ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๕. ชิณณสูตร

๕. ชิณณสูตร
ว่าด้วยความแก่
[๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ฯลฯ ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า “กัสสปะ บัดนี้เธอแก่แล้ว ผ้าป่านบังสุกุลเหล่านี้ของเธอหนัก ไม่น่านุ่งห่ม เพราะฉะนั้น เธอจงใช้สอยคหบดีจีวร๑- จงบริโภคโภชนะที่เขานิมนต์ และจงอยู่ใน สำนักของเราเถิด” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรและกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความมัก น้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และ กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง การปรารภความเพียร ตลอดกาลนาน” “เธอพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดกาลนาน
[ข้อความที่ละไว้เป็นอย่างเดียวกัน]
@เชิงอรรถ : @ คหบดีจีวร ในที่นี้หมายถึงผ้าจีวรที่พวกคหบดีถวายแก่ภิกษุเพื่อใช้เป็นผ้าบังสุกุลสำหรับนุ่งห่ม @(สํ.นิ.อ. ๒/๑๔๘/๑๙๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๔๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๕. ชิณณสูตร

เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภ ความเพียร” “ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ตลอดกาลนาน คือ พิจารณาเห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน๑- และอนุเคราะห์หมู่ชนใน ภายหลังว่า ทำอย่างไรหมู่ชนในภายหลังพึงถึงการประพฤติตามแบบอย่างว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกที่ได้มีมาแล้ว ท่านเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดกาลนาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้ มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภ ความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร อย่างนี้ ท่านเหล่านั้นจักปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อปฏิบัติของท่านเหล่านั้นจัก เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวร @เชิงอรรถ : @ การอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน ในที่นี้หมายถึงการอยู่ป่าเป็นวัตรอันเป็นสถานที่สัปปายะแก่การ @ประพฤติธรรม เพราะไม่มีเสียงรบกวนเหมือนอยู่ในบ้าน (สํ.นิ.อ. ๒/๑๔๘/๑๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๔๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๖. โอวาทสูตร

เป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลี ด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ตลอดกาลนาน” “ดีละ ดีละ กัสสปะ ได้ยินว่า เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เธอจงนุ่งห่มผ้าป่านบังสุกุล ที่ใช้แล้ว๑- จงเที่ยวบิณฑบาต และจงอยู่ในป่าเถิด”
ชิณณสูตรที่ ๕ จบ
๖. โอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาท
[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน ... เขตกรุงราชคฤห์ ... ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า “กัสสปะ เธอจงกล่าวสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด เราหรือเธอพึงกล่าวสอน พึงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ ข้าพระองค์ได้เห็นภิกษุ ชื่อภัณฑะ สัทธิวิหาริกของพระอานนท์ และภิกษุชื่ออาภิชชิกะ สัทธิวิหาริกของ พระอนุรุทธะ ในพระธรรมวินัยนี้ กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน และใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน” @เชิงอรรถ : @ ผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้แล้ว ในที่นี้หมายถึงผ้าที่พระพุทธเจ้าทรงเคยใช้นุ่งห่มมาก่อน (สํ.นิ.อ. ๒/๑๔๘/๑๙๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๔๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๔๑-๒๔๓. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=16&siri=143              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=5319&Z=5370                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=478              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=478&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=4261              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=478&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=4261                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i462-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn16/sn16.005.than.html https://suttacentral.net/sn16.5/en/sujato https://suttacentral.net/sn16.5/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :