ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. คิญชกาวสถสูตร
ว่าด้วยการแสดงธรรม ณ ตำหนักอิฐ
[๙๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำหนักอิฐ ใกล้หมู่บ้าน ญาติกะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ ทิฏฐิเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ วิตกเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๘๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๓. คิญชกาวสถสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกัจจานะได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิที่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในบุคคลที่มิใช่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า๑- นี้ย่อมปรากฏเพราะอาศัยอะไร” “กัจจานะ ธาตุคืออวิชชานี้ เป็นธาตุใหญ่ สัญญาที่เลว ทิฏฐิที่เลว วิตกที่เลว เจตนาที่เลว ความปรารถนาที่เลว ความตั้งใจที่เลว บุคคลที่เลว วาจาที่เลว เกิดขึ้น เพราะอาศัยธาตุที่เลว บุคคลที่เลวนั้น ย่อมบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่เลว เรากล่าวว่า ความเกิดของบุคคลนั้นเลว สัญญาที่ปานกลาง ทิฏฐิที่ปานกลาง วิตกที่ปานกลาง เจตนาที่ปานกลาง ความปรารถนาที่ปานกลาง ความตั้งใจที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลาง วาจาที่ ปานกลาง เกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลางนั้น ย่อมบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ปานกลาง เรากล่าวว่า ความเกิดของบุคคลนั้นปานกลาง กัจจานะ สัญญาที่ประณีต ทิฏฐิที่ประณีต วิตกที่ประณีต เจตนาที่ประณีต ความปรารถนาที่ประณีต ความตั้งใจที่ประณีต บุคคลที่ประณีต วาจาที่ประณีต เกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่ประณีต บุคคลที่ประณีตนั้น ย่อมบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ประณีต เรากล่าวว่า ความเกิด ของบุคคลนั้นประณีต”
คิญชกาวสถสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ บุคคลที่มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในที่นี้หมายถึงครูทั้ง ๖ (คือ (๑) ครูปูรณะ กัสสปะ (๒) ครูมักขลิ โคศาล @(๓) ครูอชิตะ เกสกัมพล (๔) ครูปกุธะ กัจจายนะ (๕) ครูนิครนถ์ นาฏบุตร (๖) ครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร) @(สํ.นิ.อ. ๒/๙๗/๑๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๘๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๘๔-๑๘๕. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=16&siri=92              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=4043&Z=4068                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=361              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=361&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3479              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=361&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3479                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i352-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn14.13/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :