหธรรมิกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

อย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้สอบถาม ภิกษุรูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธร’ เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๓๔] ก็ ภิกษุใดอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม กล่าว อย่างนี้ว่า “กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้สอบถามภิกษุรูปอื่น ผู้ฉลาด ผู้เป็นวินัยธร” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ศึกษาพึงรู้ พึงสอบถาม พึงพิจารณา นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น
เรื่องพระฉันนะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๓๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น ที่ชื่อว่า โดยชอบธรรม คือ สิกขาบทใดที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ นี้ชื่อว่าโดยชอบธรรม ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนด้วยพระบัญญัติโดยชอบธรรมนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้ สอบถามภิกษุรูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธร ผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีปัญญา ผู้เป็น พหูสูต ผู้เป็นพระธรรมกถึก” ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๔๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๑. สหธรรมิกสิกขาบท บทภาชนีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๓๖] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุนั้นอันอุปสัมบันว่ากล่าวตักเตือนด้วยเรื่องที่ไม่ใช่พระบัญญัติ กล่าวว่า “เรื่องนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความ เป็นผู้น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ก่อ ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร” กล่าว ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้สอบถามภิกษุรูป อื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธร ผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีปัญญา ผู้เป็นพหูสูต ผู้เป็นพระ ธรรมกถึก” ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันอนุปสัมบันว่ากล่าวตักเตือนด้วยพระบัญญัติ หรือไม่ใช่พระบัญญัติ กล่าวว่า “เรื่องนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไป เพื่อความเป็นผู้น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ก่อ ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความ เพียร” กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้ สอบถามภิกษุรูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธร ผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีปัญญา ผู้เป็น พหูสูต ผู้เป็นพระธรรมกถึก” ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๔๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๑. สหธรรมิกสิกขาบท อนาปัตติวาร

คำว่า ผู้ศึกษา คือ ผู้ใคร่สำเหนียก คำว่า พึงรู้ คือ พึงทราบ คำว่า พึงสอบถาม คือ พึงสอบถามว่า “ท่านผู้เจริญ สิกขาบทนี้เป็นอย่างไร หรือสิกขาบทนี้มีเนื้อความว่าอย่างไร” คำว่า พึงพิจารณา คือ พึงคิด พึงไตร่ตรอง คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๓๗] ๑. ภิกษุกล่าวว่า “เราจักรู้ จักศึกษา” ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
สหธรรมิกสิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๔๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๔๔-๕๔๗. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=2&siri=107              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=13339&Z=13407                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=680              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=680&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9853              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=680&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9853                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc71/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc71/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :