ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑. อาสีวิโสปมสูตร

๔. อาสีวิสวรรค
หมวดว่าด้วยอสรพิษ
๑. อาสีวิโสปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยอสรพิษ
[๒๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวก๑- ซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ถ้าบุรุษอยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เดินมา คนทั้งหลายพึง บอกเขาอย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ อสรพิษ ๔ จำพวกนี้ ซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลา ให้อาบน้ำตามเวลา ให้กินอาหารตามเวลา ให้เข้าที่อยู่ ตามเวลา เวลาใดอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวกนี้ ตัวใดตัวหนึ่งก็ตาม โกรธ เวลานั้นท่านก็จะถึงความตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย พ่อมหาจำเริญ กิจใด ที่ท่านควรทำ ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’ ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวกนั้น จึงหนีไป ทางใดทางหนึ่ง คนทั้งหลายพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก ติดตามมาข้างหลังท่าน โดยหมายใจว่า ‘พบท่านในที่ใด ก็จะฆ่าท่าน ในที่นั้นแล’ พ่อมหาจำเริญ กิจใดที่ท่านควรทำ ท่านจงทำสิ่งนั้นเถิด’ ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวกนั้น และกลัว นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง คนทั้งหลายพึงบอกเขา อย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ นักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖ นี้เงื้อดาบติดตามมา @เชิงอรรถ : @ อสรพิษ ๔ จำพวก ในที่นี้ได้แก่ (๑) %กัฏฐมุขะ% ร่างกายที่ถูกงูกัฏฐมุขะกัด จะแข็งกระด้างเหมือนไม้แห้ง @(๒) %ปูติมุขะ% ร่างกายที่ถูกงูปูติมุขะกัด จะมีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม เหมือนขนุนสุกเน่า (๓) %อัคคิมุขะ% ร่างกาย @ที่ถูกงูอัคคิมุขะกัด จะไหม้กระจายไป เป็นเหมือนกำขี้เถ้าและกำแกลบ (๔) %สัตถมุขะ% ร่างกายที่ถูกงูสัตถมุขะกัด @ย่อมขาดเป็นช่อง เป็นเหมือนที่ที่ถูกฟ้าผ่า (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๓๘/๖๑-๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๓๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑. อาสีวิโสปมสูตร

ข้างหลังท่านโดยหมายใจว่า ‘พบท่านในที่ใด ก็จะตัดศีรษะท่านในที่นั้นแล’ พ่อ มหาจำเริญ กิจใดที่ท่านควรทำ ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’ ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวก กลัว นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก และกลัวนักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖ ซึ่งเงื้อดาบ ติดตามไป จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง เขาพบหมู่บ้านร้าง จึงเข้าไปสู่เรือนว่างเปล่า หลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง คนทั้งหลายพึงบอกเขาว่า ‘พ่อ มหาจำเริญ พวกโจรผู้ฆ่าชาวบ้านเพิ่งเข้ามาสู่หมู่บ้านร้างนี้เดี๋ยวนี้เอง กิจใดที่ท่าน ควรทำ ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’ ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวก กลัว นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก กลัวนักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖ ซึ่งเงื้อดาบ ติดตามไป และกลัวโจรผู้ฆ่าชาวบ้าน จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง เขาพบห้วงน้ำใหญ่ แห่งหนึ่ง ซึ่งฝั่งนี้น่าระแวง มีภัยจำเพาะหน้า แต่ฝั่งโน้นปลอดภัย ไม่มีภัยจำเพาะ หน้า เขาไม่มีเรือหรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้น ขณะนั้น บุรุษนั้นคิดอย่างนี้ว่า ‘ห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งนี้น่าระแวง มีภัยจำเพาะ หน้า ฝั่งโน้นปลอดภัย ไม่มีภัยจำเพาะหน้า เรานั้นไม่มีเรือหรือสะพานที่จะข้ามไป ฝั่งโน้น ทางที่ดี เราควรรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่ง และใบมาผูกเป็นแพ อาศัยแพนั้น ใช้มือและเท้าพยายามไปถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี’ ครั้นบุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่ง และใบมาผูกเป็นแพแล้ว อาศัยแพนั้น ใช้มือและเท้าพยายามไปจน ถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี เป็นผู้ลอยบาปดำรงอยู่บนบก ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้เรายกมาเพื่อให้เข้าใจเนื้อความแจ่มชัด ในอุปมานั้นมี อธิบายดังนี้ว่า คำว่า อสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวก นั้นเป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ ๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑. อาสีวิโสปมสูตร

คำว่า นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก นั้น เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่ ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) คำว่า นักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖ ซึ่งเงื้อดาบติดตามไป นั้นเป็นชื่อ ของนันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี) คำว่า หมู่บ้านร้าง นั้นเป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ประการ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางตา ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางหู ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางจมูก ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางลิ้น ฯลฯ ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางกาย ฯลฯ ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางใจ ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น คำว่า พวกโจรผู้ฆ่าชาวบ้าน นั้นเป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖ ประการ ภิกษุทั้งหลาย ตาย่อมเดือดร้อนเพราะรูปที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ หู ฯลฯ จมูก ฯลฯ ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ กาย ฯลฯ ใจ ย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๓๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๒. รโถปมสูตร

คำว่า ห้วงน้ำใหญ่ นั้นเป็นชื่อของโอฆะ (ห้วงน้ำ) ทั้ง ๔ คือ ๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) ๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ) ๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) คำว่า ฝั่งนี้น่าระแวง มีภัยจำเพาะหน้า นั้นเป็นชื่อของสักกายะ (กายของตน) คำว่า ฝั่งโน้นปลอดภัย ไม่มีภัยจำเพาะหน้า นั้นเป็นชื่อของนิพพาน คำว่า แพ นั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) คำว่า ใช้มือและเท้าพยายามไป นั้นเป็นชื่อของวิริยารัมภะ (ปรารภ ความเพียร) ภิกษุทั้งหลาย คำว่า เป็นผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก นั้นเป็นชื่อ ของพระอรหันต์”
อาสีวิโสปมสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๓๖-๒๓๙. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=184              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=4774&Z=4833                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=309              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=309&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1308              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=309&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1308                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i309-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.197.than.html https://suttacentral.net/sn35.238/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.238/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :