ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต]

๖. ลกุณฏกภัททิยสูตร

๖. ลกุณฏกภัททิยสูตร
ว่าด้วยพระลกุณฏภัททิยะ๑-
[๒๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระลกุณฏกภัททิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านกำลังเดินมาแต่ไกล แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภิกษุผู้มีผิวพรรณไม่งาม ไม่น่าดู เตี้ย เป็นผู้ถูก ภิกษุทั้งหลายดูแคลน ที่กำลังเดินมานั้นหรือ” “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุนั้นมีฤทธานุภาพมาก อนึ่ง สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้า เธอก็เข้าได้โดยง่าย และเธอได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า “สัตว์ทั้งหลาย จำพวกหงส์ นกกระเรียน นกยูง ช้าง เนื้อฟาน ทั้งหมด ย่อมกลัวราชสีห์ ความสมดุลกันทางกายไม่มี ฉันใด บรรดาหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ถ้าคนหนุ่มมีปัญญา เขาก็ย่อมเป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์นั้น ไม่เหมือนคนพาล ซึ่งถือกายเป็นใหญ่”
ลกุณฏกภัททิยสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ พระลกุณฏกภัททิยะ เป็นภิกษุชาวเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ซึ่งได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศ @(เอตทัคคะ) ทางด้านมีเสียงไพเราะ (องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๑๙๔/๒๖, ขุ.อป. (แปล) ๓๓/๑-๓๓/๒๘๙-๒๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๓๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๓๒. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=16&siri=234              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=7344&Z=7365                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=703              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=703&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=5730              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=703&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=5730                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i686-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn21/sn21.006.niza.html https://suttacentral.net/sn21.6/en/sujato https://suttacentral.net/sn21.6/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :