ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 745อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 752อ่านอรรถกถา 40 / 777อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ ปัญหาวารอนุโลมปัจจนียคณนา เหตุมูลกนัยเป็นต้น

               อรรถกถาอนุโลมปัจจนียนัย               
               พึงทราบวินิจฉัยในอนุโลมปัจจนียนัย ต่อไป
               ปัจจัยใดๆ ในบรรดาปัจจัยที่มีการนับแล้ว ในอนุโลมอย่างนี้คือ เหตุยา สตฺต, อารมฺมเณ นว ในเหตุปัจจัยมี ๗ วาระ ในอารัมมณปัจจัยมี ๗ วาระ และในปัจจนียะ อย่างนี้คือ นเหตุยา ปณฺณรส, นอารมฺมเณ ปณฺณรส ในนเหตุปัจจัยมี ๑๕ วาระ, ในนอารัมมณปัจจัยมี ๑๕ วาระ ตั้งอยู่แล้วโดยอนุโลม ผู้ศึกษาพึงทราบการนับด้วยอำนาจแห่งวาระที่เหมือนกัน ในบรรดาวาระที่ได้แล้วในปัจจนียนัย แห่งปัจจัยนั้นๆ อันตั้งอยู่แล้วโดยความเป็นปัจจนียะ กับวาระอันได้แล้วในอนุโลมนัยแห่งปัจจัยนั้นๆ.
               จริงอยู่ ในอนุโลมนัย วาระ ๗ ได้แล้วในคำว่า เหตุยา สตฺต ในเหตุปัจจัยมี ๗ วาระ ในปัจจนียะ วาระ ๑๕ ในอารัมมณปัจจัยได้แล้วในคำว่า นอารมฺมเณ ปณฺณรส ในนอารัมมณปัจจัยมี ๑๕ วาระ
               บรรดาวาะ ๑๕ ที่ท่านกล่าวไว้ในนอารัมมณปัจจัย วาระ ๗ เหล่านี้คือ กุสโล กุสลสฺส อพฺยากตสฺส กุสลาพยากตสฺส, อกุสโล อกุสลสฺส อพฺยากตสฺส อกุสลาพยากตสฺส อพฺยากโต อพฺยากตสฺส (๗ วาระคือ กุ - กุ, กุ - อัพ, กุ - กุ.อัพ, อกุ - อกุ, อกุ - อัพ, อกุ - อกุ.อัพ และอัพ - อัพ) เหมือนกันกับวาระ ๗ ที่ท่านกล่าวไว้ในเหตุปัจจัย.
               คำว่า เหตุปจฺจยา นอารมฺมเฌ สตฺต เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัยมี ๗ วาระ ท่านกล่าวหมายเอาวาระ ๗ เหล่านั้น. แม้ในคำว่า นอธิปติยา สตฺต ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนในนสหชาตปัจจัย ย่อมไม่ได้วาระ แม้สักอย่างหนึ่ง เพราะเหตุปัจจัยที่ไม่เกิดพร้อมกันไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่แต่งโยชนาด้วยสหชาตปัจจัยนั้น.
               วาระ ๓ มีกุศลเป็นต้น ย่อมได้แก่รูปาพยากตะในนอัญญมัญญปัจจัย.
               คำว่า ตีณิ ท่านหมายเอาวาระ ๓ เหล่านั้น ในนสัมปยุตตปัจจัยก็เหมือนกัน ส่วนในนวิปปยุตตปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบวาระ ๓ ด้วยอำนาจแห่งอรูปธรรม คือกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ.
               นนิสสยะ โนอัตถิ โนอวิคตปัจจัย ย่อมมีไม่ได้ เหมือนสหชาตปัจจัย เพราะเหตุนั้นท่านจึงไม่แต่งโยชนาเชื่อมกับปัจจัยเหล่านั้น. ในข้อนี้มีการกำหนด ๒ อย่าง คือ สตฺต = ตีณิ = ด้วยประการฉะนี้. ผู้ศึกษาพึงลดจำนวนแห่งปัจจัยที่นับได้มากกว่ากับปัจจัยที่นับได้น้อยกว่า ด้วยอำนาจแห่งข้อกำหนดเหล่านั้น แล้วถึงทราบการนับในปัจจัยฆฏนา ทั้งหลายต่อไป.
               พึงทราบวินิจฉัยในฆฏนานั้นต่อไป คำว่า เหตุ สหชาต นิสฺสย อตฺถิ อวิคตนฺติ นอารมฺมเณ สตฺต ความว่า ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ โดยนัยนี้ว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม เพราะปัจจัย ๕ คือเหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย. กุศลเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ อวิคตะและนอารัมมณปัจจัย.
               แม้ในคำว่า นาธิปติยา สตฺต เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
               ในฆฏนาที่ ๒ ท่านกล่าว่า ตีณิ = ในปัจจัยที่เหลือ เว้นนสัมปยุตตปัจจัย เพราะผนวกอัญญมัญญปัจจัยเข้าไปด้วย. ส่วนในนสัมปยุตตปัจจัย ท่านกล่าว่า เอกํ = หมายถึงนามและรูปในปฏิสนธิกาล ซึ่งวิปปยุตตกันและกัน ฯ ก็ในอธิการนี้ย่อมไม่ได้อัญญมัญญปัจจัย โดยเป็นปัจจนียะ เพราะผนวกเข้าในอนุโลมฆฏนา เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวว่า นอญฺญมญฺเญ. ปัจจัยที่เข้าได้แม้ในฆฏนาที่เหลือ ก็ย่อมไม่ได้โดยเป็นปัจจนียะเหมือนในอธิการนี้.
               ในฆฏนาที่ ๓ มีวิสัชนา ๓ วาระเท่านั้น เพราะสัมปยุตตปัจจัยถูกผนวกเข้าไปด้วย.
               ในฆฏนาที่ ๔ มีวิสัชนา ๓ วาระ คือกุศลเป็นต้นเป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะผนวกวิปปยุตตปัจจัยเข้าไปด้วย.
               ในฆฏนาที่ ๕ เพราะมีวิบากเข้าไปด้วยในที่ทุกแห่ง จึงมีวิสัชนา ๑ วาระ คืออัพยากตะ กับอัพยากตะ. ในวิปากะและสัมปยุตตปัจจัยนอกจากนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               คำว่า เหตุสหชาตนิสฺสยอินฺทริยมคฺคอตฺถิอวิคตนฺติ นอารมฺมเณ จตฺตาริ เพราะปัจจัย ๗ คือเหตุ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตะ ในนอารัมมณปัจจัยมี ๔ วาระ ความว่า ผู้ศึกษาพึงทราบวิสัชนา ๔ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๗ เหล่านั้น คือกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุสลาพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ. แม้ในฆฏนาที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน ฯ
               สองบทว่า นอญฺญมญฺเญ เทฺว ในนอัญญมัญญปัจจัยมี ๒ วาระ คือกุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ. แม้ในวิสัชนา ๒ ข้างหน้าก็นัยนี้เหมือนกัน. ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนับด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่ได้ในฆฏนาทั้งหมด โดยอุบายนี้.
               ก็ฆฏนาเหล่านี้ทั้งหมดท่านกล่าว่ามี ๔๑๕ ฆฏนา ด้วยอำนาจสหชาตฆฏนา และด้วยอำนาจปกิณณกฆฏนา ในอนุโลมปัจจนียนัยนี้ ในบรรดาฆฏนาทั้งหลายเหล่านั้น ปัจจัยแม้อย่างหนึ่งในบรรดาปัจจัยทั้งหลายที่ตั้งอยู่โดยเป็นอนุโลมในฆฏนานั้นๆ ย่อมไม่ได้โดยเป็นปัจจนียะ.
               ก็ในเหตุมูลกนัยนี้ ปัจจัย ๑๙ มาแล้วโดยเป็นปัจจนียะ เพราะปัจจัย ๕ ตั้งอยู่แล้วโดยเป็นอนุโลมในฆฏนาที่ ๑ ปัจจัยที่เหลือเฉพาะที่เป็นอนุโลมมาแล้วโดยเป็นปัจจนียะ.
               แม้ในปัจจัยที่เหลือก็เมื่อว่าโดยอนุโลมในอธิการนี้ บรรดาปัจจัยเป็นอันมากปัจจัยอย่างหนึ่งๆ เท่านั้น ที่มาแล้วโดยเป็นปัจจนียะ ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนี้ทั้งหมดตามสมควร แม้ในนัยที่มีอารัมมณปัจจัยเป็นมูลเป็นต้น เหมือนนัยที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล ฉะนั้น.

               อนุโลมปัจจนียนัย จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ ปัญหาวารอนุโลมปัจจนียคณนา เหตุมูลกนัยเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 745อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 752อ่านอรรถกถา 40 / 777อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=40&A=8903&Z=9329
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=12387
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=12387
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๑  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :