ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๘. ตติยโอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาท สูตรที่ ๓
[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า “กัสสปะ เธอจงกล่าวสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด เราหรือเธอ พึงกล่าวสอน พึงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๔๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๘. ตติยโอวาทสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ” “กัสสปะ จริงอย่างนั้น ในครั้งก่อน ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นผู้อยู่ป่า เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้า บังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้ มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าว สรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัด จากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปใดเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ มักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และ กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วย คำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ใคร่ต่อการศึกษาแท้ มาเถิด ภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’ เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระกระทำสักการะอย่างนั้นในภิกษุรูปนั้น ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นนวกะ พากันคิดว่า ‘ทราบว่า ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้ นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้ สันโดษ ... สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๔๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๘. ตติยโอวาทสูตร

กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์ ให้เธอนั่ง ด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ใคร่ต่อการ ศึกษาแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’ ภิกษุผู้เป็นนวกะเหล่านั้นย่อม ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนั้น ย่อมมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน ในบัดนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ไม่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ไม่นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่กล่าว สรรเสริญคุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และ ไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร ไม่เป็นผู้มักน้อย และไม่กล่าว สรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ไม่เป็นผู้สันโดษ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่ง ความสันโดษ ไม่เป็นผู้สงัดจากหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ เป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ปรารภ ความเพียร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น ภิกษุรูปใดมีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์ให้เธอนั่ง ด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ปรารถนาแต่เพื่อนสพรหมจารี ด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด” เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระกระทำสักการะอย่างนั้นในภิกษุรูปนั้น ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นนวกะ พากันคิดว่า ‘ทราบว่า ภิกษุรูปนี้มีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระพากันนิมนต์ให้เธอ นั่งด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ปรารถนาแต่เพื่อน สพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’ ภิกษุผู้เป็นนวกะ เหล่านั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนั้นย่อมมีเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๔๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๙. ฌานาภิญญสูตร

กัสสปะ แท้จริงบุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนใดคนหนึ่งให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายของผู้ประพฤติพรหมจรรย์เบียดเบียนแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความปรารถนาการ ประพฤติพรหมจรรย์เกินประมาณเบียดเบียนแล้ว บัดนี้ บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนนั้น ให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เบียดเบียนแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความ ปรารถนาการประพฤติพรหมจรรย์เกินประมาณเบียดเบียนแล้ว”
ตติยโอวาทสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๔๗-๒๕๐. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=16&siri=146              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=5488&Z=5557                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=494              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=494&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=4359              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=494&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=4359                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i462-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/sn16.8/en/sujato https://suttacentral.net/sn16.8/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :