ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]

๒. นาลันทวรรค ๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร

๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร
ว่าด้วยนางงามในชนบท
[๓๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อเสทกะ ใน แคว้นสุมภะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย หมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า ‘มีนางงามในชนบท๑- มีนางงามใน ชนบท’ จึงประชุมกัน ก็นางงามในชนบทนั้นน่าดูยิ่งนักในเวลาฟ้อนรำ น่าฟังยิ่งนัก ในเวลาขับร้อง หมู่มหาชนได้ทราบข่าวอีกว่า ‘นางงามในชนบทจะฟ้อนรำ จะขับร้อง’ จึงประชุมกันแน่นขนัดประมาณไม่ได้ ทีนั้น มีบุรุษคนหนึ่งผู้รักตัวกลัวตาย รักสุข เกลียดทุกข์เดินมา หมู่มหาชนพึงพูดกับเขาอย่างนี้ว่า ‘บุรุษผู้เจริญ ท่านพึงนำ ภาชนะน้ำมันซึ่งเต็มเปี่ยมนี้ผ่านไประหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามชนบท และจักมี บุรุษเงื้อดาบติดตามไปข้างหลังๆ โดยบอกว่า ‘ถ้าท่านจักทำน้ำมันหกแม้เพียง หน่อยหนึ่งในที่ใด ศีรษะของท่านจักขาดตกลงในที่นั้น’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะไม่ใส่ ใจภาชนะน้ำมันโน้นแล้ว เผลอนำไปในภายนอกเทียวหรือ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรายกอุปมานี้มา ก็เพื่อให้เข้าใจ เนื้อความชัดเจน เนื้อความในเรื่องนี้มีดังต่อไปนี้ @เชิงอรรถ : @ นางงามในชนบท หมายถึงหญิงที่งดงามกว่าหญิงอื่นในชนบท เพราะประกอบด้วยความงาม ๕ อย่าง @คือ (๑) มีผิวพรรณงาม (๒) มีเนื้องาม (มีมือ เท้า และริมฝีปากแดงงาม) (๓) มีเล็บงาม (๔) มีฟันงาม @(๕) มีวัยงาม (แม้จะมีอายุ ๑๒๐ ปี ก็ยังงดงามเหมือนหญิงสาวอายุ ๑๖ ปี) (ที.สี.อ. ๑/๔๒๖/๓๑๔, @สํ.ม.อ. ๓/๓๘๖/๓๐๑-๓๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๔๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]

๒. นาลันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คำว่า ‘ภาชนะน้ำมันซึ่งเต็มเปี่ยม’ นี้เป็นคำเรียกกายคตาสติ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘กายคตาสติจักเป็นกัมมัฏฐานที่พวกเราเจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ชนปทกัลยาณีสูตรที่ ๑๐ จบ
นาลันทวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหาปุริสสูตร ๒. นาลันทสูตร ๓. จุนทสูตร ๔. อุกกเจลสูตร ๕. พาหิยสูตร ๖. อุตติยสูตร ๗. อริยสูตร ๘. พรหมสูตร ๙. เสทกสูตร ๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๔๓-๒๔๔. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=150              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=4480&Z=4511                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=763              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=763&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6596              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=763&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6596                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn47/sn47.020.than.html https://suttacentral.net/sn47.20/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.20/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :