ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 8 / 1อ่านอรรถกถา 8 / 1117อรรถกถา เล่มที่ 8 ข้อ 1124อ่านอรรถกถา 8 / 1143อ่านอรรถกถา 8 / 1366
อรรถกถา ปริวาร
กฐินเภท ว่าด้วยกฐินไม่เป็นอันกรานเป็นต้น

               กฐินเภทวัณณนา               
               [ธรรมที่เกิดพร้อมกับกรานกฐิน]               
               วินิจฉัยในกฐิน พึงทราบดังนี้ :-
               สองบทว่า อฏฺฐ มาติกา ได้แก่ มาติกา ๘ มีปักกมนันติกา (กำหนดด้วยการหลีกไปเป็นที่สุด) เป็นต้น ที่ตรัสไว้ในขันธกะ. แม้ปลิโพธและอานิสงส์ก็ได้ตรัสไว้ในหนหลังแล้วแล.

               [ว่าด้วยอนันตรปัจจัยเป็นอาทิ]               
               บทว่า ปโยคสฺส ได้แก่ ประโยคมีการหาน้ำมาเป็นต้น ที่ภิกษุกระทำเพื่อประโยชน์แก่บุพกรณ์ ๗ อย่าง มีซักจีวรเป็นต้น.
               หลายบทว่า กตเม ธมฺมา อนนฺตรปจฺจเยน ปจฺจโย มีความว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นธรรมสืบลำดับ โดยเนื่องด้วยประโยคที่ยังไม่มา ย่อมเป็นปัจจัย.
               บทว่า สมนนฺตรปจฺจเยน มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามถึงธรรมที่สืบลำดับกันเป็นปัจจัย ด้วยธรรมที่สืบลำดับกันเป็นปัจจัยโดยตรงนั่นเอง แต่ทำให้ใกล้ชิดกว่า.
               บทว่า นิสฺสยปจฺจเยน มีความว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นเหมือนเข้าใกล้ความเป็นธรรมเป็นที่อาศัย คือความเป็นธรรมเป็นที่รองรับแห่งประโยคที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นปัจจัย.
               บทว่า อุปนิสฺสยปจฺจเยน มีความว่า ตรัสถามถึงธรรมที่อาศัยเป็นปัจจัย ด้วยธรรมเป็นที่อาศัยเป็นปัจจัย ซึ่งใกล้ชิดกันนั่นเอง แต่ทำให้ใกล้ชิดกว่า.
               ตรัสถามถึงภาวะแห่งธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย ด้วยบทว่า ปุเรชาตปจฺจเยน นี้.
               ตรัสถามถึงภาวะแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น ไม่ก่อนไม่หลัง เป็นปัจจัย ด้วยบทว่า สหชาตปจฺจเยน นี้.
               บทว่า ปุพฺพกรณสฺส ได้แก่ บุพกรณ์ มีการซักจีวรเป็นต้นด้วย.
               บทว่า ปจฺจุทฺธรสฺส ได้แก่ การถอนไตรจีวรมีสังฆาฏิผืนเก่าเป็นต้น.
               บทว่า อธิฏฺฐานสฺส ได้แก่ อธิษฐานจีวรกฐิน.
               บทว่า อตฺถารสฺส ได้แก่ การกรานกฐิน.
               หลายบทว่า มาติกานญฺจ ปลิโพธานญฺจ ได้แก่ มาติกา ๘ และปลิโพธ ๒.
               บทว่า วตฺถุสฺส ได้แก่ วัตถุควรแก่กฐิน มีสังฆาฏิเป็นต้น.
               คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

               [ว่าด้วยปัจจัยประโยคเป็นอาทิ]               
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถามถึงบุพกรณ์เป็นต้น ซึ่งได้โดยความเป็นปัจจัย และประโยคเป็นต้น ซึ่งไม่ได้โดยความเป็นปัจจัย อย่างนั้นทั้งหมดแล้ว บัดนี้จะแสดงบุพกรณ์ เป็นต้น ซึ่งได้โดยความเป็นปัจจัยแห่งประโยคเป็นต้นนั่นแล แล้วจึงตรัสคำวิสัชนา โดยนัยมีคำว่า ปุพฺพกรณํ ปโยคสฺส เป็นต้น.
               เนื้อความแห่งคำวิสัชนา พึงทราบดังนี้ :-
               ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยในคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปโยคสฺส กตเม ธมฺมา เป็นต้น, บุพกรณ์เป็นปัจจัย โดยอนันตรปัจจัยแห่งประโยค เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย นิสสยปัจจัยและอุปนิสสปัจจัยแห่งประโยค.
               จริงอยู่ บุพกรณ์แม้ทั้ง ๗ อย่าง ย่อมเป็นปัจจัยโดยปัจจัย ๔ เหล่านี้แห่งประโยค เพราะเหตุที่ประโยคนั้น อันภิกษุย่อมกระทำเพื่อประโยชน์แก่บุพกรณ์ อันตนพึงให้สำเร็จด้วยประโยคนั้น. แต่ประโยคนั้น ย่อมไม่ได้แม้ซึ่งธรรมอันหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายที่ได้อุทเทสแล้ว ในความเป็นปุเรชาตปัจจัย ประโยคนั้น ชื่อว่าเป็นปุเรชาตปัจจัยเองแห่งบุพกรณ์โดยแท้ เพราะเมื่อประโยคมี บุพกรณ์จึงสำเร็จ.
               ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ประโยคเป็นปัจจัยแห่งบุพกรณ์ โดยเป็นปุเรชาตปัจจัย.
               อนึ่ง ประโยคย่อมได้ปัจฉาชาตปัจจัย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุพกรณ์เป็นปัจจัยแห่งประโยค โดยเป็นปัจฉาชาตปัจจัย. จริงอยู่ ประโยคนั้น อันภิกษุย่อมทำ เพื่อประโยชน์แก่บุพกรณ์ ซึ่งเกิดภายหลัง. แต่เว้นธรรม ๑๕ กล่าวคือ มาติกาปลิโพธและอานิสงส์เสียแล้ว ในบรรดาธรรมมีประโยคเป็นอาทิ ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ย่อมไม่ได้สหชาตปัจจัย. เพราะว่า ธรรม ๑๕ นั้นเท่านั้น ย่อมสำเร็จพร้อมกันกับการกรานกฐิน เพราะฉะนั้น จึงเป็นสหชาตปัจจัยอาศัยกันและกันได้.
               ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรม ๑๕ เป็นปัจจัย โดยเป็นสหชาตปัจจัย.
               วิสัชนาบททั้งปวง พึงทราบโดยอุบายนี้.
               ปุจฉาวิสัชนามีอาทิว่า บุพกรณ์มีอะไรเป็นนิทาน ตื้นทั้งนั้น.

               [ว่าด้วยนิทานแห่งประโยคเป็นอาทิ]               
               วินิจฉัยในวิสัชนาสองปัญหาว่า ประโยคมีอะไรเป็นนิทาน เป็นอาทิพึงทราบดังนี้ :-
               ในคำว่า ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นนิทาน นี้ จีวร ๖ ชนิด พึงทราบว่า เป็นเหตุและเป็นปัจจัย. จริงอยู่ จีวรเหล่านั้นแลเป็นเหตุ จีวรเหล่านั้นเป็นปัจจัยแห่งธรรมทั้งปวงมีบุพประโยคเป็นต้น. เมื่อจีวร ๖ ชนิดไม่มี ประโยคก็หามีไม่ บุพกรณ์เป็นต้นก็หามีไม่แล เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน เป็นต้น.
               วินิจฉัยในสังคหวาร พึงทราบดังนี้ :-
               บทว่า วจีเภเทน ได้แก่ การลั่นวาจานี้ว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยสังฆาฏินี้, ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยอุตราสงค์นี้ ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยอันตรวาสกนี้.
               วินิจฉัยในกติมูลาทิปุจฉาวิสัชนา พึงทราบดังนี้ :-
               การถอนและการอธิษฐาน ชื่อว่ากิริยาในท่ามกลาง.

               [ว่าด้วยวิบัติแห่งกฐินเป็นอาทิ]               
               สองบทว่า วตฺถุวิปนฺนญฺจ โหติ ได้แก่ เป็นผ้าไม่ควร. ผ้าที่พวกทายกถวายในวันนี้ สงฆ์ให้แก่ภิกษุผู้กรานกฐินในวันพรุ่งนี้ ชื่อว่าวิบัติโดยกาล. ผ้าที่ตัดแล้วไม่ทำให้เสร็จในวันนั้นนั่นเอง ชื่อว่าวิบัติ โดยการกระทำ.
               วินิจฉัยในวิสัชนาคำถามที่ว่า กฐินํ ชานิตพฺพํ เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้ :-
               สองบทว่า เตสํเยว ธมฺมานํ มีความว่า เมื่อธรรมทั้งหลายมีรูปธรรมเป็นต้น เหล่าใดมีอยู่ ชื่อกฐินจึงมี ความประสมคือประมวลรูปธรรมเป็นต้นเหล่านั้น. ก็ด้วยคำว่า นามํ นามกมฺมํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า คำว่า กฐินนี้ สักว่าเป็นนามในธรรมเป็นอันมาก โดยปรมัตถ์ ธรรมอันหนึ่งหามีไม่.
               สองบทว่า จตุวีสติยา อากาเรหิ มีความว่า (พึงทราบวิบัติแห่งการกรานกฐิน) ด้วยเหตุที่กล่าวแล้วในหนหลัง มีคำว่า น อุลฺลิกฺขิตมตฺเตน เป็นต้น.
               สองบทว่า สตฺตรสหิ อากาเรหิ มีความว่า (พึงทราบสมบัติแห่งการกรานกฐิน) ด้วยเหตุที่กล่าวแล้วในหนหลัง มีคำว่า กฐินเป็นอันกราน แล้วด้วยผ้าใหม่ เป็นต้น.
               คำใดอันพึงจะกล่าวในนิมิตกรรมเป็นอาทิ คำทั้งปวงนั้น ได้กล่าวไว้แล้วในวัณณนาแห่งกฐินขันธกะ.

               [ว่าด้วยการรื้อแห่งกฐิน]               
               สองบทว่า เอกุปฺปาทา เอกนิโรธา มีความว่า การรื้อแห่งกฐิน แม้เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยกัน แม้เมื่อดับ ย่อมดับด้วยกัน.
               สองบทว่า เอกุปฺปาทา นานานิโรธา มีความว่า การรื้อแห่งกฐิน เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยกัน, เมื่อดับ ย่อมดับต่างคราวกัน.
               มีคำอธิบายอย่างไร? การรื้อแม้ทั้งปวง ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันกับการกราน, จริงอยู่ เมื่อมีการกราน การรื้อย่อมมีเป็นธรรมดา.
               ในบรรดาการกรานกฐิน ๘ เหล่านี้ สองเบื้องต้น เมื่อจะดับย่อมดับ คือถึงความรื้อ พร้อมกันกับการกราน. จริงอยู่ ความดับแห่งการกราน และความเป็นแห่งการรื้อ แห่งกฐินุทธาร ๒ นั่น ย่อมมีในขณะเดียวกัน นอกนี้ ย่อมดับต่างคราวกัน. เมื่อกฐินุทธารมปักกมนันติกาเป็นต้นแม้เหล่านั้น ถึงแล้วซึ่งความเป็นอาการรื้อ การกรานก็ยังคงอยู่.
               คำที่เหลือในบททั้งปวงตื้นทั้งนั้นฉะนี้แล.

               กฐินเภทวัณณนา จบ               
               จบปัญญัตติวัคควัณณนา               
               ในอรรถกถาวินัย ชื่อสมัตนปาสาทิกา.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปริวาร กฐินเภท ว่าด้วยกฐินไม่เป็นอันกรานเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 8 / 1อ่านอรรถกถา 8 / 1117อรรถกถา เล่มที่ 8 ข้อ 1124อ่านอรรถกถา 8 / 1143อ่านอรรถกถา 8 / 1366
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=8&A=10100&Z=10312
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=11497
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=11497
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๒  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :