ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๑๐. โกกาลิกสูตร
ว่าด้วยโกกาลิกภิกษุ
[๑๘๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ตกอยู่ในอำนาจ ความปรารถนาชั่ว” เมื่อโกกาลิกภิกษุกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิต ให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นผู้มี ศีลเป็นที่รัก” แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ ทรงมีพระพุทธพจน์ที่ @เชิงอรรถ : @ นิรัพพุทกัป เป็นจำนวนกัปที่ใช้สังขยา (การกำหนดนับ) จำนวนสูง (ตามนัย องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖) @พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า เท่ากับ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว บ้างว่า ๑๐๐ ล้าน @ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๙/๒๐๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๔๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๑๐. โกกาลิกสูตร

ข้าพระองค์เชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ ก็ยังเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ตกอยู่ในอำนาจความปรารถนาชั่ว” แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสใน สารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก” แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ ฯลฯ ตกอยู่ใน อำนาจความปรารถนาชั่ว” แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุว่า “ ฯลฯ เพราะสารีบุตร และโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก” ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำ ประทักษิณแล้วจากไป เมื่อโกกาลิกภิกษุจากไปไม่นาน ร่างกายก็มีตุ่มขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด เกิดขึ้นทั่วร่าง ตุ่มเหล่านั้นโตเท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด แล้วก็โตขึ้นเท่าเมล็ดถั่วเขียว โตเท่าเมล็ดถั่วดำ โตเท่าเมล็ดพุทรา โตเท่าเมล็ดกระเบา โตเท่าผลมะขามป้อม โตเท่าผลมะตูมอ่อน โตเท่าผลมะตูมแก่ แล้วก็แตกเยิ้ม หนองและเลือดหลั่งออกมา ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุได้มรณภาพเพราะอาพาธนั้นเอง แล้วไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้ สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิก- ภิกษุมรณภาพแล้ว ไปเกิดในปทุมนรกเพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและ ท่านพระโมคคัลลานะ” ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลดังนี้แล้ว ถวายอภิวาทพระ ผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง ครั้นราตรีนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย คืนนี้เมื่อราตรีผ่านไป ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๔๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๑๐. โกกาลิกสูตร

ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้ว ไปเกิดใน ปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ” ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมกล่าวคำนี้แล้วอภิวาทเรา กระทำประทักษิณ แล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรกนานเท่าไรหนอ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก ประมาณอายุในปทุมนรกนั้น ยากที่จะน้บได้ว่า ‘ประมาณปีเท่านี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเท่านี้ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปีเท่านี้” ภิกษุทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์พอจะยกอุปมาได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ได้ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “ภิกษุ หนึ่งเกวียนเมล็ดงา ของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี๑- ล่วงไปแล้ว ๑๐๐,๐๐๐ ปี บุรุษจึงนำเมล็ดงาออก จากเกวียนนั้นหนึ่งเมล็ด เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น จะพึงหมดไปโดยทำนองนี้เร็วกว่า แต่ว่า ๑ อัพพุทนรก๒- หาหมดไปไม่ @เชิงอรรถ : @ ๔ กุฑวะ หรือปสตะ (ฟายมือ) เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ) @๔ ปัตถะ เป็น ๑ อาฬหกะ @๔ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ @๔ โทณะ เป็น ๑ มาณิกา @๔ มาณิกา เป็น ๑ ขารี @๒๐ ขารี เป็น ๑ วาหะ @๒๐ วาหะ เป็น ๑ ธารณะ @๑๐ ธารณะ เป็น ๑ ปละ @๑๐๐ ปละ เป็น ๑๒ ตุลา @๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ @ อัพพุทนรก นิรัพพุทนรก อพัพพนรก อุหหนรก อัฏฏนรก กุมุทนรก โสคันธิกนรก อุปปลนรก @ปุณฑริกนรก ปทุมนรก ทั้งหมดนี้อยู่ในอเวจีมหานรก เป็นนรกเล็กอยู่ในนรกใหญ่ ไม่มีภูมิเป็นของตนเอง @แต่เป็นที่ซึ่งสัตว์จะต้องรับกรรม เช่น อัพพุทนรกเป็นสถานที่ทรมานสัตว์โดยการนับชิ้นเนื้อเป็นเครื่องบอก @ระยะเวลาในการทรมานสัตว์ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๕๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๑๐. โกกาลิกสูตร

@๒๐ อัพพุทนรก เป็น ๑ นิรัพพุทนรก @๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น ๑ อพัพพนรก @๒๐ อพัพพนรก เป็น ๑ อุหหนรก @๒๐ อุหหนรก เป็น ๑ อัฏฏนรก @๒๐ อัฏฏนรก เป็น ๑ กุมุทนรก @๒๐ กุมุทนรก เป็น ๑ โสคันธิกนรก @๒๐ โสคันธิกนรก เป็น ๑ อุปปลนรก @๒๐ อุปปลนรก เป็น ๑ ปุณฑริกนรก @๒๐ ปุณฑริกนรก เป็น ๑ ปทุมนรก โกกาลิกภิกษุไปเกิดในปทุมนรกแล้ว เพราะมีจิตผูกอาฆาตในสารีบุตรและ โมคคัลลานะ” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า ผรุสวาจา (คำหยาบ) เป็นเหมือนผึ่ง เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว ย่อมเกิดที่ปากของบุรุษ ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น การปราชัยด้วยทรัพย์ ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้ เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๕๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น เป็นความผิดมากกว่า บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่ว ติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป กับอีก ๕ อัพพุทกัป๑-
โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พรหมายาจนสูตร ๒. คารวสูตร ๓. พรหมเทวสูตร ๔. พกสูตร ๕. อปราทิฏฐิสูตร ๖. ปมาทสูตร ๗. โกกาลิกสูตร ๘. กตโมรกติสสกสูตร ๙. ตุทุพรหมสูตร ๑๐. โกกาลิกสูตร @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๙/๒๐๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๕๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๔๘-๒๕๒. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=15&siri=181              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=4844&Z=4945                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=598              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=598&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5329              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=598&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5329                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i555-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn6.10/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :